การสื่อสารมโนทัศน์เรื่อง “สุวรรณภูมิ” ผ่านงานจิตรกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA)

ผู้แต่ง

  • สุวิชา สว่าง นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กฤษณ์ ทองเลิศ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

สุวรรณภูมิ, การสื่อความหมาย, จิตรกรรมไทยร่วมสมัย, พิพิธภัณฑ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ให้เข้าใจวิธีการประกอบสร้างความหมายมโนทัศน์สุวรรณภูมิผ่านภาพจิตรกรรมของพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย 2)การเปลี่ยนความหมายผ่านสัญลักษณ์ภาพจากจิตรกรรมไทยประเพณี สู่งานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย 3)ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่การจัดแสดงงานศิลปะของพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย กับมโนทัศน์สุวรรณภูมิ โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารภาพจิตรกรรม แนวคิดองค์ประกอบทางศิลปะ และกลุ่มแนวคิดการตีความหมาย ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ตัวบทงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยจำนวน 16ชิ้นงาน และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการสร้างสรรค์งานภาพจิตรกรรม จำนวน 8 คน

 

        ผลการวิจัยพบว่า 1)วิธีการประกอบสร้างความหมายมโนทัศน์สุวรรณภูมิผ่านภาพจิตรกรรมของพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยมีวิธีการดังนี้ ก)การสร้างสัมพันธบทกับวรรณกรรมเนื่องในศาสนาที่เกี่ยวเนื่องกับภาพจิตรกรรมที่สะท้อนมโนทัศน์สุวรรณภูมิ ข)การเข้ารหัสภาษาภาพจิตรกรรมผ่านสัญรูปภาพประติมาน 2)การเปลี่ยนความหมายผ่านสัญลักษณ์ภาพในงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยประกอบด้วย ก)การเปลี่ยนสัญรูปของภาพประติมานแบบอุดมคติในงานจิตรกรรมไทยประเพณีสู่การสร้างสัญรูปตามแบบสัจนิยมตะวันตก ข)การเปลี่ยนรูปแบบการใช้สีที่แบนเรียบในงานจิตรกรรมไทยประเพณีสู่การใช้สีเพื่อสร้างมิติภาพที่สมจริงตามหลักการเขียนภาพจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ค)การนำหลักการรื้อโครงสร้างการจัดองค์ประกอบภาพจิตรกรรมแบบประเพณีนิยม สู่การประกอบโครงสร้างใหม่ตามปัจเจกศิลปิน 3)ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ งานศิลปะและมโนทัศน์สุวรรณภูมินั้นมีวิธีการที่สำคัญได้แก่ ก)พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์มีความสอดคล้องกับบริบททางการสื่อสารงานศิลปะที่สะท้อนมโนทัศน์สุวรรณภูมิ ข)การออกแบบพื้นที่จัดแสดงงานมีความสอดคล้องกับวิธีการจัดลำดับทางการสื่อสารทางสัญลักษณ์ภาพด้วยความหมายโดยนัย ค)ความหมายจากการประกอบสร้างทางการสื่อสารระหว่างงานศิลปะ และพื้นที่ ก่อให้กลิ่นอายแห่งความจริงแท้เกี่ยวกับมโนทัศน์เรื่องสุวรรณภูมิ

References

กรมศิลปากร. (2555). ไตรภูมิกถา ฉบับถอดความของโครงการวรรณกรรมอาเซียน. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรส.

กฤษณ์ ทองเลิศและณชรต อิ่มณะรัญ. (2563). การประกอบสร้างมโนทัศน์เรื่อง “สุวรรณภูมิ” ที่สะท้อนผ่านงานสารคดีทางสื่อออนไลน์. นิเทศศาสตร์ปริทัศน์.25,(2)7-22

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). สัมพันธบท (Intertextuality) เหล้าเก่าในขวดใหม่ในสื่อสารศึกษา: แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์.

จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2552). โลกศิลปะ ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

ชะลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบศิลปะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

บุญชัย เบญจรงคกุล. สัมภาษณ์ วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA).

ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. (2546). สุวรรณภูมิ ดินแดนทองแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประยูร อุลุชาฎะ. (2530). ครูคงแป๊ะและครูทองอยู่ สองจิตรกรเอกแห่งยุคทองของศิลปะ จิตรกรรมรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

ประยูร อุลุชาฏะ. (2530). พจนานุกรมศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์พลชัย.

ปรีชา เถาทอง. (2548). จิตรกรรมไทยวิจักษ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์.

ผาสุข อินทราวุธ. (2548). สุวรรณภูมิจากหลักฐานโบราณคดี. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยอดชาย พรหมอินทร์. (2562). จิตรกรรมไทยประเพณี. คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2548). ศิลปะในประเทศไทย : จากศิลปะโบราณในสยามถึงศิลปะสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือลาดพร้าว.

สน สีมาตรัง. (2522). จิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์.

สน สีมาตรัง. (2556). คติความเชื่อไตรภูมิและจักรวาลวิทยาในจิตรกรรมฝาผนังไทย. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นท์ติ้ง.

สมสุข หินวิมาน. (2535). “แนวทางการวิเคราะห์ความหมายและอุดมการณ์ในงานสื่อสารมวลชน”. นิเทศศาสตรปริทัศน์.2,(1)18-26

สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน). (2562). ภูมิแห่งคุณค่าอาเซียน (Suvarnabhumi : Terra of ASEAN Co-cultural Values) suvarnabhumi.gistda.or.th.

สุริยา นามวงษ์. สัมภาษณ์ วันที่ 9 มิถุนายน 2564 ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA).

สุวิชา สว่าง. (2553). การสื่อความหมาย “สุวรรณภูมิ”ของงานภาพจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.

Barthes, R. (1972). Mythologies. by Jonathan Cape. New York : HILL & WANG.

Erwin Panofsky. (1984). Iconography and Iconology : An Introduction to the Study of Renaissance Art. Cornell University Press.

McQuail Denis. (2000). Mass Communication Theory. London : Saqe Publication.

O’Connor, Jr., Stanley James. (1965). Brahmanical sculpture of peninsular Siam. Cornell University, Ph.D.

Peirce, C.S. (1883). “Studies in Logic”. Members of The Johns Hopkins University. Boston: Little Brown.

Ricoeur, P. (1981). The Task of Hermeneutics. In Hermeneutics and the Human Sciences: Essays on Language, Action and Interpretation,(Ed. and Trans. John B. Thompson). Cambridge : Cambridge University Press.

Wilkins, W.J. (1983). Hindu mythology, vedic and puranic. Calcutta : Rupa.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-17