การเคลื่อนไหวทางสังคมด้านการเมืองในยุคดิจิทัล : กรณีศึกษาการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมและการต่อต้านระบบซิงเกิลเกตเวย์

ผู้แต่ง

  • นิชคุณ ตุวพลางกูร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

                  การเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นขบวนการที่มวลชนออกมาเรียกร้องเพื่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทิศทางที่มวลชนต้องการ ซึ่งการเกิดขึ้นของสื่อดิจิทัลโดยเฉพาะสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์เอื้อประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเคลื่อนไหวทางสังคม เนื่องจากการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลนั้นเป็นการสื่อสารสองทาง ทำให้ผู้รับสารสามารถเปลี่ยนสถานะไปเป็นผู้ส่งสารได้ จึงเป็นการกระจายอำนาจของการสื่อสาร ทั้งนี้ยังมีลักษณะส่งเสริมการรวมกลุ่มกันทางสังคมและการร่วมมือกันในการกระทำการหนึ่งๆ ในโลกเสมือนได้ ดังนั้น การเคลื่อนไหวทางสังคมด้านการเมืองในยุคดิจิทัลจึงเป็นขบวนการที่สามารถเกิดได้ง่ายกว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคสื่อสารมวลชน ดังเช่น กรณีการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม พ.ศ. 2556 และการต่อต้านระบบซิงเกิลเกตเวย์ เป็นกรณีศึกษาที่มวลชนได้นำคุณลักษณะเด่นของสื่อดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในการเคลื่อนไหวทางสังคม จนกระทั่งการเคลื่อนไหวนั้นประสบผลสำเร็จ โดยฝ่ายรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เพื่อยับยั้งการดำเนินการในทั้งสองกรณี เพราะฉะนั้นสื่อดิจิทัลจึงเป็นสื่อที่สนับสนุนการแสดงออกทางความคิดของมวลชนซึ่งเป็นกลไกแห่งวิถีประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวทางสังคมด้านการเมืองในยุคดิจิทัลก็ใช่ว่าจะประสบผลสำเร็จเสมอไป จึงต้องพิจารณาถึงค่านิยม ความเชื่อ อุดมการณ์ของฝ่ายผู้มีอำนาจในสถาบันทางสังคมและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

References

กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุนพล (2556), คู่มือสื่อใหม่ศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2542), ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในรูปแบบใหม่และนัยเชิงทฤษฎีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในขบวนการประชาสังคมไทย: ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง, นครปฐม: โครงการวิจัยและพัฒนาประชาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง (2552), กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม, กรุงเทพฯ: มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ราชบัณฑิตยสถาน (2524), พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วรวรรณ ทาระธรรม (2554), ความพร้อมของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม: กรณีศึกษากลุ่มเสรีชน จังหวัดอุบลราชธานี, วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (2556), ทฤษฎีการสื่อสาร, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ระเบียงทอง.

สุวิดา ธรรมมณีวงศ์ (2544), “การเคลื่อนไหวทางสังคม”, วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2 (ธันวาคม 2543-พฤษภาคม 2544): 32-54.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) (2559), รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559, กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ((องค์กรมหาชน.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2559), สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน ครัวเรือน พ.ศ. 2559, กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ สาขาของบริษัท ดับบลิวพีพี (ประเทศไทย) จำกัด (2552), Ogilvy on Recession: 7 คัมภีร์สู้วิกฤติรับมือเศรษฐกิจถดถอย, กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ BizBook.

Castells, M. (2011), The Power of Identity: The Information Age: Economy, Society, and Culture, NJ: Wiley.

________. (2013), Communication Power, Oxford: Oxford University Press.

________. (2015), Networks of Outrage and Hope: Social Movements in the Internet Age, Cambridge: Polity Press.

สื่อออนไลน์
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (2553), “การนิรโทษกรรมกับสังคมไทย”, สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560
จาก https://ilaw.or.th/node/562

ไทยรัฐออนไลน์ (2556), “สัญลักษณ์คัดค้าน นิรโทษกรรม อารมณ์ขันในโลกโซเชียล”, สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2560 จาก https://www.thairath.co.th/content/380591

________. (2558), “ชาวเน็ตแห่ต้าน ‘ซิงเกิล เกตเวย์’ แชร์ภาพไอคอน Wi-Fi ถูกกะลาครอบ”, สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2560 จาก https://www.thairath.co.th/content/528235

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (ม.ป.ป.), “Social Movements”, สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2560 จาก https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/137

ประชาไทย (2556), “อ่านแถลงการณ์นิติราษฎร์ที่นี่ ว่าด้วยนิรโทษกรรม”, สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2560 จาก https://prachatai.com/journal/2013/10/49508

ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ (2556), “คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม: ตามกระแสหรือปกป้องความ ถูกต้อง?”, สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2560 จาก https://www.isranews.org/isranews-article/ item/25184-law_25184.html

สฤณี อาชวานันทกุล (2558), “กระชากเศรษฐกิจดิจิทัลถอยหลังด้วย ‘ซิงเกิ้ล เกตเวย์’”, สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2560 จาก https://thaipublica.org/2015/09/single-gateway/

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (2556), “ล้านชื่อหยุดกฎหมายล้างผิดคดีโกง”, สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2560 จาก https://www.change.org/p/ล้านชื่อหยุดกฎหมายล้างผิดคดีโกง

อิศรานิวส์ (2556), “ว่อนอีกหนังสือ “มท. ”สั่งหาทางยุติ “นร.-นศ.” ร่วมชุมนุมประท้วงต้านรัฐบาล”, สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560 จาก https://www.isranews.org/isranews-news/25303-mt.html

Coconut Shell Thailand (2558), “ต่อต้านการตั้งซิงเกิลเกตเวย์ Go against Thai govt to use a Single Internet Gateway”, สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2560 จาก https://www.change.org/p/thai-govt-stop-proposed-plan-for-single-internet-gateway

INN (2558), “รมว. ICT แถลงยังไม่สรุปใช้ซิงเกิลเกตเวย์ยันแค่ศึกษา”, สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2560 จาก https://www.innnews.co.th/show/649568/รมว.ICTแถลงยังไม่สรุปใช้ ซิงเกิลเกตเวย์ยันแค่ศึกษา

NationTV (2558), “รัฐบาลเดินหน้า ซิงเกิลเกตเวย์”, สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2560 จากhttps://www.nationtv.tv/main/content/politics/378472908/

รายการโทรทัศน์
พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์. (1 ตุลาคม 2558), เช้าข่าวชัดโซเชียล [รายการโทรทัศน์], สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-06-2018