การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในเขตอำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

เชิดชาย งามหอม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ใช้ระยะเวลาในการศึกษา เมษายน 2566 ถึง สิงหาคม 2566 ดำเนินการเป็น 3 ระยะคือ 1) ระยะประเมินสถานการณ์ 2) ระยะพัฒนารูปแบบ จำนวน 3 รอบปฏิบัติการ และ 3) ระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย
1) สมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 13 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 35 คน 3) พยาบาลวิชาชีพประจำ รพ.สต. จำนวน 7 คน 4) ผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลทุ่งฝน จำนวน 3 คน และ 5) ทีมสหวิชาชีพประกอบ ด้วยแพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ นักวิชาการสาธารณสุข แพทย์แผนไทย จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเสวนาและประชุมระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และให้ผู้ร่วมศึกษามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ทุกกระบวนการ ผลการวิจัยพบว่า


ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 13 คน เป็นเพศชาย 8 คน (ร้อยละ 61.54) และเพศหญิง 5 คน (ร้อยละ 38.46) ได้รับการประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน อยู่ในระยะพึ่งพาโดยสมบูรณ์ 9 คน (ร้อยละ 69.24) ระยะพึ่งพารุนแรง 4 คน (ร้อยละ 30.76) และได้รับการประเมินความสามารถในการสูญเสียกิจวัตรประจำวันมากที่สุด 11 คน (ร้อยละ 84.62) การประเมินความสามารถในการสูญเสียกิจวัตรประจำวันมาก 2 คน (ร้อยละ 15.38)


รูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในเขตโรงพยาบาลทุ่งฝน มีการทดลองใช้ ประยุกต์แนวคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการสะท้อนคิด และสามารถพัฒนารูปแบบได้ดังนี้ 1) มีรูปแบบที่ชัดเจน และมีความตระหนักร่วมกัน  2) มีกติกาสำหรับการทำงานร่วมกับทีม สหวิชาชีพและเครือข่าย 3) สามารถแก้ไขปัญหาและดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างครอบคลุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ปี 2560–2564. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2565, จาก http://www.plan.ddc.moph.go.th.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2565). จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อ ปี 2559–2561. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2565, จาก http://www.thaincd.com.

โรงพยาบาลทุ่งฝน. (2565). สถิติโรคโรงพยาบาลทุ่งฝน. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2565, จาก https://www.thungfonhospital.go.th/.

พิศสมัย บุญเลิศ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ และ ภวดี แถวเพีย. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมันตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of the office of DPC 7 Khon Kaen, 23(2), 79-87.

สุนันทา เปรื่องธรรมดา. (2550). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยโรคเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 1(2), 29-42.

Freire, P. (1996). Pedagogy of the oppressed (revised). New York: Continuum.

Gibson, C. H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing, 16(3), 354-361.

Islam, S. M. S., Purnat, T. D., Phuong, N. T. A., Mwingira, U., Schacht, K., & Fröschl, G. (2014). Non‐Communicable Diseases (NCDs) in developing countries: a symposium report. Globalization and health, 10(1), 1-8.

Kolb, D. A., Rubin, I. M., & Osland, J. (1991). Organizational behavior: An experiential approach. NJ: Prentice Hall.

Ngoichansri, J., & Kongtaln, O. (2012). Development of continuing care for the home-bound and bed–bound elder sin Phetchabun Municipal Community. Master Thesis in Community Nurse Practitioner, Khon Kaen University. (in Thai)

Sumangsri, S. (2015). Development of the continuous care guidelines for the home-bound and bed bound elders living in the Vicinity of Family Practice Center. Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital, 5(1), 53-64. (in Thai)