การวิเคราะห์รูปแบบ (Format) และกระบวนการ (Procedure) ในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ กรณีศึกษางานวิจัย เรื่อง การสร้างความหมายการเลือกคู่ในรายการ เกมโชว์ Take Me Out Thailand

ผู้แต่ง

  • ษิธู ประมวญ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การสร้างความหมาย, การเลือกคู่, เกมโชว์, เทคมีเอาท์ไทยแลนด์

บทคัดย่อ

                   Take Me Out Thailand ถูกการประกอบสร้างให้การเลือกคู่มีความคล้ายคลึงกับโลกของความเป็นจริงผ่านรูปแบบ (Format) และกระบวนการของรายการ (Procedure) โดยรูปแบบรายการจะให้โอกาสผู้เข้าแข่งขันได้ทราบข้อมูลของผู้ร่วมรายการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยลักษณะของการให้ข้อมูลในแต่ละช่วงของรายการจะมีความลึกซึ้งขึ้นตามลำดับ แต่เมื่อนำรูปแบบรายการมาเปรียบเทียบกับโลกแห่งความเป็นจริงตามแนวคิดของ A. Schutz แล้ว รายการนี้ทำได้เพียงแค่ระดับของการเริ่มต้นความสัมพันธ์ของการเลือกคู่เท่านั้น  เนื่องจากขั้นตอนในการให้ข้อมูลเชิงลึกและลบนั้น ในโลกแห่งความเป็นจริงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก เพราะมีโอกาสที่ฝ่ายตรงข้ามจะตัดความสัมพันธ์ในทันที ดังนั้น การสร้างความหมายของการเลือกคู่ ในรายการ Take Me Out Thailand จึงไปไม่ถึงในระดับของการหา “คู่ครอง” ในโลกแห่งความเป็นจริง แต่สามารถใช้เป็นแนวทางในการหาผู้ที่ “คู่ควร” ภายใต้อุดมการณ์ของชนชั้นกลางเท่านั้น

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การวิเคราะห์: แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2548), ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

________. (2549), ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา, กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โพรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2551), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

โกสินทร์ รัตนนคร (2552), การใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นช่องว่างทางการสื่อสารของการเลือกคู่ครอง,วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ (2551), ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี: ประวัติศาสตร์เรื่องเพศ/เรื่องเพศในประวัติศาสตร์ไทย (1), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2548), ความยุ่งของการอยู่, กรุงเทพฯ: มติชน.

สมสุข หินวิมาน (2558), อ่านทีวี: การเมืองวัฒนธรรมในจอโทรทัศน์, กรุงเทพฯ: พารากราฟ.

อภิญญา ตันทวีวงศ์ (2552), สื่อบันเทิง: อำนาจแห่งความไร้สาระ, กรุงเทพฯ: ออลอเบ้าท์พริ้นท์.

อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ (2551), มายาคติและอุดมการณ์ในโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548: การวิเคราะห์ด้วยวิธีสัญวิทยา, วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Hall, S. (1997), Representation: Cultural Representations and Signifying Practices,London: Sage.

Williams, R. (1963), Culture and Society, Harmondsworth: Penguin.

________. (1974), Television: Technology and Cultural Form, London: Fontana.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-05-2019