ความรุนแรงในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา “ กลุ่มจ๊อกจ๊อก ”

ผู้แต่ง

  • วัชระ คุณวงค์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การแสดงความคิดเห็นเชิงรุนแรง, ความรุนแรง, พื้นที่สาธารณะออนไลน์

บทคัดย่อ

        การวิจัยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์กับความรุนแรงทางความคิดของสิ่งที่ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม และ 2. เพื่อศึกษา “กลุ่มจ๊อกจ๊อก” ในฐานะพื้นที่สาธารณะ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research)  โดยเป็นการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล (In-depth Interview) ผู้ใช้งานใน “กลุ่มจ๊อกจ๊อก” กลุ่มใหญ่ในสื่อเฟซบุ๊ก ที่แสดงการมีส่วนร่วมในกลุ่มผ่านการแสดงความคิดเห็น (Comment) การกดไลก์ (Like) การแท็ก (Tag)

 

        ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์กับความรุนแรงทางความคิด ปรากฏความรุนแรงในเชิงโครงสร้างมีทั้งสิ่งที่ติดตัวกับบุคคลตั้งแต่เกิดและที่สร้างขึ้นด้วยตนเอง ปัญหาเชิงโครงสร้างหล่อหลอมคนหนึ่งคนให้มีชีวิตเป็นไปตามสภาพสังคมที่เป็นอยู่ ส่วนความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่บุคคลนำเสนอต่อสาธารณะ และสังคมใช้จุดอ่อนที่มองเห็นเพื่อทำร้ายบุคคลนั้นกลับ ในการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก “กลุ่มจ๊อกจ๊อก” ความรุนแรงทั้งสองเป็นความรุนแรงในทางอ้อม โดยเกิดความรุนแรงในเชิงวัฒนธรรมมากกว่า เนื่องจากเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นและมองเห็นได้ง่ายในโลกออนไลน์ ผ่านการกระทำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแสดงความคิดเห็น การโพสต์  

 

        การเป็นพื้นที่สาธารณะของ “กลุ่มจ๊อกจ๊อก” เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกพัฒนาตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สาธารณะสู่โลกออนไลน์ กลุ่มจ๊อกจ๊อกเสมือนเป็นสิ่งเร้าที่สมาชิกจะมีทัศนคติไปในทิศทางเดียวกัน ส่งเสริมกัน แม้จะผิดหรือถูกก็ตาม การเป็นสมาชิกใน “กลุ่มจ๊อกจ๊อก” จำเป็นต้องใช้ความรู้สึกส่วนตัวสูงในการตัดสินใจทำอะไรก็ตามในกลุ่ม หรือตัดสินการกระทำของสมาชิกในกลุ่ม ความรับผิดชอบตกอยู่เฉพาะบุคคล ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มหรือสมาชิกคนอื่น แต่การได้เข้ามาเป็นสมาชิกเสมือนเป็นการเข้าสู่พื้นที่สาธารณะออนไลน์ที่สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานในการเข้าสังคมของผู้คนในปัจจุบันได้ที่ลดทอนข้อจำกัดต่าง ๆ ในการสื่อสารและการรวมตัว  

References

กอร์ดอน ฟินเลย์สัน, เจมส์. (2559). ฮาเบอร์มาส มนุษย์กับพื้นที่สาธารณะ (วรารักษ์ เฉลิมพันธุศักดิ์,แปล). กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ, และคณะ. (2554). สื่อเก่า สื่อใหม่ ใจเชื่อมร้อย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ,และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

คมชัดลึกออนไลน์. (2562). ไซเบอร์ บุลลี่ ผลพวงสื่อโซเชียลฯน้ำผึ้งเคลือบยาพิษ. สืบค้นจาก https://today.line.me/th/v2/article/mYJRpw

ดีแทค. (2562). คำด่าไหนฝังใจที่สุด dtacชี้ชาวเน็ตมักบูลลี่กันด้วยรูปลักษณ์ เพศวิถีและทัศนคติที่แตกต่าง. สืบค้นจาก https://www.iphone-droid.net/dtac-stop-cyber-bullying-day/

ตวงรัก จิรวัฒนรังสี. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ชมที่มีต่อภาพความรุนแรงในสื่อ ศึกษาผ่านภาพยนตร์เรื่อง Funny Games U.S. (2007). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไทยโพสต์. (2562). สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล มนุษย์สองโลกแห่งศตวรรษที่21. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/53548

พรชนก ดาวประดับ. (2560). รูปแบบและลักษณะการมีส่วนร่วมในการกลั่นแกล้งบนพื้นที่สาธารณะออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาณุรัตน์ มาจันทร์. (2556). กระบวนการตรวจสอบพิจารณาตนเอง (Self-censorship) เกี่ยวกับความรุนแรงของผู้ผลิตละครโทรทัศน์ไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภูเบศร์ สมุทรจักรและกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2558). “เหวี่ยง”และ“วีน”ออนไลน์ ความขัดแย้งและการวิวาทในสื่อสังคมของวัยรุ่น. สืบค้นจาก http://www.ms.ipsr.mahidol.ac.th/ConferenceXI/Download/Book/447-IPSR-Conference-A01-fulltext.pdf

อานุรักษ์ เขื่อนแก้ว. (2562). พื้นที่การแสดงออกต่อข่าวที่เกี่ยวกับความรุนแรงในเฟซบุ๊กแฟนเพจประเภทข่าว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-17