การใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแม่ ศึกษากรณี เฟซบุ๊กแฟนเพจ “สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ”
คำสำคัญ:
สื่อสังคมออนไลน์, การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร, ความเป็นแม่, เฟซบุ๊ก แฟนเพจบทคัดย่อ
บทความเรื่อง “การใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแม่: ศึกษากรณีเฟซบุ๊กแฟนเพจ “สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ”” เป็นส่วนหนึ่งงานวิจัยในหัวข้อเดียวกันที่มุ่งศึกษาถึงสภาวะทางสังคมและจิตใจของแม่ที่ส่งผลต่อการใช้สื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ “สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ” รวมถึงประโยชน์ ความพึงพอใจ และผลอื่นที่อาจตามมาจากการใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจดังกล่าว โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (in-depth interview) แม่ 18 คน ที่ติดตามเนื้อหาในเฟซบุ๊กแฟนเพจ “สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มแม่ที่ทำการศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มว่าที่แม่ กลุ่มแม่มือใหม่ และกลุ่มแม่มือโปร โดยมีข้อสันนิษฐานว่า ระยะเวลาของความเป็นแม่และประสบการณ์ความเป็นแม่ที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน อาจส่งผลต่อสภาวะทางสังคมและจิตใจ ความคาดหวัง การได้รับประโยชน์และความพึงพอใจ รวมถึงผลอื่นที่ตามมาที่อาจแตกต่างกันด้วย
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยจากสภาวะทางสังคม ได้แก่ อายุ ระดับเศรษฐกิจและการศึกษา ค่านิยมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ลักษณะการเปิดรับสื่อ ประสบการณ์ความเป็นแม่ และการหนุ่นช่วยจากคนใกล้ชิด และปัจจัยจากสภาวะทางจิตใจ ได้แก่ ความรู้สึกต่อบทบาทความเป็นแม่ และทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความสัมพันธ์กับการแสวงหาข้อมูลในเฟซบุ๊กแฟนเพจ “สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ” โดยมีความแตกต่างกันในรายละเอียดระหว่างแม่ในแต่ละกลุ่ม แม่ทุกคนได้รับประโยชน์และความพึงพอใจจากการใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจ ดังกล่าวทั้งด้านข้อมูลข่าวสารและด้านจิตใจ ตลอดจนการใช้เพจดังกล่าวยังนำไปสู่ผลอื่นที่แม่แต่ละคนอาจไม่ได้คาดหวังไว้ อาทิ การส่งเสริมอัตลักษณ์ความเป็นแม่ ความภาคภูมิใจต่อบทบาทความเป็นแม่ของเพศหญิง และการตั้งเป้าหมายในการให้นมแม่ที่ยาวนานขึ้น
ผลการศึกษาข้างต้นได้นำไปสู่การอภิปรายผลงานวิจัยที่น่าสนใจหลายประการ อาทิ การเปลี่ยนมือของผู้นำความคิดเห็นด้านการให้นมแม่จาก “มารดา” ไปสู่ “ผู้เชี่ยวชาญ” บนสื่อใหม่ วาทกรรมนมแม่กับการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของแม่บนสื่อใหม่ รวมไปถึงประเด็นเรื่องอำนาจของผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นต้น
References
กาญจนา แก้วเทพ (2547), การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์, กรุงเทพฯ: แบรนด์เอจ.
กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กาญจนา แก้วเทพ และ นิคม ชัยขุนพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ขนิษฐา เทียบทอง (2539), ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาของสตรีในกรุงเทพ-มหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จริยา อภิชาติวรพงษ์ (2547), ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ในกลุ่มแม่ที่ทำงานนอกบ้าน, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ซาร่าห์ เบนเนท บาร์เนส (2554), ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างครบถ้วนของแม่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย: ผลการศึกษาด้วยวิธีผสมผสาน, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐิรา พุทธโอวาท (2546), การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากเว็บไซต์ “Sex Must Say” ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในเขตกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดาริน ด่านเทศ (2559), ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ทำงานนอกบ้านต่อเจตคติและความตั้งใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ตนารัตน์ เจริญ (2545), แรงจูงใจของหญิงมีครรภ์กับการแสวงหาข่าวสารด้านสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลขณะฝากครรภ์ในเขตกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ทวีศักดิ์ จันทร์ลอย. (2537). การใช้สื่อมวลชนเพื่อขจัดความหว้าเหว่ของลูกเรือประมงโชคเบญจา 3,วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ มนปราณีต (2542), ปัจจัยที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิทรา ใจดี (2536), สภาพและปัญหาของการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลเอกชนกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยรัตน์ สมันตรัฐ (2553), ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับรู้บทบาทแพทย์และพยาบาล กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4-6 เดือน, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปรานี วงษ์เทศ (2544), เพศและวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.
พีระ จิรโสภณ (2546), “การเลือกสรรและแสวงหาข่าวสาร”, ใน หลักและทฤษฎีการสื่อสารหน่วยที่ 11, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรธาดา สุวัธนวนิช (2550), ผู้หญิงกับบทบาทความเป็นแม่ในนวนิยายไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2510-2546,วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนัชกร ฟองมูล (2554). เสียงสะท้อนจากแม่ที่มีอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช (2558), การวิเคราะห์อัตลักษณ์ความเป็นชาติและความเป็นภูมิภาคของกลุ่มประเทศอาเซียน ศึกษากรณีเฟซบุ๊กแฟนเพจ ASEAN Community, รายงานวิจัยคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ (2534), การวิเคราะห์ผู้รับสาร, ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
วิลาสินี เทศน์ธรรม (2557), การเปิดรับสื่อความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่มารับบริการโรงพยาบาลศิริราช, โครงการค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สรชา ตันติเวชกุล (2543), ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อการรับรู้อุปสรรคความพึงพอใจ และพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่น, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลแม่และเด็ก มหาวิทยาลัยมหิดล.
สรัญญา จิตร์เจริญ (2537), ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ การสนับสนุนจากคู่สมรส การรับรู้ของมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กับระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ทำงาน, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล.
อังสนา ศิริวัฒนเมธานนท์ (2545), ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความร้ต่อพฤติกรรมและระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาครรภ์แรก, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก มหาวิทยาลัยมหิดล.
อุทัยวรรณ ตรีรัตน์พันธุ์ (2539), ปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ไม่ได้ทำงานนอกบ้าน, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Atkin, C. (1973), Instrumental Utilities and Information Seeking: New Model for Mass Communication Research, CA: Sage.
Katz, E. et al. (1974), “Utilization of Mass Communication by the Individual”, in Blumler,J. and Katz, E. (eds.), The Uses of Mass Communication: Current Perspectives on Gratifications Research, CA: Sage.
Kinser, A. (2010), Motherhood and Feminism, California: Seal Press.
Klapper, J. (1960), “The Effects of Mass Communication”, New York: The Free Press.
Neyer, G. and Bernardi, L. (2011), “Motherhood as a Contest Feminist Concept”, Feminist Perspectives on Motherhood and Reproduction, 36(2): 164-167.
ภัทรพรรณ ทำดี (2559), ใน “ภาพฝัน” กับ “ความเป็นจริง” บนเส้นทางสายน้ำนมแม่, สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2560 จาก https://soc-ant.soc.ku.ac.th/images/fsocppl/files/Article_on_web_1_owf.pdf
มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย (ม.ป.ป.), แผนการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2560 จาก https://www.thaibreastfeeding.org/page.php?id=266
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2555), หวั่นโภชนาการทำเด็กไทยไอคิวต่ำ,ASTV ผู้จัดการ, สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2560 จาก https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/31659.