ผลกระทบของแหล่งข่าวที่ถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์

ผู้แต่ง

  • รุจน์ โกมลบุตร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

แหล่งข่าว, สื่อมวลชน, การละเมิดสิทธิ

บทคัดย่อ

                   บทความเรื่อง “ผลกระทบของแหล่งข่าวที่ถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์” พัฒนามาจากงานวิจัยชื่อเรื่องเดียวกัน บทความนี้จะอธิบายถึงรูปแบบที่สื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์ของแหล่งข่าว ผลกระทบของแหล่งข่าวที่ถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์ และข้อเสนอแนะเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว
                   การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพ และแนวคิดเรื่องจริยธรรมสื่อ และเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบจากการที่สื่อละเมิดสิทธิ์จำนวน 4 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน รวม 12 คน ได้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้ป่วย กลุ่มบุคคลทั่วไป และกลุ่มบุคคลที่มีชื่อเสียง และ (2) นักวิชาการและผู้บริหารสภาวิชาชีพสื่อ โดยใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                   รูปแบบที่สื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์ของแหล่งข่าว มี 4 รูปแบบหลักๆ ตามกระบวนการทำงานของกองบรรณาธิการ คือ (1) การละเมิดแหล่งข่าวในงานสนาม (2) การละเมิดกติกาการทำงานสนาม (3) การละเมิดทักษะการทำข่าวเบื้องต้น และ (4) การละเมิดในการนำเสนอ
                   ส่วนผลกระทบของแหล่งข่าวจากการถูกละเมิดสิทธิ์ 2 ประเภท ได้แก่ ผลกระทบด้านลบจำนวน 6 ลักษณะ คือ (1) สูญเสียความเป็นส่วนตัว (2) ผล กระทบด้านจิตใจ (3) ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน (4) ผลกระทบต่อชื่อเสียง หน้าที่การงาน และการสู้คดี (5) ผลกระทบต่อการสูญเสียชีวิต และ (6) ผลกระทบในการขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ และผลกระทบด้านบวกจำนวน 2 ลักษณะคือ (1) ทำให้คดีมีความคืบหน้า แหล่งข่าวได้รับความเป็นธรรม และ (1) แหล่งข่าวได้รับกำลังใจและความช่วยเหลือจากสังคม
                  ข้อเสนอแนะในงานวิจัยนี้ ได้แก่ (1) สื่อ กองบรรณาธิการ และองค์กรสื่อ ต้องเพิ่มความละเอียดอ่อนต่อการเคารพสิทธิ์ของแหล่งข่าว เช่น แจ้งเงื่อนไข และรายละเอียดการสัมภาษณ์ให้แหล่งข่าวทราบ ปกปิดเอกลักษณ์ของแหล่งข่าวเมื่อจำเป็น นำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่นำเสนอเนื้อหาที่มีความรุนแรง ไม่นำเสนอภาพศพ ฯลฯ (2) แหล่งข่าวต้องรักษาสิทธิ์ของตัวเอง เช่น ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์กับสื่อ หรือแจ้งให้สื่อปกปิดเอกลักษณ์ หรือร้องเรียนเมื่อถูกละเมิดสิทธิ์ และ (3) สภาวิชาชีพสื่อต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน

References

กิติพร บุญอ่ำ และคณะ (2558), สิทธิของเธอ สิทธิของฉัน สิทธิของเรา, กรุงเทพฯ: เอ็ส. เอ็ม. เซอร์คิทเพรส.

กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ (2555), รวมกฎหมายการสื่อสารมวลชน, กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

เกษม ศิริสัมพันธ์ (2556), “การควบคุมกันเองของสื่อมวลชน: ความเป็นไปได้ในสังคมไทย เสรีภาพ จริยธรรม ความรับผิดชอบ”, ใน หนังสือที่ระลึกครบรอบ 6 ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, กรุงเทพฯ: สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.

กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (2551), ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, ม.ป.ท.

จักร์กฤษ เพิ่มพูล และคณะ (2556), “การตัดสินใจเชิงจริยธรรมของสื่อมวลชน”, ใน ศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน, คู่มือการสอนวิชากฎหมายสื่อมวลชนและวิชาจริยธรรมสื่อมวลชน” กรุงเทพฯ: จริญสนิทวงศ์การพิมพ์.

จินตนา ตันสุวรรณานนท์ (2551), ปัจจัยที่มีผลต่อการขาดความรับผิดชอบทางจริยธรรมของ นักหนังสือพิมพ์ในมุมมองของนักหนังสือพิมพ์, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวดี ท่าจีน (2548), “การรณรงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรี: ความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐกับองค์กรเอกชน”, ใน มาสสุรีย์ ศรีพรหมมา และคณะ (บ.ก.), รวมเรื่อง นานาทัศนะด้านสิทธิสตรี, กรุงเทพฯ: บางกอกบล๊อก.

บุญญรัตน์ โชคบันดาลชัย (2558), กฎหมายสื่อสารมวลชน: การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล และ ชื่อเสียง เกียรติคุณ, พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ภาคภูมิ หรรนภา (2554), การเขียนข่าวเบื้องต้น, มหาสารคาม: อินทนิล.

มาลี บุญศิริพันธ์ (2556), วารสารศาสตร์เบื้องต้น: ปรัชญาและแนวคิด, สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.

รัตนวดี นาควานิช (2551), การรุกล้ำสิทธิของบุคคลในแวดวงบันเทิงที่ปรากฏทางสื่อมวลชน, เอกสารทางวิชาการของมูลนิธิดำรงชัยธรรม.

วนิดา แสงสารพันธ์ (2556), “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น”, ใน ศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน, คู่มือการสอนวิชากฎหมายสื่อมวลชนและวิชาจริยธรรมสื่อมวลชน, กรุงเทพฯ: เจริญสนิทวงศ์การพิมพ์.

________. (2557), หลักกฎหมายสื่อสารมวลชน, กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

วัชระ จิรฐิติกาลกิจ (2550), ผลกระทบของการนำเสนอข่าวข่มขืนในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวันที่มีต่อผู้ข่มขืน ผู้ถูกข่มขืน และผู้อ่านที่สะท้อนจริยธรรมของหนังสือพิมพ์, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัฒณี ภูวทิศ (2551), การสื่อข่าวและการเขียนข่าว, ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

โวฟกัง เบเนเด็ค และคณะ (ม.ป.ป.), ความเข้าใจในสิทธิมนุษยชน คู่มือการศึกษาสิทธิมนุษยชน. แปลโดย คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ และคณะ, กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

สุทิติ ขัตติยะ (2556), กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน, กรุงเทพฯ: เปเปอร์เฮาส์.

สุภา ศิริมานนท์ (2530), จริยธรรมของหนังสือพิมพ์, กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ.

สุภาภรณ์ อัษฎมงคล (2550), ทำข่าวอย่างไร? ไม่ให้ละเมิดสิทธิเด็ก, ม.ป.ท.

สมคิด บางโม (2551), กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน} กรุงเทพฯ: เอส เค บุ๊คส์.

อารดา เทอดธรรมคุณ (2547), ความตระหนักของผู้สื่อข่าวต่อจริยธรรมวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ และคณะ (2550), สื่อสารมวลชนเบื้องต้น: สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม, กรุงเทพพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Leslie, G. (2011), The First Amendment Handbook, Arlington: The Reporters Committee for Freedon of the Press.

Manning, P. (2001), News and News Sources, London: Sage.

สื่อออนไลน์
ทีนิวส์ (2560), ช็อก!! "ผู้ว่าฯ แม่ฮ่องสอน" ถูกลากไส้ ซื้อบริการเด็กสาว จ่ายแค่พันเดียว ล่าสุด เจ้าตัวหน้าเครียด โผล่แถลงข่าวด่วนจี๋!!, สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560 จาก https://www.tnews.co.th/contents/313901.

ทีเอ็นเอ็น 24 (2557), พบศพ "น้องเพลง" ฆ่าสยองยัดท่อน้ำวัดพระงาม, สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560, จาก https://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=30203&t=news.

________. (2559), ระทึก!พบแล้ว “ดร.วันชัย” เอาปืนจ่อหัวขู่ยิงตัวตาย, สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.youtube.com/watch?v=0by7XVBJqgQ&app=desktop.

ทุบโต๊ะข่าว, สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี (2559), รวบโจ๋ข้างบ้านขืนใจเด็ก 8 ขวบบังคับมอมยาบ้า ช็อกดับ -เจ้าตัวยังปากแข็ง, สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560 จาก https://www.youtube.com/watch?v=aaBzY5sEM8w.

ไทยจ็อบส์กอฟดอทคอม (2559), ชาวเน็ตสุดทนร้องเรียนพฤติกรรมนักข่าวแย่ รุกล้ำความเป็น ส่วนตัวของญาติ ‘ปอ ทฤษฎี’, สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2559 จาก https://www.thaijobsgov.com/jobs=45386.

เรื่องเล่าเช้านี้, สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่องสาม (2560), สัสดีชัยภูมิชี้ ‘ไผ่ ดาวดิน’ หนีทหารมาหลายปี ญาติไม่ยื่นผ่อนผัน หลังต้องโทษคดี 112, สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.youtube.com/watch?v=5W2qbcqIo9Q.

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ (2557), ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภา การหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559, สืบค้นข้อมูลเมื่อ 25 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.presscouncil.or.th/ข้อบังคับจริยธรรม/.

สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย (2557), ข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2553, สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2560 จาก https://www.newsbroadcastingcouncil.or.th/?page_id=142.

Society of Professional Journalists, SPJ Code of Ethics, สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2559 จาก https://www.spj.org/pdf/spj-code-of-ethics.pdf.

สัมภาษณ์
คณาธิป ทองรวีวงศ์, สัมภาษณ์, 23 มิถุนายน 2560.

ชาย ปถะคามินทร์, สัมภาษณ์, 6 กรกฎาคม 2560.

ญาติวันชัย ดนัยตโมนุท, สัมภาษณ์, 9 กุมภาพันธ์ 2560.

แนน และมารดาของแนน, สัมภาษณ์, 6 เมษายน 2560.

ป้าของเด็กหญิง, สัมภาษณ์, 30 เมษายน 2560.

พรรษาสิริ กุหลาบ, สัมภาษณ์ 27 มิถุนายน 2560.

พริ้ม บุญภัทรรักษา, สัมภาษณ์, 15 มิถุนายน 2560.

พี่สาวของเด็ก 2 คน, สัมภาษณ์, 16 มิถุนายน 2560.

มารดาของลูกชายที่พ่อถูกฆาตกรรม, สัมภาษณ์, 8 กุมภาพันธ์ 2560.

ด.ต.ฤชา ชนะกาญจน์ และดารุณี ชนะกาญจน์, สัมภาษณ์, 14 มิถุนายน 2560.

วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์, สัมภาษณ์, 29 มิถุนายน 2560.

ศรัณย์รัชต์ ซู่สั้น เพียงใจ ซู่สั้น และวิชาญ ใหม่ตอง, สัมภาษณ์, 2 มีนาคม 2560.

สงวน สหวงษ์, สัมภาษณ์, 25 มีนาคม 2560.

สืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์, สัมภาษณ์, 9 มิถุนายน 2560.

สุวัฒน์ รำนา และ พนมวรรณ รำนา, สัมภาษณ์, 2 มีนาคม 2560.

หวาน, สัมภาษณ์, 16 มิถุนายน 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-11-2018