การโฆษณาไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ผู้แต่ง

  • ชิโนรส ถิ่นวิไลสกุล การโฆษณาและสื่อสารการตลาด วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การโฆษณา, การโฆษณาไทย, ยุครัตนโกสินทร์, ประวัติศาสตร์การโฆษณา

บทคัดย่อ

        บทความวิชาการนี้นำเสนอลำดับเหตุการณ์ของการโฆษณาไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งได้บรรยายการโฆษณาออกเป็นยุคต่างๆ ทั้งหมด 4 ยุค ได้แก่ 1. การโฆษณายุคก่อนมีสื่อโทรทัศน์ (พ.ศ. 2489 - 2498) ซึ่งเป็นยุคที่สื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญต่อการโฆษณาเป็นอย่างมาก  2. การโฆษณายุคโทรทัศน์แพร่ภาพขาว-ดำ (พ.ศ. 2498 – 2510) ซึ่งเป็นยุคที่มีการเผยแพร่โฆษณาผ่านทางสถานีโทรทัศน์ขึ้นเป็นครั้งแรก 3.การโฆษณายุคโทรทัศน์แพร่ภาพผ่านสี  (พ.ศ.2510 – พ.ศ.2535) ซึ่งเป็นยุคที่มีพัฒนาการของรูปแบบการโฆษณาที่หลากหลาย อันเกิดมาจากหลายปัจจัย อาทิ การเกิดขึ้นของบริษัทตัวแทนโฆษณาทั้งของไทยและต่างประเทศจำนวนมากทำให้เกิดการแข่งขันในการสร้างสรรค์ผลงาน การประกวดภาพยนตร์โฆษณา การมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นตามลำดับเวลา เป็นต้น 4. การโฆษณายุคสื่อดิจิทัล (พ.ศ.2535 – 2564) ซึ่งเป็นยุคของการโฆษณาบนการเชื่อมโยงเครือข่ายผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ตไปทั่วโลก มีรูปแบบการโฆษณาที่เปลี่ยนไปตามสื่อสมัยใหม่ และมีการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ของผู้บริโภคมาวางแผนกลยุทธ์การโฆษณา โดยบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอเพื่อศึกษา รวบรวมข้อมูลการโฆษณาในประเทศไทย ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และนำมาใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการค้นคว้างานด้านการโฆษณาในเชิงประวัติศาสตร์สำหรับผู้ที่สนใจ โดยมีการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ  และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ นำมาเรียงร้อยเชื่อมโยงอ้างอิงกับประวัติศาสตร์ประเทศไทย และลำดับตามเวลาการเกิดเหตุการณ์ก่อนหลัง

References

คณะกรรมการดำเนินงานจัดประกวดโฆษณาแทคท์อะวอร์ด. (2529). การประกวดโฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 10 ประจำปี 2528-2529. กรุงเทพมหานคร : อักษรสัมพันธ์.

ทีมstock2morrow. (2561, 2 พฤษภาคม 2561). ต้นกำเนิด Youtube และคลิปวีดีโออันแรกของโลก. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2563, https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=1510

ทีมstock2morrow. (2561, 8 มิถุนายน). ไฮไฟว์ (Hi5) หายไปไหน ?. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2563, จาก https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=1555

ทีมข่าวTCIJ. (2562, 4 สิงหาคม). ไทม์ไลน์และพฤติกรรมผู้เสพสื่อที่เปลี่ยนไปในระดับโลก. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2563, จาก https://www.tcijthai.com/news/2019/8/scoop/9281

นงนุช ศิริโรจน์. (2537). การวิเคราะห์วิวัฒนาการทางบุคลิกภาพของผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2563, จาก http://161.200.145.125/bitstream/123456789/35416/4/Nongnud_si_ch4.pdf

วิโรจน์ ประกอบพิบูลย์. (2541). แนวคิดและการทำงานของสรรพสิริ วิริยศิริ ในงานข่าวโทรทัศน์ไทย. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2563, จาก https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/12452/6/Wiroj%2520_Pr_ch4.pdf

วิไลรักษ์ สันติกุล. (2543). วิวัฒนาการของการโฆษณาไทย ตั้งแต่อดีตจนถึง พ.ศ. 2453. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ประวัติธุรกิจโฆษณาไทยเบื้องต้น. สืบค้น 24 มีนาคม 2565 จาก http://www.adassothai.com/index.php/main/about/milestone_detail/1

อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต และอวยพร พานิช. (2530). วิวัฒนาการของภาษาโฆษณาในหนังสือพิมพ์ไทย. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2563, จากhttps://cuir.car.chula.ac.th/dspace/handle/123456789/6194?mode=full&src=

เอนก นาวิกมูล. (2544). โฆษณาคลาสสิก (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ศิลปะสนองการพิมพ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-17