การศึกษาประโยชน์และข้อควรคำนึงในการประยุกต์ใช้ แนวทางภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัยกับงานสารคดีในไทย

ผู้แต่ง

  • กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาพถ่ายสารคดี, ภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัย, บรรณาธิการ, ช่างภาพ

บทคัดย่อ

                  ภาพถ่ายสารคดีเป็นภาพถ่ายที่มีพลวัต เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตลอดมา และรับเอากลวิธีการนำเสนอของการถ่ายภาพชนิดอื่นๆ เข้ามาใช้ ทั้งยังได้รับอิทธิพลแนวคิดทางศิลปะเข้ามาจนเกิดเป็นลักษณะการทำงาน รูปแบบใหม่มากขึ้น การนำเสนอจึงไม่เน้นเพียงความจริงแท้เหมือนดังเช่นภาพถ่ายสารคดีแบบดั้งเดิม แต่ยังเพิ่มการคิดพิจารณาความงามในเชิงศิลปะเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้ภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัยมีอิทธิพลเข้ามาปรากฏบนงานภาพถ่ายสารคดีมากขึ้นเรื่อยๆ ดังที่ปรากฏในงานภาพถ่ายสารคดี ต่างประเทศ จึงเป็นเรื่องน่าสนใจศึกษาว่า ภาพถ่ายสารคดีในไทยเปิดรับแนวคิดศิลปะภาพถ่ายร่วมสมัยมากน้อยเพียงใด และผู้ปฏิบัติงานภาพถ่ายสารคดี ทั้งช่างภาพและบรรณาธิการมีความเห็นต่อการรักษาความจริง ข้อควรระวัง และประโยชน์จากการผสมผสานสองแนวทางนี้อย่างไร 
                  การวิจัยนี้เน้นศึกษาภาพถ่ายที่ถูกนำเสนอในนิตยสารสารคดีที่นำเสนอเรื่องราวด้วยภาพชุด และพบว่าภาพถ่ายสารคดีในไทยมีการผสมวิธีการภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัยเข้ามาแล้วบ้าง แต่ไม่เด่นชัด โดยปรากฏเป็นลักษณะรายภาพ และยังไม่เป็นภาพชุด โดยมีสาเหตุสำคัญ คือ ภาพสารคดีในไทยยังยึดวิธีการทำงาน การนำเสนอรูปแบบเดิมตามข้อจำกัดของธรรมชาติสื่อสิ่งพิมพ์ ทิศทางของนิตยสารและผู้ชมที่ยังเป็นกลุ่มเดิม ตลอดจนความรู้ความเข้าใจของช่างภาพ และบรรณาธิการเกี่ยวกับภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัยยังมีอยู่จำกัด ประกอบกับ ช่างภาพและบรรณาธิการมุ่งเน้นรักษาข้อเท็จจริงของการทำงานเป็นหลัก จึงเป็น กรอบที่ควบคุมกลวิธีบางประการให้เป็นตามแนวทางเดิม อย่างไรก็ตาม การผสมผสานสองแนวทางจะสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการนำเสนอเรื่องราว ทำให้เล่าเรื่องเดิมในมุมมองใหม่ ส่งผลให้ผลงานนั้นน่าสนใจและดึงดูดผู้ชมมากยิ่งขึ้น การประดิษฐ์องค์ประกอบในการจัดถ่ายภาพซึ่งเป็นวิธีอย่างหนึ่งของภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัย จะช่วยลดต้นทุนและเวลาในการทำงาน แต่ทั้งนี้ก็ต้องยึดหลักการนำเสนอข้อเท็จจริงเป็นที่ตั้ง ซึ่งทำให้ช่างภาพต้องเข้าใจเงื่อนไขของภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัยให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ได้

References

Bate, D. (2009), Photography: The Key Concept, London: Bloomsbury Publishing.

________. (2015), Art Photography, London: Tate Publishing.

Cotton, C. (2009), The Photograph as Contemporary Art, London: Thames & Hudson.

Couturier, E. (2012), Talk about Contemporary Photography, Paris: Flammrion.

Ingledew, J. (2005), Photography, London: Laurence King.

Marien, M. (2014), Photography: A Cultural History, London: Laurence King.

Wells, L. (2009), Photography – A Critical Introduction, Oxon: Routledge.

สื่อออนไลน์
Curtis, J. (2003), “Making Sense of Documentary Photography”, History Matters: The U.S. Survey Course on the Web, retrieved from https://historymatters.gmu.edu/mse/Photos/

Kratochvi, A. and Persson, M. (2001), “Photojournalism and Documentary Photography – They are identical mediums, sending different messages, Nieman Reports”, retrieved from https://niemanreports.org/issues/fall-2001/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-11-2018