การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก

Main Article Content

บัวบูชา สุพานิช
กัญญาวดี แสงงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด จำนวน 20 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบโดยใช้ Wilcoxon Signed Rank Test


ผลวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิกที่พัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 79.04/75.5 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ 75/75 2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ เกตุภูงา. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กานต์ธิดา ทองจันทร์. (2564). ผลของการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5. การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัย นเรศวร.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกร ทูลศิริ. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค SQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ณัฐฎ์พัชรสร สมบัติ. (2559). การศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ณรงค์เดช ประจันทร์เสน. (2559). ผลการสอนอ่านแบบ SQ4R ต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎ์ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ณัฐวุฒิ ภูมิพันธุ์. (8 พฤษภาคม 2565). ครูชำนาญการ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์.

มยุรฉัตร ฉัตรพุฒิชัย. (2559). ผลการใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังกราฟิกต่อผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม “สังวรเจษฎ์ประภาคมอุปถัมภ์” จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2552). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มันทนา อุตทอง. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อความเข้าใจในการอ่านและศึกษาเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนบ้านเนินมะหาด จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา.

เรวดี หิรัญ. (2539). สอนอย่างไรเด็กจึงจะอ่านภาษาอังกฤษให้เข้าใจในแนวคิดและวิธีการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด. (2563). รายงานข้อมูลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2562.สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565, จาก http://cdare.bpi.ac.th/

วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด. (2565). รายงานการประชุมภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2564. (เอกสารประกอบการประชุม). 19 มีนาคม 2565. ร้อยเอ็ด: ห้องโสตทัศนศึกษา อาคารเทพบัณฑิต วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2554). การจัดกระบวนการเรียนรูเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สุปวีณ์ ชมพูนุช. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ เอส คิว โฟว์อาร์ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการเขียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2563). รายงานการประชุมสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่8/2563. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566, จาก https://www.bpi.ac.th/upload/ media/2021/09/74766131c87ae658c.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2565, จาก https://www.oap.go.th/images/documents/ about-us/policy/Master_Plan_2561-80.PDF

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษา อังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) ระดับชั้นมัธยมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2565, จาก https://pubhtml5.com/gggq/bwel/คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่_ตามกรอบ_CEFR_ระดับมัธยม/17.

Amriani, L. (2015). A Study on Teaching Reading Comprehension Recount Text Using Student Teams Achievement Divisions (STAD) Technique to The Eighth Grade Students of SMPN 8 Kediri in Academic Year 2014/2015. Faculty of Teacher Training and Education, University of Nusantara PGRI Kediri, Indonesia.

Novak, J.D. (2010). Learning, Creating, and Using Knowledge: Concept Maps as Facilitative Tools in Schools and Corporations. Journal of e-learning and Knowledge Society, 6(3), 21-30.

Rumelhart, D. E. (1981). Schemata. The Building Block of Cognition. New York: International Reading Association.