สื่อใหม่กับกลุ่มชาติพันธุ์: การต่อรองทางการเมืองและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในสื่อออนไลน์

ผู้แต่ง

  • อภินันท์ ธรรมเสนา นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

                   บทความนี้เป็นข้อสังเกตของผู้เขียนที่ได้จากการสำรวจข้อมูลในโลกออนไลน์ ถึงความสำคัญของสื่อใหม่ ซึ่งในที่นี้หมายถึงสื่อออนไลน์ ในฐานะที่เป็น พื้นที่ต่อรองทางการเมืองและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านกรณีตัวอย่างของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่และไทโส้ ทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ต่างใช้สื่อใหม่เป็นพื้นที่ในการสื่อสารอัตลักษณ์ โดยกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้มีเป้าหมายในการใช้สื่อใหม่เป็นช่องทางในการสื่อสารเพื่อสืบทอดวัฒนธรรม ขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ใช้ สื่อใหม่เป็นช่องทางการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อสร้างสำนึกความเป็นไทใหญ่ ที่จะเป็นพลังในการเรียกร้องสิทธิทางการเมือง 
                 อย่างไรก็ดี การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า ด้วยคุณสมบัติของสื่อใหม่ที่เข้าถึง ได้ง่าย ก็เป็นช่องทางที่คนนอกวัฒนธรรมสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการทำลาย อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การใช้พื้นที่สื่อใหม่เป็น พื้นที่ต่อรองทางวัฒนธรรม จึงเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุดและแน่นอนตายตัว หากแต่เป็นกระบวนการที่ต้องมีพลวัตและปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคมและสถานการณ์ทางการเมืองและวัฒนธรรม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-11-2018