การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารในช่วงวิกฤตโควิด-19
คำสำคัญ:
โควิด-19, ธุรกิจร้านอาหาร, การตัดสินใจบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและตรวจสอบความกลมกลืนระหว่างแบบจำลองปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารในช่วงวิกฤตโควิด-19 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามจากผู้บริโภค จำนวน 410 คน ที่เคยเข้าใช้บริการร้านอาหารในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลวิจัยพบว่า แบบจำลองปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารในช่วงวิกฤตโควิด-19 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบโดยลำดับดังนี้ (1) องค์ประกอบด้านประสบการณ์ (2) ด้านกระบวนการ (3) ด้านลักษณะทางกายภาพ (4) ด้านบุคคล (5) ด้านราคา (6) ด้านสถานที่ (7) ด้านผลิตภัณฑ์ และ(8) ด้านการส่งเสริมการตลาด
References
เกวลินทร์ เส็นยีหีม และ ปาริชาติ เบ็ญฤทธิ์. (2562). ส่วนประสมการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการ ร้านอาหารอีสานฮาลาลในจังหวัดสงขลาของผู้บริโภคที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ. 11(2): 41-52.
เมทินี มีพันธ์, ปัทมพร รัตนิล, ภรณี หลาวทอง, อัมพร พร้อมจิตร, & ณัฐพงษ์ วงศ์วรรณ. (2561). การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 2(2), 1-13.
กมลทิพย์ ชิวชาวนา. (2560). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารครัววาสนาซีฟู้ดของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กรมอนามัย. (2565). CovidFree Setting. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฏาคม 2565 เข้าถึงได้ที่ https://stopcovid.anamai.moph.go.th/attach/w774/f20220114160624_B8SfQMnJuR.pdf
ช่อผกา วันศรี และคณะ. (2565). การเปรียบเทียบความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในการเรียนออนไลน์ ช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 4(1).
ธัญวัฒน์ อิพภูดม. (2556). การสื่อสารการตลาดเชิงประสาทสัมผัสและภาพลักษณ์ตราสินค้าประเภทร้านกาแฟระดับพรีเมี่ยม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย .(2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะหสําหรับการวิจัย. (พิมพครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2564). ธรรมเนียมใหม่ สืบค้นเมื่อ 30 กรกฏาคม 2565 เข้าถึงได้ที่ https://www.matichonweekly.com/column/article_308248
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). ธุรกิจร้านอาหารปี 65 คาดพลิกกลับมาฟื้นตัว สืบค้นเมื่อ 30 กรกฏาคม 2565 เข้าถึงได้ที่. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/restaurant-z3299.aspx
ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย (Krungthai COMPASS) (2564).กรุงเทพธุรกิจ. ล็อกดาวน์ฉุดธุรกิจอาหารสูญ 2.59 แสนล้าน. เข้าถึงได้ที่. https://www.bangkokbiznews.com/business/954515
สรรชุดา พลายบัว. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ การรับรู้ความคุ้มค่าและความตั้งใจด้านพฤติกรรมของลูกค้าร้านอาหารริมแม่น้ำ.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุวัจพงษ์ อัศวทิพย์ไพบูลย์. (2556). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดเชิงประสาทวิทยาต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าประเภทคาเฟ่ขนมหวาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hair, J. F., Black, W. C., Anderson, R. E., & Babin, B. J. (2019). Multivariate data analysis (8th ed.). London: Cengage Learning.
Hollander, D. M. (2019). Touch points in the restaurant branch (Bachelor's thesis, University of Twente).
Kotler, P., & Armstrong, G. (2014). Principle of marketing. New Jersey: Pearson Education.
Lindstrom, M. (2010). Brand Sense: Sensory secrets behind the stuff we buy: FreePress.
Mulaik, S. A. (1985). Exploratory statistics and empiricism. Philosophy of Science, 52, 410–430.
Phat, R., & Vesdapunt, K. (2021). Service Marketing Factors Affecting Consumer Decision Making Behavior of Service Usage for Thai Restaurants in Phnom Penh City, Cambodia. Executive Journal, 41(1), 46-58.
Tabachnick, B.G. and Fidell, L.S. (2007). Using Multivariate Statistics. New York: Allyn and Bacon.