การสื่อสารและบทบาทของผู้นำความคิดเห็นที่มีต่อแฟนคลับชาวไทย กรณีศึกษา: วง BTS

ผู้แต่ง

  • โชติรส มหะฤดีวรรณ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ลักษณา คล้ายแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, บทบาทของผู้นำความคิดเห็น, แฟนคลับชาวไทย, วง BTS

บทคัดย่อ

        การวิจัย “การสื่อสารและบทบาทของผู้นำความคิดเห็นที่มีต่อแฟนคลับชาวไทย กรณีศึกษา: วง BTS” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสาร และบทบาทของผู้นำความคิดเห็นแฟนคลับชาวไทยวง BTS เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำความคิดเห็น และสนทนากลุ่มแฟนคลับวง BTS สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า

 

        1. ลักษณะการสื่อสารของผู้นำความคิดเห็นแฟนคลับชาวไทยวง BTS โดยผู้นำความคิดเห็นเป็นผู้ส่งสาร เป็นศูนย์กลางของการรวมตัว มีการสนทนาโต้ตอบ แปลข่าว แลกเปลี่ยนข้อมูล ทำกิจกรรมเพื่อสังคม เป็นการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงให้กับ BTS และแฟนคลับ มีประเด็นการสื่อสารในการให้ข้อมูลข่าวสาร ข่าวคราวความเป็นไปของวง BTS อาจมีการปรับแต่งเนื้อหาให้ออกมาเป็นข้อมูลเฉพาะตน ด้านช่องทางการสื่อสาร ใช้สื่อใหม่รับสารและสื่อสารกับแฟนคลับ เช่น ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ มีการใช้สื่อบุคคล คือผู้นำความคิดเห็นคนอื่น การใช้สื่อกิจกรรมที่เป็นทางการ คืองานที่จัดขึ้นโดยต้นสังกัดหรือนายทุน และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ ที่จัดขึ้นโดยผู้นำความคิดเห็นหรือแฟนคลับกันเอง ด้านผู้รับสารคือ แฟนคลับชาวไทย เปิดรับสื่อที่เกี่ยวข้องกับ BTS ตามเพื่อน คนใกล้ตัว หรือตามกลุ่มคนในสื่อออนไลน์ สื่อที่ใช้ติดตามข่าวสาร ทั้งสื่อบุคคล คือผู้นำความคิดเห็น และแฟนคลับ BTS คนอื่น การใช้สื่อใหม่ และการติดตามข่าวสารจากต้นสังกัด มีการกระจายข่าวสารนั้นไปในวงกว้าง มีการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวลงไป และมีการกรองข่าวก่อนจะกระจายข่าวหรือแสดงความคิดเห็นข่าวนั้น

 

        2. บทบาทของผู้นำความคิดเห็นแฟนคลับชาวไทยวง BTS โดยมีบทบาทในการกระจายข้อมูลข่าวสาร การปกป้องและธำรงชื่อเสียงของวง BTS การให้ข้อมูลและคำแนะนำแฟนคลับ และการสานสัมพันธ์แฟนคลับวง BTS

References

กมลพัชร ยะรังสี. (2555). กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้นำทางความคิดในสื่อสังคมออนไลน์ของ บริษัทอดิดาส (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กติกา สายเสนีย์. (2554). ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเชื่อมโลก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.

กาญจนา แก้วเทพ. (2555). สื่อที่ใช่ ของใครที่ชอบ: การ์ตูน โทรทัศน์ท้องถิ่น แฟนคลับ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

จารุภัค อธิวัฒน์ ภิญโญ มนธิรา ธาดาอำนวยชัย และปีเตอร์ รุ่งเรืองกานต์. (2562). การศึกษา พฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และการธำรงรักษาของกลุ่มแฟนคลับนักร้องเกาหลีในประเทศไทย กรณีศึกษา ศิลปินวง GOT7. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), 220-228

ชนกานต์ รักชาติ. (2558). วิธีการสื่อสารและธำรงอยู่ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินนักร้องกลุ่มจากประเทศเกาหลีใต้ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ตันติกร ศิริอางค์. (2551). การวิเคราะห์และนำเสนอคุณลักษณะของผู้นำทางความคิดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นาอีหม๊ะ นิฮะ. (2541). รูปแบบของการสื่อสารและการยอมรับบทบาทของสตรีมุสลิมในการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามบ้านสุไหงปาแน อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชนี เชยจรรยา เมตตา กฤตวิทย์ และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2534). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัน ฉัตรไชยยันต์. (2563). วัฒนธรรมแฟน: กรณีศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา เป๊ก ผลิตโชค แฟนคลับ. วารสารนิเทศศาสตร์ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2563. มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง. (2556). ไอเดียการตลาดพลิกโลก. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2552). ตำราหลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มาร์เก็ตติ้งมูฟ.

สุปรีดา ช่อลำใย . (2549). เครือข่ายการสื่อสารและการดำรงอยู่ของแฟนคลับธงไชย แมคอินไตย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรีรัตน์ โกสุมศุภมาลา. (2551). บทบาทของการสื่อสารต่อการธำรงรักษาเครือข่ายแฟนคลับของวงโมเดิร์นด็อก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Fiske, John. (1992). Introduction to communication studies. London: Merhuen.

Jenkins, Herry. (1992). Sexual Poachers. New York and London : Routledge.

Katz, E. & Lazarsfeld, P. F. (1955). Personal influence: The part played by people in the flow of mass communication. Illinois: The Free Press.

Leavitt, Harold J. (1973). Applied Organizational Change in Industry: Structural, Technological and Humanistic. Approaches in Handbook of Organizations, Ed James G. March, Chicago: Rand McNally and Company.

Rogers, E. M. (1983). Diffusion of Innovations (3rd ed.). New York: The Free Press of Glence. SeoMin - Soo. (2012). Lesson from K-pop’s Global Success. [Online]. http://www. korea- marketing.com/lessons-from-k-pops-globalsuccess.

The standard. (2561). ถอดรหัส BTS ศิลปินเคป๊อปจากเกาหลีใต้ ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนไปถึงฮอลลีวูด. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://thestandard.co/bts-beyond-the-scene/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-17