ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารภายในองค์กร บรรยากาศการสื่อสารภายในองค์กร สัมพันธภาพระหว่างบุคคล กับการเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กร

ผู้แต่ง

  • ปารีรัฐ วิชัยดิษฐ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร, บรรยากาศการสื่อสาร, สัมพันธภาพระหว่างบุคคล, การเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กร

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร บรรยากาศการสื่อสาร สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และการเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กรในองค์กรภาครัฐและองค์กรภาคธุรกิจเอกชน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน

 

        ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมขององค์กรบ่อยครั้งมาก โดยเปิดรับจากเพื่อนร่วมงานและเปิดรับเนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาบุคลากรมากที่สุด มีความคิดเห็นต่อบรรยากาศการสื่อสารภายในองค์กรเป็นเชิงบวกมาก โดยมีความคิดเห็นมากที่สุดในด้านการสนับสนุนช่วยเหลือกัน มีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ดี โดยเฉพาะในด้านการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กรบ่อยครั้งมาก โดยเข้าร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์บุคลากรบ่อยครั้งมากกว่ากิจกรรมพัฒนาบุคลากร

 

        บรรยากาศการสื่อสารภายในองค์กรภาครัฐแตกต่างจากองค์กรภาคธุรกิจเอกชน โดยบรรยากาศการสื่อสารในด้านการสื่อสารอย่างเปิดเผยจากผู้บังคับบัญชาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา และด้านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงานในองค์กรภาคธุรกิจเอกชนเป็นเชิงบวกมากกว่า ส่วนการเปิดรับข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของบุคลากรในองค์กรภาครัฐและองค์กรภาคธุรกิจเอกชน พบว่าไม่แตกต่างกัน

 

        การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร บรรยากาศการสื่อสาร และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กร โดยบุคลากรที่เปิดรับข้อมูลข่าวสารมาก มีความคิดเห็นต่อบรรยากาศการสื่อสารเป็นเชิงบวกมาก และมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเป็นเชิงบวกมาก จะมีการเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กรมาก

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

กิติมา สุรสนธิ. (2544). ความรู้ทางการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). การจัดการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธีรเดช สนองทวีพร. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของอาจารย์วิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 15(2), 89-100.

นภางค์ดาว มาด้วง. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศการสื่อสารในองค์การและแรงจูงใจกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขต 13 กระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พงษ์ วิเศษสังข์. (2550). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัชชานันท์ โภชฌงค์. (2562). บรรยากาศองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชยา บรรจงศิริ. (2556). การศึกษาบทบาทของการจัดการความรู้ในกระบวนการสร้างนวัตกรรม กรณีศึกษา องค์กรภาครัฐ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิรงรอง โชติธนสกุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ระวิวรรณ สัมฤทธิ์. (2556). ความต้องการกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรตำแหน่งบรรณารักษ์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชรา มณีกาศ. (2543). สัมพันธภาพระหว่างบุคคลและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, ลัทธิกาล ศรีวะรมย์, สุดา สุวรรณาภิรมย์, และ ชวลิต

ประภวานนท์. (2545). องค์การและการจัดการ. ธรรมสาร.

ศิริอร ขันธหัตถ์. (2545). องค์การและการจัดการ. อักษราพิพัฒน์.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. จุดทอง.

สมพร เทพสิทธา. (2544). บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจ. สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). หลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุธีรา เดชนครินทร์ และ สุธินี ฤกษ์ขำ. (2558). ผลกระทบของมิติทางวัฒนธรรมที่มีต่อระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสูง: การบูรณาการทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิทยาการจัดการ, 32(2), 199-225.

อัครพนธ์ เขมะรังสี. (2563). การเปิดรับสื่อ และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่จังหวัดระยองของพนักงานกลุ่มบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัยยา เกลี้ยงอักษร และ ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์อารมณ์ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลในองค์การ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชน. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 7(1), 33-40.

อิศเรศ คำแหง. (2553). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครกับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลของมูลนิธิเมาไม่ขับ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alderfer, C. P. (1969). Existence, relatedness, and growth. The Free Press.

Arnolds, C. A., & Boshoff, C. (2002). Compensation, esteem valence and job performance: an empirical assessment of Alderfer's ERG theory. The International Journal of Human Resource Management, 13(4), 697-719.

Basford, T., & Offermann, L. (2012). Beyond leadership: The impact of coworker relationships on employee motivation and intent to stay. Journal of Management & Organization, 18(6), 807-817.

Berlo, D. K. (1960). The process of communication. Holt, Rinehart and Winston.

Beyer, J. E., & Marshall, J. (1981). The interpersonal dimension of collegiality. Nursing Outlook, 29(11), 662-665.

Hofstede, G. (1984). Culture's consequences: International differences in work-related values. SAGE.

Pace, W. R., & Faules, D. F. (1994). Organizational communication. Prentice Hall.

Schultz, T. W. (1960). Capital formation by education. Journal of Political Economy, 68(6), 571-583.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-17