วิธีการเล่าเรื่องและการสื่อสารด้วยภาษาภาพยนตร์ในโฆษณาไทย ผ่านสื่อออนไลน์ ปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562
คำสำคัญ:
วิธีการเล่าเรื่อง, การสื่อสารด้วยภาษภาพยนตร์, โฆษณาออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาให้เข้าใจ ถึงวัตถุประสงค์ทางการสื่อสาร และ วิธีการเล่าเรื่องและการสื่อสารด้วยภาษาภาพยนตร์ในโฆษณาไทยผ่านสื่อออนไลน์ ในปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562 โดยมีแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1) แนวคิดนวัตกรรมการโฆษณาออนไลน์ 2) แนวคิดภาษาภาพยนตร์ 3) แนวคิดการเล่าเรื่อง (Narrative) และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยทำการศึกษาจากภาพยนตร์โฆษณาไทยผ่านสื่อออนไลน์ในปี พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562 จำนวน 50 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องมีระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที และไม่ต่ำกว่า 2 นาที ขึ้นไป โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีที่กล่าวไปข้างต้นในการวิเคราะห์ข้อมูลและแบ่งหมวดหมู่
ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์โฆษณาไทยผ่านสื่อออนไลน์ 1 เรื่องนั้นสามารถมีวัตถุประสงค์ทางการสื่อสารได้มากกว่า 1 หัวข้อ โดยผู้วิจัยขอเรียกว่า วัตถุประสงค์หลัก และ วัตถุประสงค์รอง ในขณะที่วิธีการเล่าเรื่องส่วนมากนั้น ทั้งแก่นเรื่อง มุมมองการเล่าเรื่อง ฉาก และตัวละคร มักจะสร้างเรื่องราวที่จริงใจและทำให้คนดูสามารถมีประสบการณ์ร่วมได้ เป็นเรื่องราวที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นตัวละครที่ สร้างขึ้นมาให้เหมือนกับนิสัยของมนุษย์จริง ๆ ทั้งด้านดีและด้านร้าย ไม่ใช่ตัวละครในอุดมคติจนเกินไป เพื่อแสดงถึงความจริงใจของแบรนด์ผ่านเรื่องเล่า และผ่านภาษาภาพยนตร์ หรือ เทคนิคทางการสื่อสารของมุมกล้อง ขนาดภาพ และองค์ประกอบสี เพื่อประกอบสร้างเรื่องราวที่ทำให้เข้าถึงคนดู ผ่านอารมณ์ของหนัง
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2547). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เลิฟ แอนด์ ลิฟ.
กสทช.เข้มทีวีดิจิตอลเวลาโฆษณาไพร์มไทม์ หลังผู้บริโภคร้องเรียน. (2558). สืบค้นจาก http://www.adslthailand.com/post/กสทช-เข้มทีวีดิจิตอลเวลาโฆษณาช่วงไพร์มไทม์-12-นาทีต่อชม-หลังผู้บริโภคร้องเรียน.
ครีมทาผิว Vaseline Thailand “ผิวเรามีค่าแค่ไหน”. (2561). สืบค้นจากhttps://www.youtube.com/watch?v=y6BWtRCCyKo&t=1s.
โฆษณาทีวี (TVC) สื่อใหญ่แห่งการโฆษณา. (2559). สืบค้นจากhttp://www.norden.co.th/blog/โฆษณาทีวี-tvc-สื่อใหญ่แห่ง/.
จิดาภา ทัดหอม. (2558). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟรชบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคออนไลน์ใน กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่าง เรื่องเล่า สัมพันธบท และเภทกะ ในภาพยนตร์ผีไทย.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ฉลองรัตน์ ทิพย์พิมาน. (2539). วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่อง ในภาพยนตร์อเมริกันที่มีตัวเอกเป็นสตรี.วิทยานิพนธ์ปริญาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนาพร มหาศรี. (2562). การวิเคราะห์ภาษาภาพยนตร์ของภาพยนตร์แนวฟาวด์ ฟุตเทจ (Foand Footage). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ธนัช คงเกรียงไกร. (2560). อัตลักษณ์ความเป็นชายผ่านลายสักในสื่อโฆษณาออนไลน์. ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญดุษฏีบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปิยาณี ศิริประภาษมงคล. (2558). กลยุทธ์การนำเสนอรายการสาธิตการแต่งหน้าทางสื่อออนไลน์ ที่มีผลต่อการรับรู้ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้รับชม กรณีศึกษา: รายการโมเมพาเพลิน.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
อาคีรา ราชเวียง. (2560). การโฆษณาออนไลน์ด้านการท่องเที่ยวเพื่อกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
อัตราค่าโฆษณาทีวี. (2557). สืบค้นจากhttps://www.youtube.com/watch?v=6Ydw-mH7rJs.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.