การศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าข่าวของสื่อมวลชนออนไลน์ ประเภทเน้นข่าวเบาและประเภทเน้นข่าวหนักในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
คำสำคัญ:
คุณค่าข่าว, สื่อมวลชนออนไลน์, ข่าวเบา, ข่าวหนัก, โควิด-19บทคัดย่อ
รายงานวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบคุณค่าข่าวของสื่อมวลชนออนไลน์ประเภทเน้นข่าวเบาและประเภทเน้นข่าวหนักในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของข่าวคุณภาพข่าว และคุณค่าข่าวของสื่อมวลชนออนไลน์ประเภทเน้นข่าวเบาและประเภทเน้นข่าวหนักในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในเชิงปริมาณกับสื่อมวลชนประเภทเน้นข่าวเบาและเน้นข่าวหนักประเภทละ 3 สื่อ ในช่วงวันที่ 1-31 ตุลาคม 2564 รวมจำนวน 186 รายการ
ผลการศึกษาพบว่า ชนิดของข่าวที่สื่อมวลชนออนไลน์ประเภทเน้นข่าวเบาส่วนใหญ่นำเสนอมากที่สุดคือข่าวกีฬา รองลงมาคือข่าวบันเทิง ข่าวอาชญากรรม ส่วนสื่อประเภทเน้นข่าวหนักส่วนใหญ่นำเสนอข่าวการเมืองมากที่สุด รองลงมาคือข่าวเศรษฐกิจ ข่าวเทคโนโลยี/ไอที โดยสื่อทั้งสองประเภทมีคุณภาพข่าวเหมือนกันทั้ง 3 อันดับคือมากที่สุดในด้านความถูกต้องครบถ้วน รองลงมาในด้านความทันเหตุการณ์ และอันดับ 3 ในด้านความสมดุลและเที่ยงธรรม
คุณค่าข่าวของสื่อทั้งสองประเภทส่วนใหญ่เหมือนกันคือด้านความทันเหตุการณ์มากที่สุด รองลงมาก็เหมือนกันเกือบทุกสื่อคือด้านความมีชื่อเสียง ต่างเพียงสื่อเดียวคือโพสต์ทูเดย์ที่มีคุณค่าข่าวด้านผลกระทบ และน้อยที่สุดของสื่อเน้นข่าวเบาจะเหมือนกันในสื่อไทยรัฐ ข่าวสด และภาพรวมคือด้านความก้าวหน้า แต่เดลินิวส์จะต่างจากสื่ออื่นคือน้อยที่สุดในด้านความขัดแย้ง ส่วนสื่อเน้นข่าวหนักมีคุณค่าข่าวน้อยที่สุดเหมือนกันทุกสื่อคือ ด้านเรื่องเกี่ยวกับเพศ
References
ชนิดา รอดหยู่. (2563). ข่าวในยุคสื่อดิจิทัล ใน วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 33 (2)
พรรษาสิริ กุหลาบ. (2563). การส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลสำหรับเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษาจากเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และ สหราชอาณาจักร. วารสารศาสตร์, 13 (2).
พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2564). โควิด 19 กับการรู้เท่าทันการแพร่ระบาดของข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ ในวารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 6 (2)
มานะ ตรีรยาภิวัฒน์. (2564). ในภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น เราอยากให้สื่อมวลชนนำเสนออะไร. กรุงเทพฯ : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.
มาลี บุญศิริพันธ์. (2550). วารสารศาสตร์เบื้องต้น ปรัชญาและแนวคิด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สามลดา.
วิโรจน์ ศรีหิรัญ. (2564). การสื่อข่าวและการเขียนข่าว. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา JRC1202 การสื่อข่าวและการเขียนข่าว. วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
วิโรจน์ ศรีหิรัญ. (2560). คุณค่าข่าวของสื่อมวลชนไทยในยุควารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุภาพร ศรีมหาวงศ์. (2561). การตรวจสอบข่าวลวงของสื่อมวลชนไทยในยุคดิจิทัล. ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ.(2545).การสื่อข่าว : หลักการและเทคนิค. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
สุวิมล วงศ์สิงห์ทอง. (2559). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กระจายข้อมูลในกลถ่มเยาวชน. ในวารสารร่มพฤกษ์. มหาวิทยาลัยเกริก. 34 (2)
เสริมศิริ นิลดำ. (2555). คุณค่าข่าวในภาวะวิกฤติทางสังคม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
McQuail, D. (2000). Mass Communication Theory. Sage Publications: London UK.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.