การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับนักการเมืองท้องถิ่นของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปาง

ผู้แต่ง

  • รุจน์ โกมลบุตร และคณะ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์เนื้อหา, นักการเมืองท้องถิ่น, หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น, ลำปาง

บทคัดย่อ

                   บทความเรื่อง “การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับนักการเมืองท้องถิ่นของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปาง” เป็นผลมาจากการศึกษาในหัวข้อเดียวกัน มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับนักการเมืองท้องถิ่นของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อฉบับต่างๆ ของลำปางว่ามีการนำเสนอเป็นอย่างไร การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ และใช้แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ และจริยธรรมของสื่อมวลชน
                   วิธีการศึกษาคือ ศึกษาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชั้นนำ 4 ชื่อฉบับในจังหวัดลำปาง ได้แก่ ฅนเมืองเหนือ (รายสัปดาห์ เน้นข่าวอาชญากรรม) แมงมุม (รายสัปดาห์ เน้นข่าวอาชญากรรม) ลานนาโพสต์ (รายสัปดาห์ เน้นข่าวเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และอาชญากรรม) และ ลำปางนิวส์ (รายปักษ์ เน้น ข่าวอาชญากรรม) ออกจำหน่ายระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2560 รวม 6 เดือน ทั้งนี้จะพิจารณาข่าว บทความ และภาพข่าวที่ปรากฏในทุกหน้าว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักการเมืองท้องถิ่นในปริมาณเท่าใด รูปแบบใด และมีเนื้อหาประเภทใด โดยมีหน่วยเป็นชิ้นและตารางนิ้ว
                   การศึกษาพบว่า หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางนำเสนอเนื้อหานักการเมืองท้องถิ่นคิดเป็นร้อยละ 4.80 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยนำเสนอในรูปแบบ “ภาพ” มากที่สุด ตามด้วย “ข่าว” และ “บทความ” น้อยที่สุด รวมทั้งนำเสนอเนื้อหา “ประเภทงานของสำนักงาน” มากที่สุด รองลงมาคือ “เรื่องส่วนตัวของนักการเมือง” และประเภท “ปัญหาสำนักงาน” น้อยที่สุด
                  หนังสือพิมพ์ ลานนาโพสต์ มีสัดส่วนของพื้นที่การนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับ นักการเมืองเปรียบเทียบกับเนื้อหาอื่นๆ มากที่สุด มีพื้นที่นำเสนอในรูปแบบข่าวมากที่สุด มีพื้นที่การนำเสนอที่หน้า 1 มากที่สุด ทั้งนี้เป็นผลมาจากนโยบายของลานนาโพสต์ ที่ไม่ได้เน้นข่าวอาชญากรรมอย่างเดียวเหมือนหนังสือพิมพ์ชื่อฉบับอื่นๆ
                  กิตติภูมิ นามวงค์ นายกเทศมนตรีนครลำปาง เป็นนักการเมืองที่หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางนำเสนอมากที่สุด เป็นแหล่งข่าวที่ปรากฏในเนื้อหา “ประเภทงานของสำนักงาน” และ “ปัญหาของสำนักงาน” มากที่สุด ขณะที่ ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร อดีตรัฐมนตรี เป็นนักการเมืองที่หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางนำเสนอมากเป็นอันดับสอง โดยปรากฏในเนื้อหา “ประเภทเรื่องส่วนตัว” มากที่สุด
                  ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ สื่อท้องถิ่นควรเพิ่มสัดส่วนการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับนักการเมืองท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพิ่มความสมดุลของเนื้อหาทั้งสามประเภทให้มากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่ม “ประเภทปัญหาของสำนักงาน” เพื่อช่วยตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองแทนประชาชน และกระจายการนำเสนอชื่อและบทบาทของนักการเมืองให้หลากหลาย เพื่อนำเสนอให้เป็นข้อมูลทางเลือกแก่ประชาชน

References

กฤษณ์ ทองเลิศ (2540), สื่อมวลชนการเมืองและวัฒนธรรมองค์รวมแห่งสายสัมพันธ์ของวิถีชีวิต, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (2552), งานวิจัยสถานภาพและบทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในประเทศไทย, ม.ป.ท. (เอกสารอัดสำเนา).

ฑิติยา เปลี่ยนเฉย (2553), “หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกับการกำหนดวาระข่าวสารด้านสิทธิพลเมือง”, วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, ม.ป.ท.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (2551), ก้าว(ไม่)พ้นประชานิยมกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น, กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์.

ณัฐ ฉมามหัทธนา (2550), ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการทำข่าวและนำเสนอข่าวการเมืองในมุมมองของนักหนังสือพิมพ์, สารนิพนธ์วารสารศาสตรบัณฑิต สาขาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และคณะ (2541), จับจ้องมองสื่อ, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

บรรยงค์ สุวรรณผ่อง (2552), สถานภาพและบทบาทของ นสพ. ท้องถิ่นในประเทศไทย (เอกสารอัดสำเนา).

รุจน์ โกมลบุตร (2552), สถานการณ์ในทางวิชาชีพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง, รายงานการวิจัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

________. (2554), การบริหารหนังสือพิมพ์ “ลานนาโพสต์”: ข้อเสนอต่อการปฏิรูปหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น, รายงานการวิจัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสถียร เชยประทับ (2540), การสื่อสารกับการเมืองเน้นสังคมประชาธิปไตย, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2548), “วาทกรรม ภาพแทน และอัตลักษณ์”, วารสารอักษรศาสตร์, 37.

หนังสือพิมพ์
ฅนเมืองเหนือ, มกราคม-มิถุนายน 2560.

แมงมุม, มกราคม-มิถุนายน 2560.

ลานนาโพสต์, มกราคม-มิถุนายน 2560.

ลำปางนิวส์, มกราคม-มิถุนายน 2560.

สื่อออนไลน์
ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สืบค้นจาก www.presscouncil.or.th/

สัมภาษณ์
ชาตรี ธาไชยวงศ์, สัมภาษณ์ 23 พฤศจิกายน 2560.

บัณฑิต ภักดีวงศ์, สัมภาษณ์ 22 พฤศจิกายน 2560.

ปรีชาปกรณ์ ไสยรัตน์, สัมภาษณ์ 23 พฤศจิกายน 2560.

ปนัดดา ฉิมพัด, สัมภาษณ์ 22 พฤศจิกายน 2560.

วริษฐา ภักดี, สัมภาษณ์ 23 พฤศจิกายน 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2019