นวัตกรรมการจัดการผ่านแอปพลิเคชั่นเพื่อการสื่อสารในการป้องกันและแก้ไขปัญหา หมอกควันและไฟป่าในเขตภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ดวงไทย โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ (การสื่อสารสื่อใหม่) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, เเอปพลิเคชั่น, หมอกควัน, ไฟป่า

บทคัดย่อ

        บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอนวัตกรรมการจัดการหมอกควันและไฟป่าที่เกิดขึ้นทุกปีบริเวณภาคเหนือของไทย อันมีสาเหตุมาจาก 1.) การเผาจากครัวเรือน 2.) การเผาเพื่อทำการเกษตร 3.) การเผาเพื่อสร้างแนวกันไฟ และ 4.) การเผาเพื่อการหาของป่า ซึ่งปัญหาหมอกควันและไฟป่าได้สร้างผลกระทบต่อ 1.) สุขภาพของประชาชน 2.) การจราจรและการท่องเที่ยว และ 3.) ผลผลิตจากธรรมชาติ ซึ่งนวัตกรรมการจัดการหมอกควันและไฟป่ามีหลากหลาย เช่น 1.) Burn Check แอปพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการปัญหาหมอกควันในพื้นที่ 2.) FireD เป็นแอปพลิเคชั่นจัดเก็บข้อมูลชุมชนเพื่อการตัดสินใจในการกำจัดเชื้อเพลิงในเวลาที่เหมาะสม 3.) เชียงราย Hotspot เเอปพลิเคชั่นตรวจจับจุดความร้อนเเบบใกล้เวลาจริงสำหรับพื้นที่จังหวัดเชียงราย 4.) iPollution ระบบเเจ้งเตือนหมอกควันไฟป่าที่เเสดงข้อมูลมลภาวะหรือมลพิษ โดยผู้ดูเเลระบบสามารถส่งข้อมูลเพื่อเเจ้งเตือนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดับไฟเข้าดำเนินการ 5.) Forest Fire เเอปพลิเคชั่นเเจ้งเตือนเเละเฝ้าระวังไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจะเเสดงภาพจุดความร้อนบนแผนที่ และผู้ใช้งานสามารถส่งข้อมูลไฟป่าสู่ระบบได้ เช่น รูปภาพ วีดีโอ จากนั้น ผู้ดูเเลระบบจะส่งต่อไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ และ 6.) air4thai เเอปพลิเคชั่นเเสดงข้อมูลคุณภาพอากาศเเบบเวลาจริงจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ซึ่งการเลือกใช้เเอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันเเละเเก้ไขปัญหาหมอกควันไม่ติดลำดับความนิยมของประชาชนไทย ซึ่งอาจเนื่องมาจาก 1.) ขาดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักแอปพลิเคชั่น 2.) ขาดการอบรมการใช้งานแอปพลิเคชั่นแก่กลุ่มเป้าหมาย 3.) แอปพลิเคชั่นมีการใช้ภาษาที่ไม่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 4.) การไม่ยอมรับนวัตกรรม

References

จามจุรี ยรรยง. (2564). จ.แม่ฮ่องสอน เตรียมนำร่องใช้แอปพลิเคชัน Burn Check ใน อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนและอำเภอปางมะผ้า แก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง อย่างความยั่งยืน สืบค้นจาก : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210512125049853.

ณัฐชยา อุ่นทองดี. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศจากหมอกควันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธวัชชัย ดวงไทย และวริษฐา อุเทศนันท์. (2560). บทบาทเชิงสังคมของสื่อใหม่ในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน : กรณีศึกษาสื่อมวลชนและนักประชาสัมพันธ์ในจังหวัดเชียงราย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นิอร สิริมงคลเลิศกุล. (2561). การสร้างเครือข่ายเพื่อการป้องกันและติดตามการเผาในพื้นที่ต้นแบบ 5 ชุมชนในจังหวัดเชียงรายด้วยระบบติดตามการเผาผ่านระบบโทรศัพท์อัจฉริยะ สืบค้นจาก : http://www.thaiexplore.net/file_upload/submitter/file_doc/5260d0a9a0bafc4616c1363573a9da47.pdf.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564). ไฟป่า-หมอกควันภาคเหนือยวิกฤตหนัก ยอดผู้ป่วยเชียงใหม่พุ่ง 3 หมื่นคน สืบค้นจาก : https://www.prachachat.net/local-economy/news-626644.

ปวิตรา สอนดี. (2560). การยอมรับนวัตกรรมโมบายแบงค์กิ้งแอพพลิเคชั่น. กรุงเทพ : การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิทยาศักดิ์ รุจิวรกุล. (2564). Burn Check Application สืบค้นจาก : https://www.youtube.com/watch?v=wtzmXvHU0Hk.

ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ และคณะ (2562). PM 2.5 มัจจุราชเงียบ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์.

สถานีโทรทัศน์ NBT. (2561). App แจ้งเหตุติดตามสถานการณ์หมอกควัน สืบค้นจาก : https:// www.youtube.com/watch?v=HvXnFKy0fdA.

สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS. (2561). The North องศาเหนือ : เชียงรายเมืองไร้ควัน สืบค้นจาก : https://www.youtube.com/watch?v=ffuRbEA6exU&t=345s.

สยามรัฐ. (2564). ยกเลิกแล้ว 11 เที่ยวบินจากพิษควันไฟป่า. สืบค้นจาก: https://siamrath.co.th/n/228789.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2563). นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันพื้นที่ภาคเหนือ ตั้งเป้าลดจุดความร้อนต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาชนในพื้นที่. สืบค้นจาก : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/35372.

rmutkn. (2559). iPollution ระบบแจ้งเตือนหมอกควันไฟป่า สืบค้นจาก : https://9rmutkn.wordpress.com/2016/07/24/ipollution-ระบบแจ้งเตือนหมอกควัน.

Bltbangkok. (2563). วิจัยชี้วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ชาวไทยใช้เวลาในแอปฯหาคู่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 21% สืบค้นจาก : https://www.bltbangkok.com/news/18972/.

Deksamrong. (2562). เปรียบเทียบระหว่างระบบปฏิบัติการ Android กับ iOS ต่างกันอย่างไร สืบค้นจาก : https://www.maclolz.com/2019/07/android-ios.html.

Greennews. (2564). “FireD” แอพจัดการไฟป่า-PM2.5 เจียงใหม่ “ดีจริง ควรใช้ต่อ” สืบค้นจาก : https://greennews.agency/?p=23771.

Ourgreenfish. (2563). สถิติดิจิทัลของประเทศไทย จาก Digital Thailand ประจำปี 2020 สืบค้นจาก : https://blog.ourgreenfish.com/สถิติดิจิทัล-ของประเทศไทยจาก-digital-thailand-ประจำปี-2020.

Rogers, E. M., & Shoemaker, F. F. (1971). Communication of innovation : A cross-cultural approach. New York : The Free Pree.

Tadoo. (2564). Android VS iOS เมื่อจะเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือสักเครื่องจะเลือกระบบปฏิบัติการอะไรดีสืบค้นจาก : https://tadoo.co/อินเทอร์เน็ต/คู่มือ/android-vs-ios/. เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29