กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม ที่มีผลกับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้ การตลาดเชิงกิจกรรมของกลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชุติภา ทรัพย์ทวีสิริกุล นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • พรพรหม ชมงาม ภาควิชาการสื่อสารและสื่อใหม่ คณะนิเทศศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์, สื่อสังคม, กระบวนการตัดสินใจ, การตลาดเชิงกิจกรรม, กลุ่มลูกค้า

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม ที่มีผลกับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้การตลาดเชิงกิจกรรมของกลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมของการตลาดเชิงกิจกรรม 2) เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจเลือกใช้การตลาดเชิงกิจกรรมของกลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมที่ที่มีผลกับกระบวนการตัดสินใจ เลือกใช้การตลาดเชิงกิจกรรมของกลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มลูกค้าประเภทสินค้าบริโภค ทั้งเพศชายและเพศหญิง Gen Y ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 28-44 ปี เพศชายและเพศหญิง และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 201 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)

 

        ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม ด้านการแสดงความก้าวหน้าทางเครือข่ายองค์กร และการให้ข้อมูลข่าวสารมากที่สุด โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าการดำเนินกิจการขององค์กรทำให้กลุ่มลูกค้ามั่นใจในองค์การ รวมถึงองค์การมีการนำเสนอการจัดทำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ ต่อกลุ่มลูกค้าผ่านสื่อสังคม 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกให้ความสำคัญกับพฤติกรรมภายหลังการใช้บริการมากที่สุด  โดยเฉพาะ การตลาดเชิงกิจกรรมทำให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปรู้จักสินค้ามากขึ้น 3) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม ที่มีผลกับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้การตลาดเชิงกิจกรรม (Event Marketing) ของกลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กชพร ภัทรโสภณวานิช. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานีบริการน้ำมันของผู้บริโภค. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4953

กัญญ์รัตน์ เชิดเกียรติกุล. (2560). การศึกษากระบวนการสื่อสารตลาดเชิงกิจกรรมกรณีศึกษา Cheeze Market. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ,สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].

เกรียงไกร กาญจนะโภคิน. (2555). Event marketing. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย.

จิตรภัทร์ จึงอยู่สุข. (2543). การมีส่วนร่วม ทัศนคติ การตัดสินใจซื้อ ความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อสินค้าความเกี่ยวพันสูงและสินค้าความเกี่ยวพันต่ำ ที่มีการจัดการตลาดเชิงกิจกรรม. [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์ และคณะ. (2560). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 10(2), 16-31.

ธนวุฒิ นัยโกวิท. (2561). หลักการวางแผนโครงการประชาสัมพันธ์ : แนวคิดและแนวทางปฏิบัติ. ปทุมธานี.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประชาชาติธุรกิจ. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์เปลี่ยนไป. หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ. ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม 2559.

พัชร สมะลาภา. (2559). เจาะกลยุทธ์ธุรกิจ. https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1458109202.

รัชนีวรรณ วัฒนปริญญา และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการตลาดและการสื่อสาร,1(2).

รัตนวดี ศิริทองถาวร. (2546). การประชาสัมพันธ์ธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ ฉัตราตชาต. (2556). การตลาดเชิงกิจกรรม เพื่อการสื่อสารแบรนด์ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย.ทุนส่งเสริมงานวิจัย. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วิทยา ด่านธำรงกุล. (2548). อีเว้นท์มาแรง. http://www.bkkonline.com/gen-business/6dec48.shtm

สุนิสา ประวิชัย. (2560). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้.

https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/222192

สํานักประชาสัมพันธ์ เลขาธิการวุฒิสภา ตามแนวทางการจัดการความรู้ของสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2562). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook). สํานักประชาสัมพันธ์ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์ (2023). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์สินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร.https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/264048

Digimusketeers. (2023). Social Media มีกี่ประเภทและสิ่งสำคัญที่คนทำแบรนด์ต้องรู้. https://digimusketeers.co.th/blogs/online-marketing/social-media

Event Marketing Institute. (2016). Event marketing.https://www.anyimedia.com/event-marketing

Hair, J.F., Hult, G.T.M.., Ringle, C.M. and Sarstedt, M. (2017). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). 2nd Edition, Sage Publications, Inc.

Harvey, L. (2001). Defining and Measuring Employability. Quality in Higher Education, 7, 97-109.

http://dx.doi.org/10.1080/13538320120059990.

Kotler, P. (1997). Principles of Marketing. New Jersey : Prentice-Hall, Inc.

Marshall, M. (2003). Understanding Media: The Extensions of Man. Corte Madera, California: Gingko Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-06