การจัดการเรียนรู้ตามเทคนิคฟลอร์ไทม์ที่ส่งเสริมทักษะทางสังคม สำหรับเด็กออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดยโสธร

Main Article Content

ทักษิณ ทองจันทร์
กัญญาวดี แสงงาม
แสงจันทร์ กะลาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก โดยการจัดการเรียนรู้ตามเทคนิคฟลอร์ไทม์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กออทิสติกที่เข้ารับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและเตรียมความพร้อมที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 คน เป็นการวิจัยกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single Subject Design) รูปแบบ A-B-A แบ่งการทดลองเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ A1 เป็นระยะเส้นฐาน ระยะ B1-B4 เป็นระยะการจัดการเรียนรู้ตามเทคนิคฟลอร์ไทม์ และระยะ A2 เป็นระยะติดตามผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน แบบสังเกตทักษะทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกมีแนวโน้มสูงขึ้นหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามเทคนิคฟลอร์ไทม์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2553). คู่มือการพัฒนาเด็กออทิสติกแบบองค์รวม (เทคนิค DIR ฟลอร์ไทม์). กรุงเทพฯ: พิมพ์สี.

แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ, ประพา หมายสุข และ ฒามรา สุมาลย์โรจน์. (2559). การติดตามผลรักษาเด็กออทิสติกที่ใช้แนวทาง DIR/Floortime: คลินิกพัฒนาการเด็ก สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. วารสารกุมารแพทย์, 55(4), 284-292.

แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ และ อินทร์สุดา แก้วกาญจน. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ การดูแลฃรักษาเด็กออทิสติก สำหรับกุมารแพทย์. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 55(4), 6-15.

ดารินทร์ สิงห์สาธร. (2559). ผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกด้วยเทคนิคดีไออาร์/ฟลอร์ไทม์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(1), 104-122.

ธนวัฒน์ ปากหวาน. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การสื่อสารและมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สำหรับเด็กออทิสติกระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยสำหรับครู. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประพา หมายสุข. (2562). การศึกษานำร่องโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กล่าช้าโดยใช้แนวทาง DIR/Floortime. วชิรสารการพยาบาล, 21(2), 1-11.

ผดุง อารยะวิญญู. (2541). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: พีเออาร์ด แอนด์ ปริ้นติ้ง.

พรชัย ผาดไธสง. (2565). การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน (เอกสารประกอบการสอน). ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

พัชราวดี เมืองหงส์. (2561). ผลการศึกษาพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมโดยใช้เทคนิค DIR FLOORTIME. วารสารชุมชนวิจัย, 12(1), 169-180.

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร. (2563). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร พุทธศักราช 2563. ยโสธร: ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร.

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2560-2564. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง.

สมพร หวานเสร็จ. (2552). การพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก โดยใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สมพร หวานเสร็จ. (2562). การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรวมโดยใช้รูปแบบ SPISIR. วารสาร Sikkhana, 6(7), 157.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2564-2565). กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส.

Franklin, R. D., Allison, D. B., & Gorman, B. S. (1997). Single Subject Design and Analysis of Single-Case Research. New York: Psychology Press.

Greenspan, S. I., & Wieder, S. (1998). The child with special needs: encouraging intellectual and emotional growth. New York: Da Capo Lifelong Books.

Wolff, J. J., Hazlett, H. C., Lightbody, A. A., Reiss, A. L., & Piven, J. (2013). Repetitive and Selfinjurious Behaviors: Associations with Caudate Volume in Autism and Fragile X Syndrome. Journal of Neurodevelopmental Disorders, 5(12), 1-9.