จากการบริโภคในฐานะกิจกรรม...สู่วัฒนธรรมบริโภค ในฐานะทฤษฎี
คำสำคัญ:
การบริโภค, วัฒนธรรมบริโภค, การสื่อสารบทคัดย่อ
การบริโภคซึ่งเกิดขึ้นเป็นกิจวัตรในชีวิตประจำวันของผู้คน ดูผิวเผิน เสมือนกับจะเป็นเรื่องเล็กน้อยในสายตาของผู้คนทั่วไป แต่ถ้าพิจารณาอย่าง ถ่องแท้ อันที่จริงแล้วมีความซับซ้อนอยู่เบื้องหลังการบริโภค บทความนี้มี จุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอมุมมองการบริโภค ผ่านการย้อนรอยเส้นทางการศึกษา ในช่วงเวลาสำคัญ อันเป็นหมุดหมายที่แสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบและ ความหมายของการบริโภค เริ่มจากคำจำกัดความของการบริโภคในอดีตที่มีนัยถึง กิจกรรมในเชิงลบ จนกระทั่งความหมายของการบริโภคมีความเป็นกลางมากขึ้น ในยุคใหม่ การศึกษาการบริโภคในอังกฤษและอเมริกา ในยุคเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น สังคมบริโภคในเวลาต่อมา แสดงให้เห็นบทบาทและความสำคัญของสื่อมวลชนกับ การโฆษณา รวมทั้งภาพสะท้อนการบริโภค และคุณค่าที่คนในสังคมมีต่อสินค้า และข้าวของในช่วงเวลาดังกล่าว การนำเสนอการบริโภคสมัยใหม่และยุคหลัง สมัยใหม่ รวมทั้งการพยายามวิเคราะห์ปรากฏการณ์บริโภคร่วมสมัยผ่านทฤษฎี วัฒนธรรมบริโภค (consumer culture theory) ซึ่งทำให้เห็นว่า การบริโภคได้ เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมที่มีความเรียบง่ายและดูเป็นธรรมชาติในอดีต กลายเป็น สังคมร่วมสมัยธำรงอยู่โดยมีการบริโภคเป็นศูนย์กลาง ปัจเจกใช้การบริโภคและ ใช้สินค้าเป็นตัวบ่งชี้ถึงเกียรติยศ อัตลักษณ์ และตำแหน่งแห่งที่ของตนในสังคม การบริโภคยังเป็นพื้นที่แห่งการต่อรอง ต่อต้านของผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ อีกด้วย
References
Baudrillard, J. (1998). The Consumer Society Myths and Structures, Thousand Oaks: Sage.
Belk, R. and Sherry, J. (2006), Research in Consumer Behavior Volume 11: Consumer Culture Theory, UK: Emerald Group Publishing.
Bryman, A. (2004), The Disneyization of Society, Thousand Oaks: Sage.
Clarke, D. et al. (2003), The Consumption Reader, New York: Routledge.
Corrigan, P. (1997), The Sociology of Consumption, Thousand Oaks: Sage.
Dunn, R. (2008), Identifying Consumption, Philadelphia: Temple University Press.
Ewen, S. (1976), Captain of Consciousness, New York: McGraw-Hill.
Ewen, S. and Ewen, E. (1982), Channels of Desire, New York: McGraw-Hill.
Featherstone, M. (1991), Consumer Culture and Postmodernism, London: Sage.
Glickman, L. (1999), “Born to Shop? Consumer History and American History”, in L. B. Glickman (ed.), Consumer Society in American History: A Reader, Ithaca: Cornell University Press: 1-14.
Goodman, D. and Cohen, M. (2004), Consumer Culture, Santa Barbara: ABC-Clio.
Harvey, D. (1990), The Condition of Postmodernity, Cambridge: Blackwell.
Jayne, M. (2006), Cities and Consumption, New York: Routledge.
Joy, A. and Li, E. (2012), “Studying Consumption Behaviour through Multiple Lenses: An Overview of Consumer Culture Theory”, Journal of Business Anthropology, 1 spring: 141-173.
Lury, C. (2001), Consumer Culture, Oxford: Polity Press.
Mansvelt, J. (2005), Geographies of Consumption, Thousand Oaks: Sage.
McCracken, G. (1990), Culture and Consumption, Indianapolis: Indiana University Press.
McKendrick, N. et al. (1982), The Birth of a Consumer Society. Bloomington: Indiana University Press.
Miles, S. (1998), Consumerism–As a Way of Life, Thousand Oaks: Sage.
Miller, D. (1987), Material Culture and Mass Consumption, Oxford: Blackwell.
Parmentier, A. and Fischer, E. (2006), “Working to Consume the Model Life: Consumer Agency under Scarcity”, in R. Belk and J. Sherry (eds.), Research in Consumer Behavior Volume 11 Consumer Culture Theory, UK: Emerald: 23-39.
Redclift, M. (1996), Wasted Counting the Costs of Global Consumption, London: Earthscan.
Ritzer, G. (1993), The McDonaldization of Society, Thousand Oaks: Pine Forge Press.
Slater, D. (1997), Consumer Culture & Modernity, Oxford: Polity Press.
Wells, W. et al. (2000), Advertising: Principles and Practice. London: Prentice Hall.
“มานีมีหม้อ”, สืบค้นจาก https://www.facebook.com/maneememore Arnould, E. and Thompson, C. J. (2017), Consumer Culture Theory a Short History of a Young Subdiscipline (Or the Tale of the Rebellious Offspring), retrieved from https://www.researchgate.net/publication/318258513_Consumer_Culture_Theory