หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางกับการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

ผู้แต่ง

  • รุจน์ โกมลบุตร และคณะ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

                   บทความเรื่อง “หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางกับการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้ชุมชน” เป็นผลมาจากการศึกษาในหัวข้อเดียวกัน มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อฉบับต่างๆ ของลำปาง ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่เข้มแข็งมากที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ว่ามีการนำเสนอข่าว และภาพข่าวที่ส่งเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนอย่างไร โดยใช้แนวคิดในเรื่องบทบาทของสื่อมวลชนในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
                   วิธีการศึกษาคือ ศึกษาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชั้นนำ 4 ชื่อฉบับในจังหวัดลำปาง ได้แก่ ฅนเมืองเหนือ (รายสัปดาห์ เน้นข่าวอาชญากรรม) แมงมุม (รายสัปดาห์ เน้นข่าวอาชญากรรม) ลานนาโพสต์ (รายสัปดาห์ เน้นข่าวเศรษฐกิจ การเมือง) และ ลำปางนิวส์ (รายปักษ์ เน้นข่าวอาชญากรรม) ออกจำหน่ายระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2558 รวม 6 เดือน ทั้งนี้ จะพิจารณาข่าวที่ปรากฏในทุกหน้า และภาพข่าวเฉพาะหน้าหนึ่ง ว่ามีเนื้อหาส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนหรือไม่ ในปริมาณเท่าใด และมีการส่งเสริมในประเภทใด โดยมีหน่วยเป็นชิ้นและตารางนิ้ว
                    การศึกษาพบว่า หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางมีข่าวที่เสริมสร้างความ เข้มแข็งของชุมชนร้อยละ 13.41 ของพื้นที่ข่าวทั้งหมด ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ลานนา โพสต์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพเพียงฉบับเดียวของลำปางมีพื้นที่การ นำเสนอมากที่สุด ร้อยละ 27.8 ตามด้วยแมงมุม (ร้อยละ 10.0) ฅนเมืองเหนือ (ร้อยละ 6.5) และหนังสือพิมพ์ลำปางนิวส์ (ร้อยละ 5.5)
                    การศึกษายังพบว่า ข่าวที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนประเภทต่างๆ ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปาง มีสัดส่วนดังนี้ ข่าวการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ร้อยละ 35.5 ข่าวที่กระทบต่อผลประโยชน์ต่อสาธารณะโดยตรง ร้อยละ 26.4 ข่าวการตรวจสอบทุจริต ร้อยละ 23.2 และข่าวแบบผสมผสาน (มีมากกว่า 1 ประเภทในข่าวชิ้นเดียวกัน) ร้อยละ 14.7 ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ลำปางนิวส์ โดดเด่น ในการให้พื้นที่ในการนำเสนอเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน หนังสือพิมพ์ ฅนเมืองเหนือ โดดเด่นเรื่องการตรวจสอบทุจริต หนังสือพิมพ์แมงมุม โดดเด่นในประเภทผสมผสาน และลานนาโพสต์ โดดเด่นในการนำเสนอทั้งข่าว การมีส่วนร่วม ประโยชน์สาธารณะ และการตรวจสอบทุจริตในระดับที่ใกล้เคียงกันทั้งสามประเภท สัดส่วนการนำเสนอดังกล่าวขึ้นอยู่กับนโยบายของหนังสือพิมพ์ และจำนวนของผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ ขณะเดียวกัน ก็สะท้อนให้เห็นว่า ผู้อ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางให้ความสนใจต่อข่าวที่ใกล้ตัว และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนให้แข็งแรง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-11-2018