สถานการณ์และแนวโน้มการล่อลวงคนไทยไปแสวงหาประโยชน์เพื่อธุรกิจผิดกฎหมายและค้ามนุษย์: กรณีศึกษาชายแดนจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สุธีรา คณะธรรม
บรรพจณ์ โนแบ้ว
วรัญญา พรหมสาขา ณ สกลนคร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ เส้นทางการเดินทางเข้าไปทำงาน วิธีการล่อลวง ปัจจัยในการเข้าสู่กระบวนการ รวมถึงกระบวนการช่วยเหลือส่งกลับผู้เสียหายคืนสู่ภูมิลำเนา (ประเทศไทย) ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จำนวน 10 คน และตัวแทนภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ตามกลไก NRM จำนวน 10 คน โดยทั้งสองกลุ่มใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์ และแนวทางการสนทนากลุ่ม


ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มคนไทยที่เป็นผู้เสียหายถูกนำออกนอกประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้เสียหายเป็นผู้มีระดับการศึกษาสูงและมีทักษะทางภาษาอังกฤษหรือจีนเป็นอย่างดี ถูกชักจูงและการล่อลวงผ่านสื่อออนไลน์และโซเซียลมีเดียทุกรูปแบบ ผู้เสียหายทุกรายสมัครใจเดินทางไปทำงานด้วยตนเองและเดินทางข้ามแดนแบบผิดกฎหมาย เส้นทางเดินทางเริ่มต้นจนสิ้นสุดของผู้เสียหายมี 2 วิธี คือ ผู้เสียหายเดินทางไปยังจุดนัดหมายเพื่อข้ามแดนเองและมีรถของนายหน้าหรือแท็กซี่ไปรับตามจุดนัดหมายจากต้นทาง ส่วนวิธีการล่อลวงผู้เสียหายเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์นั้นมีหลายวิธี เช่น การสร้างแรงจูงใจโดยให้ค่าตอบแทนสูง นายหน้าจ่ายเงินล่วงหน้า และการสร้างภาพคนที่ไปทำงานมาแล้วประสบผลสำเร็จ ด้านปัจจัยในการเข้าสู่กระบวนการการค้ามนุษย์ ปัจจัยดึงดูด คือ ค่าตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับรายได้ของงานที่ทำในปัจจุบันและโอกาสการขยายตัวและการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ปัจจัยผลักดัน คือปัจจัยทางเศรษฐกิจ การว่างงาน ภาวะหนี้สินและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในประเทศไทย และปัจจัยเสริม คือ ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และภูมิสังคมของจังหวัดเชียงรายที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดรวมถึงการค้ามนุษย์ ด้านกลไกการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในประเทศไทยนั้น ยึดแผน ปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติ (NRM) เป็นแนวทางปฏิบัติ ส่วนกลไกการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในประเทศปลายทาง จะเน้นให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายแบบบูรณาการในความร่วมมือ แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ กรณีผู้เสียหายสามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาประเทศไทยได้ด้วยตนเอง และกรณีผู้เสียหายพยายามติดต่อกับคนรู้จักหรือสื่อต่างๆ ในหลากหลายช่องทางเพื่อขอรับการช่วยเหลือ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ ภาครัฐควรมีนโยบายในการจัดทำโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันกระบวนการค้ามนุษย์ให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นแนวชายแดนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนในการสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ ประเสริฐสุข, อนุสรณ์ ชัยอักษรเวช และ จินตวัฒน์ ศิริรัตน์. (2562). โครงการวิจัยเรื่อง “ไทยกับความมั่นคงรูปแบบใหม่ : การค้ามนุษย์ การย้ายถิ่นแบบไม่ปกติอาชญากรรมข้ามชาติและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร. (2561). การค้ามนุษย์ สถานการณ์ ปัญหา และการช่วยเหลือผู้เสียหาย. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.

ไพรัช บวรสมพงษ์ และคณะ. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาและประเมินผลการดําเนินงานกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สำนักข่าวไทย. (2565). นายกฯ ปลื้มไทยได้รับการยกระดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ TIP Report ในปี 2022 ให้อยู่ในกลุ่มที่ 2 (Tier 2) ขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยแก้ไขปัญหา. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/tnamcot/photos/a.261083237329156/5193985010705596/?type=3.

Afifah, N. Z., Rohim, A., & Ahmad, Y. (2017). Factors Contributing to Women Trafficking in Malaysia: Perspectives from Policy Maker, Implementers & Non-Governmental Organization. Journal of Administrative Science, 14(3), 1-23.

Human Rights Watch. (2019). Give Us a Baby and We’ll Let You Go. Retrieved 24 March 2023, from https://www.hrw.org/report/2019/03/21/give-us-baby-and-well-let-you-go/trafficking-kachin-brides-myanmar-china?fbclid=IwAR0HesnDtXfUDRq5vr1La7XXzCdxg5Ju3sABncF4HgSm-.

Lhomme, L., Zhong, S., & Du, B. (2021). Demi bride trafficking: A unique trend of human trafficking from South-East Asia to China. Journal of International Women's Studies, 22(3), 28-39.

Marilyn, S., & Ocha, W. (2019). The Smuggling of Cambodian Migrant Workers to Thailand: “The Case Studies of Poipet City and Sa Kaeo Province. In RSU International Research Conference 2019, pp. 1447 – 1452. Pathum Thani: Rangsit University.

United Nations Office on Drugs and Crime. (2017). Trafficking in persons from Cambodia, Lao PDR and Myanmar to Thailand. Bangkok: NA.