นวัตกรรมสื่อใหม่ในยุคสื่อสังคมออนไลน์เฟื่องฟูกับการปรับตัวของสื่อโทรทัศน์

ผู้แต่ง

  • พรชัย ฉันต์วิเศษลักษณ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

                  แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นตัวกำหนด (communication technology determinism) เชื่อว่า เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลเปลี่ยนแปลงสังคมตามมา ประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่สื่อสังคมออนไลน์เข้ามาในวิถีชีวิตของคนมากขึ้น ส่งผลการเปลี่ยนแปลงต่ออุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ขนานใหญ่ จนเกิดคำถามว่า สื่อใหม่ดิจิทัลจะมาแทนที่และยุติบทบาทของสื่อเก่า เช่น สื่อโทรทัศน์ ในอนาคตอันใกล้หรือไม่
                  อุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ดิจิทัลมีการปรับตัวรับมือกับสังคมสื่อออนไลน์ เริ่มจากโลกฝั่งตะวันตกจนมาถึงประเทศไทยด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ได้แก่ (1) แก้ไขปัญหาการเงิน เพิ่มทุนทำข้อตกลงให้กลุ่มทุนร่วมถือหุ้นในธุรกิจสื่อโทรทัศน์ (2) ลดงบประมาณ จ้างพนักงานให้เกษียณก่อนเวลา (3) ปรับโครงสร้างองค์กร ยุบรวมหน่วยงาน และซื้อตัวผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาบริหารงาน และ (4) ปรับวิธีการนำเสนอเนื้อหาผ่านการหลอมรวมสื่อเพื่อสร้างรายได้และดึงให้ผู้ชม กลับมาติดตามสื่อโทรทัศน์
                   แนวโน้มสถานการณ์สื่อโทรทัศน์ดิจิทัลของไทยจะลดจำนวนช่องออกอากาศลงบางส่วน โดยคาดว่าสถานีโทรทัศน์ที่จะยุติการดำเนินการไปก่อน คือ สถานีโทรทัศน์ช่องเด็กและช่องข่าว เนื่องจากเนื้อหารายการไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ชมไทย
                   สื่อโทรทัศน์ยังคงไม่ถูกสื่อสังคมออนไลน์มาแทนที่ไปได้ทั้งหมด ส่วนที่ถดถอยคือสื่อโทรทัศน์ที่ออกอากาศตามผังรายการเท่านั้น และหากสื่อโทรทัศน์ รู้จักประสานการประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อดึงดูดผู้ชมให้กลับมาติดตามได้ สื่อโทรทัศน์ก็น่าจะยังคงอยู่ได้

References

หนังสือ
กันยิกา ชอว์ และคณะ (2560), จักรวาลสื่อใหม่, กรุงเทพฯ: เจ เจ เอ็น พริ๊นติ้งครีเอชั่น.

กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุนพล (2556), คู่มือสื่อใหม่ศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2553), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ปุญญานิช กลกิจพิวัฒน์ และพงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ (2559). วารสารราชดำเนิน, 32 (ธันวาคม): 18-20.

สื่อออนไลน์
เจนพสิษฐ์ ปู่ประเสริฐ (2559), “รายงาน: ถอดบทเรียน BBC ปรับทัพสื่อรับยุค New Media สะท้อนอะไรต่อสื่อไทย”, สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560 จากhttps://prachatai.com/journal/2016/07/66991.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (2560), “กสทช. ออกกฎตีกรอบ Live ผ่านเน็ต สื่อโซเชียลโดนหมด-เอเยนซี่ต้นทุนพุ่ง, สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2560 จาก https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1493570699.

ประชาชาติออนไลน์ (2560), “ทีวีแก้โจทย์หินดึงคนดูคืนจอ “3-7-เวิร์คพอยท์” เพิ่มดีกรีบุกออนไลน์”, สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2560 จาก https://www.prachachat.net/marketing/news-20224.

________. (2560), “รายงาน: ถอดบทเรียน BBC ปรับทัพสื่อรับยุค New Media สะท้อนอะไรต่อสื่อไทย”, สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560 จาก https://prachatai.com/jour-nal/2016/07/66991.

รัตติยา อังกุลานนท์ (2560), “‘ทีวีดิจิทัล’ โหมออนไลน์ขยายผู้ชม-ดันรายได้”, สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2560 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/747082.

เว็บไซต์บีบีซี (2560), สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560 จากhttps://www.bbc.co.uk/aboutthebbc/insidethebbc/whatwedo.

เว็บไซต์แบรนด์บุฟเฟ่ต์ (2560), “เด็ก-ข่าว อาจหลุดอยู่ในมือกลุ่มทุน”, สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/09/media-industry-2017/.

เว็บไซต์ไทยโพสต์ (2560), “อสมท. กางแผนรุกดิจิทัล ชี้เป็นรายได้อนาคต ปลื้มยอดโซเชียลพุ่ง”, สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2560 จาก https://thaipost.net/?q=node/33271.

เว็บไซต์ไอที 24 ชั่วโมง (2557), “Google เปิดตัว YouTube ประเทศไทยให้คนไทยหารายได้ ด้วยคลิป youtube ได้แล้ว”, สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2560 จาก https://it24hrs.com/2014/youtube-thailand-launch/.

อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ (2560), “ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรทัศน์ เพื่ออนาคตประเทศไทย 4.0”, สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560 จากhttps://www.komchadluek.net/news/scoop/299098#.WeXONnJy7CV.facebook.

Brandageonline (2560), “Tips for content ปรับตัวอย่างไรไม่ให้ตกเทรนด์”, สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2560 จากhttps://www.facebook.com/brandageonline/photos/pcb.10155742288973829/10155742257818829/?type=3.

HOT UPDATE (2559), “Facebook Live สะเทือนทีวี?, สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2560 จาก https://positioningmag.com/1090418.

________. (2560), “ศึก 3 แพลตฟอร์ม “วิดีโอ คอนเทนต์” ยูทูบ, ไลน์ทีวี และเฟซบุ๊ก ชิงคนดูสนั่นจอ”, สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560 จากhttps://positioningmag.com/1122824.

HOT UPDATE Case Study (2560), “ถอดหน้ากาก เปิดใจ ผู้บริหารเวิร์คพอยท์ กับบทเรียนความปัง-ฝังดราม่า The Mask Singer”, สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2560 จาก https://positioningmag.com/1120846 .

Insight (2560), “เด็ก-ข่าว อาจหลุดอยู่ในมือกลุ่มทุน”, สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2560 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/09/media-industry-2017/.

In Insight (2560), “ธุรกิจสื่อทรุดหนักรอบ 10 ปี! คาด “ทีวี” เหลือ 15 ช่อง ช่องเด็ก-ข่าว อาจหลุดอยู่ในมือกลุ่มทุน”, สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2560 จาก https://www.brandbuf-fet.in.th/2017/09/media-industry-2017/.

Matemate (2560), “แข่งเดือด Workpoint – GMM Grammy กับยอด sub 10 ล้านรายบน Youtube รายแรกในอาเซียน”, สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2560 จาก: https://brandinside.asia/workpoint-gmm-grammy-youtube-10-million/.

MGR Online (2558), “ใครก็ถ่ายทอดสดได้ Facebook เริ่มเปิดฟีเจอร์ Live-Streaming Video ให้ทุกคน”, สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560 จากhttps://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000134163.

________. (2560), “จีเอ็มเอ็ม เข้าป้ายจำนวนผู้ติดตามยูทูปครบ 10 ล้านช่องแรกในอาเซียน”, สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2560 จาก https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000102845.

________. (2560), “ไทยพีบีเอส เปิดเออร์ลีรีไทร์ รับเงินก้อนสูงสุด 8 เท่า พบปี 59 รายจ่ายกว่า 660 ล้าน”, สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560 จาก mgronline.com/onlinesection/detail/9600000104731.

Nokkaew (2560), “7 ข้อสรุปโลกออนไลน์ไทย จากงาน Zocial Awards 2017 ที่แบรนด์และ เอเจนซี่ต้องรู้”, สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560 จาก https://www.mangozero.com/zocial-award-2017/.

Pijitra Suppasawatgul (2560), “OTT TV แพลตฟอร์มทีวีออนไลน์ สนามใหม่ที่ไม่ว่าใครก็อยากมีส่วนร่วม”, สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2560 จาก https://thematter.co/thinkers/ ott-tv-new-platform/24209.

TaiSresuda (2560), “เคล็ดลับปั้นรายการ TV ไทยให้โลกรู้ จาก ‘ชลากรณ์’ เวิร์คพอยท์”, สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2560 จาก https://men.sanook.com/18397/.

Worawisut Pinyoyang (2560), “ธุรกิจคอนเทนต์ ทีวี และ Business Model ในปัจจุบัน”, สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2560 จาก https://medium.com/@worawisut/บ้านเรามักชอบมีหัวข้อข่าวทำนองว่า-ทีวีตายแล้ว-คนไทยไม่ดูทีวีแล้ว-เป็นความเชื่อมากกว่าจะไปค้นห-a50ea88ce2fb.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-06-2018