เกี่ยวกับวารสาร
การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ “วารสารศาสตร์”
วารสารศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการรายสี่เดือนของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีกำหนดปิดรับต้นฉบับดังนี้ ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) ปิดรับต้นฉบับ วันที่ 30 พฤศจิกายน ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) ปิดรับต้นฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ และ ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม) ปิดรับต้นฉบับวันที่ 30 มิถุนายน ทั้งนี้ ไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ
คุณลักษณะของบทความ
- เป็นบทความที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้แก่
- 1. บทความวิเคราะห์วิจัย (Research Article)
- 2. เอกสารกรณีศึกษา (Case Material)
- 3. บทความสำรวจวิชา (Survey Article)
- 4. บทความวิจารณ์ (Review Article)
- 5. บทความทางวิชาการ (Theoretical Article)
- 6. รายงานสำรวจ (Survey Report)
ทั้งนี้ ไม่รวมงานวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนบทความ บทความประเภทงานแปล และเอกสารประกอบคำบรรยาย
- ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากสำนักพิมพ์อื่น
- หากเป็นงานวิจัยดีเด่นที่เคยตีพิมพ์มาก่อนแล้ว ต้องมีการนำมาวิเคราะห์ด้วยมุมมองใหม่ นำเสนอข้อมูลใหม่โดยได้รับอนุญาตจากผู้เขียน
- ผู้เขียนหรือผู้เขียนร่วมได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลในวารสารวิชาการ
- ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน และ/หรือ การอ่านเพื่อปรับแก้ไขจากบรรณาธิการ หรือบรรณาธิการรับเชิญ ตามกำหนดเวลาของกองบรรณาธิการ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิจะคัดเลือกตามสาขาวิชาหรือประเด็นเนื้อหาที่อยู่ในบทความนั้นๆ และหากเป็นบทความจากผู้เขียนภายในมหาวิทยาลัย จะต้องได้รับพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงาน จำนวน 3 คนและไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน โดยชื่อของผู้เขียนและผู้ประเมินจะเป็นไปในลักษณะปกปิด หรือ double blinded
การเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม
การอ้างอิงในบทความ กรณีผู้เขียนต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อหาบทความ ให้ใช้วิธีการอ้างอิงในส่วนของเนื้อเรื่องแบบนาม-ปี (author-date in text citation) โดยระบุชื่อผู้แต่งที่อ้างอิง (ถ้าเป็นคนไทยระบุทั้งชื่อและนามสกุล ส่วนต่างชาติใช้ระบุเพียงชื่อสกุลเท่านั้น) พร้อมปีที่พิมพ์เอกสาร และอ้างอิงไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความเพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และควรระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างอิงไว้ด้วย กรณีที่อ้างมาแบบคำต่อคำ ต้องระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างอิงทุกครั้ง
การอ้างอิงท้ายบทความ หากมีการอ้างอิงในบทความ ให้จัดทำรายการเอกสารอ้างอิงเป็นบรรณานุกรม (bibliography) ท้ายเรื่องไว้ด้วย โดยรวบรวมเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนอ้างอิงในบทความในการเขียนบทความให้จัดเรียงรายการตามลำดับตัวอักษรผู้แต่งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychology Association) ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์), ชื่อเรื่อง, ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี), สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
กิติมา สุรสนธิ (2548), ความรู้ทางการสื่อสาร, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช และคณะ (2539), การรายงานข่าวชั้นสูง, กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
สุวรรณา สถาอานันท์ และเนื่องน้อย บุณยเนตร (2537), คำ: ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
McQuail, D. (2005), McQuail’s Mass Communication Theory, 5th ed., London: Sage.
Sharrock, W. et al. (2003), Understanding Modern Sociology, London: Sage.
Windhal, S. and Signitzer, B. (2009), Using Communication Theory: An Introduction to Planned Communication, Los Angeles: Sage.
- บทความในวารสาร หนังสือพิมพ์ และหนังสือรวมเล่ม
2.1 บทความในวารสาร
ชื่อผู้เขียน (ปีที่พิมพ์), “ชื่อบทความ”, ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่): เลขหน้า (ถ้ามี).
เกศราพร ทองพุ่มพฤกษา (2561), “การนำเสนอภาพความเป็นแม่ในหนังสือเด็กในประเทศไทย”, วารสารศาสตร์, 11(2): 113-160.
2.2 บทความ ข่าว หรือคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
ชื่อผู้เขียน (ปีที่พิมพ์), “ชื่อบทความหรือชื่อหัวข้อในคอลัมน์”, ชื่อหนังสือพิมพ์, วันที่/เดือน: เลขหน้า.
สุจิตต์ วงษ์เทศ (2548), “กระทะปฏิวัติอาหารไทย”, มติชน, 22 กันยายน: 34.
2.3 บทความในหนังสือรวมเล่ม
ชื่อผู้เขียน (ปีที่พิมพ์), “ชื่อบทความ/งานเขียน”, ใน ชื่อผู้แต่งหนังสือ (บ.ก.), ชื่อเรื่องหนังสือ, ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี), สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ภัทธีรา สารากรบริรักษ์ (2558), “ธุรกิจเพลง”, ใน สมสุข หินวิมาน และคณะ (บ.ก.), ธุรกิจสื่อสารมวลชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์
ชื่อผู้วิจัย (ปีที่พิมพ์), ชื่อรายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์, สถาบันต้นสังกัดหรือรายละเอียดของระดับวุฒิ ปริญญาของรายงานวิจัยดังกล่าว.
ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร (2556), การสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ของคนหูหนวกไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- เอกสารที่ไม่เป็นเล่ม เช่น เอกสารประกอบการสอน เอกสารอัดสำเนา แผ่นพับ
ให้ผู้เขียนระบุคุณลักษณะของสิ่งพิมพ์ดังกล่าวไว้ท้ายการอ้างอิง เช่น
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2561), รายงานผลการดำเนินงานของ หลักสูตร วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน (ปรับปรุง พ.ศ.2559), เอกสารอัดสำเนา.
- ข้อมูลออนไลน์ หรือสารสนเทศบทอินเทอร์เน็ต
ให้ระบุข้อมูลจากหนังสือ บทความ หรือเนื้อหาที่อ้างอิง จากนั้นตามด้วยแหล่งที่มาและวันเดือนปีที่สืบค้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ ดังตัวอย่าง
ระพีพรรณ พัฒนาเวช และคณะทํางานห้องสมุดไทยคิด (มปป.), คู่มือการคัดเลือกหนังสือสำหรับเด็กแต่ ละวัย, สืบค้น เมื่อ 15 ตุลาคม 2560, จาก https://www.tkpark.or.th/stocks/extra/000597.pdf
Flood, A. (2011), “Study Finds Huge Gender Imbalance in Children’s Literature”, The Guardian, retrieved 24 July 2016, from https://www.theguardian.com/books/2011/ may/06/gender-imbalance-children
การส่งต้นฉบับเนื้อหา
o เนื้อหาจัดพิมพ์ด้วยอักษร Cordia New ขนาด 15 pt
o ความยาวประมาณ 15-20 หน้า ขนาด A4 พร้อมจัดเรียงภาพประกอบสีขาวดำลงในไฟล์ Microsoft Word
o จัดต้นฉบับเป็นเอกสารเวิร์ดส (นามสกุล .doc, .docx, .rtf, txt) ไม่รับเอกสาร .pdf
o ส่งพร้อมบทคัดย่อและคำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งประวัติสั้นๆ ของผู้เขียน (พร้อมระบุชื่อและสังกัดของผู้เขียนเป็นภาษาอังกฤษประกอบด้วย)
o ตรวจทานความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และจัดส่งต้นฉบับภายในระยะเวลาที่กำหนด
o ส่งต้นฉบับพร้อมไฟล์ภาพประกอบ (เช่น ภาพประกอบ ตาราง แผนภูมิ)
ให้ครบถ้วนลงแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีทางไปรษณีย์หรืออีเมล์มายังกองบรรณาธิการ หรือ ส่งผ่านระบบออนไลน์ ทาง https://tci-thaijo.org/index.php/jcmag
การส่งไฟล์ภาพประกอบ
o ส่งไฟล์คุณภาพดีแยกต่างหากจากเนื้อหา
o ความละเอียดไฟล์ภาพอย่างต่ำ 300 dpi
o ขนาดของไฟล์ภาพไม่ควรเกิน 1M
o นามสกุลไฟล .tif หรือ .jpg
o ปรับโหมดไฟล์ภาพเป็นขาวดำ