การศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ที่สะท้อนภาพสังคม

ผู้แต่ง

  • วัชรีพร เทียนเงิน วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อานิก ทวิชาชาติ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ครอบครัว, ภาพยนตร์สะท้อนสังคม, การวิเคราะห์ภาพยนตร์

บทคัดย่อ

        การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยมุ่งเน้นในการวิเคราะห์ภาพยนตร์ที่สะท้อนสังคมเพื่อนำมาปรับใช้ในการสร้างสรรค์บทภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสะท้อนสังคม ผู้ศึกษาได้นำแนวคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์กับการสะท้อนภาพของสังคม แนวคิดการโหยหาอดีตและแนวคิดการปรับตัวโดยการใช้กลไกป้องกันตนเองมาเป็นแนวทางในการศึกษาและสนับสนุนผลการวิเคราะห์ รวมถึงได้นำทฤษฎีการเล่าเรื่องและทฤษฎีสัญญะวิทยามาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสรรค์บทภาพยนตร์

 

        ผลการวิจัยพบว่าภาพยนตร์สะท้อนสังคมนั้นสามารถเป็นภาพยนตร์ได้ทุกประเภท โดยบทบาทของภาพยนตร์สะท้อนสังคมจะช่วยบอกเล่าสิ่งที่ต้องการจะให้สังคมรับรู้ ผลการศึกษาวิธีการเล่าเรื่องในภาพยนตร์บ่งชี้ให้เห็นว่า ภาพยนตร์มีการดำเนินเรื่องที่เน้นให้เห็นถึงปัญหาของตัวละครหลักตั้งแต่เปิดเรื่อง ตัวละครหลักมีการพัฒนาเหตุการณ์ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ไม่คุ้นเคย การยุติของเรื่องราวส่วนมากมักจบโดยไม่มีข้อยุติชัดเจนว่ามีความสุข แต่เน้นให้เห็นถึงการปล่อยวาง ส่วนฉากเป็นฉากธรรมชาติและฉากประดิษฐ์ที่มีความสอดคล้องกับประเทศและยุคสมัยนั้นๆ ที่ภาพยนตร์นำเสนอ และตัวละครหลักมักจะมีการคิดถึงอดีตที่ผ่านมา
มีการโหยหาความสัมพันธ์ที่จบไปแล้ว และพบว่าตัวละครหลักจะมีวิธีการปรับตัวกับปัญหาที่พบเจอได้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน

References

กาญจนา แก้วเทพ, (2547), การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค, กรุงเทพฯ : บริษัท แบรนด์เอจ จำกัด.

กันยา สุวรรณแสง, (2533), การพัฒนาบุคลิกภาพ, กรุงเทพฯ : บํารุงสาส์น

เติมศักดิ์ คทวณิช, (2546), จิตวิยาทั่วไป, กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธัญญา สังขพันธานนท์, (2539), วรรณกรรมวิจารณ์, ปทุมธานี : นาคร.

นวมินทร์ รัตนพงศ์ธระ, สานิตย์ ฤทธิ์มนตรีและชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, (2561), บางขุนเทียนชายทะเล : การศึกษาปัญหาและการจัดการชุมชน, วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 ก.ค. – ธ.ค. 2561, 15-25.

นริสร เติมชัยธนโชติ, (2563), การสะท้อนสังคมไทยที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทยร่วมสมัยรางวัลสุพรรณหงส์ พ.ศ. 2550-2559, การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา.

บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา, (2533), ศิลปะแขนงที่เจ็ด เพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์, กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์.

พัฒนา กิติอาษา, (2546), มานุษยวิทยาการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย, กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข, (2555), การโหยหาอดีต : ความเป็นอดีตในสังคมใหม่, วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย.

วีรวัฒน์ อินทรพร, (2545), ทักษะการเขียน, สงขลา : ภาควิชาสารัตถศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-17