ปฐมบทแห่งวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทไทย

ผู้แต่ง

  • พงษ์พันธุ์ กีรติวศิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พนม คลี่ฉายา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วาทกรรม, อำนาจ, ภิกษุณีเถรวาทไทย

บทคัดย่อ

                   พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า พระพุทธศาสนาจะต้องได้รับการค้ำชูจาก พุทธบริษัท 4 ซึ่งได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา หากแต่มีเพียงภิกษุ บริษัทเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากพุทธศาสนาเถรวาทของไทย มีความพยายามที่จะรื้อฟื้นภิกษุณีบริษัทขึ้นในไทยอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรก เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2471 ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ ความพยายามครั้งปัจจุบัน เกิดขึ้นเมื่อ ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ เดินทางไปรับการบรรพชาที่ศรีลังกา และ ประกาศเป็นภิกษุณีเถรวาทรูปแรกของไทย ส่งผลให้กลายเป็นประเด็นร้อน ของสังคมไทย บทความนี้ย้อนกลับไปสำรวจความพยายามรื้อฟื้นภิกษุณีบริษัท ครั้งแรกในสยาม โดยใช้การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์และอำนาจตามแนวคิด ของ Michel Foucault เพื่อศึกษาวาทกรรมและอำนาจในการปิดกั้นการรื้อฟื้น ภิกษุณีและกรอบความรู้ที่เกิดจากวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรมที่เกิด ขึ้นในครั้งนั้น โดยศึกษาจากเอกสารข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในสำนักหอจดหมายเหตุ แห่งชาติ จากการศึกษาพบว่า วาทกรรมปิดกั้นการรื้อฟื้นภิกษุณีบริษัทปรากฏ ภายใต้กรอบความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา บทบาทอำนาจรัฐ และจารีตประเพณี โดยมีอำนาจ 8 อำนาจที่ปะทะกันในครั้งนั้น

References

จามะรี เชียงทอง (2558), “ผี ร่างกายผู้หญิง และโลกาภิวัตน์”, ใน ส. ตันชัยนันท์ (บ.ก.), จิตร ภูมิศักดิ์ และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: พีเพรส.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2552), วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.

ธัมมนันทาภิกษุณี (2547), เรื่องของภิกษุณีสงฆ์, กรุงเทพฯ: ส่องศยาม.

ธาวิต สุขพานิช (2558), “เอกสิทธิ์แห่ง ‘แม่เจ้าเรือน’”, ใน ส. ตันชัยนันท์ (บ.ก.), จิตร ภูมิศักดิ์และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: พีเพรส.

นรินทร์ ภาษิต (2544), แถลงการณ์เรื่อง สามเณรี วัตร์นารีวงศ์, กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2557), ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ ว่าด้วยประเพณี, ความเปลี่ยนแปลง และเรื่องสรรพสาระ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ปรานี วงษ์เทศ (2558), “ผู้หญิงสยาม บทบาทและสถานภาพร่องรอยจากพิธีกรรม ความเชื่อ”, ใน ส. ตันชัยนันท์ (บ.ก.), จิตร ภูมิศักดิ์ และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: พีเพรส.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2556), คนไทยใช่กบเฒ่า? (เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์), กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

ภัทรพร สิริกาญจน (2557), พระพุทธศาสนาในประเทศไทย: เอกภาพในความหลากหลาย, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์ (2558), “ผู้หญิงในสังคมหมู่บ้าน”, ใน ส. ตันชัยนันท์ (บ.ก.), จิตร ภูมิศักดิ์และิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: พีเพรส.

ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา (2536), ชีวิต, แนวคิดและการต่อสู้ของ "นรินทร์กลึง" หรือนรินทร์ภาษิต คนขวางโลก, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

สุชีลา ตันชัยนันท์ (2558), “‘ผู้หญิง’ ในทัศนะ จิตร ภูมิศักดิ์”, ใน ส. ตันชัยนันท์ (บ.ก.), จิตร ภูมิศักดิ์ และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: พีเพรส.

สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา (2558ก), “การวิเคราะห์เรื่องเพศภาวะในสังคมไทย”, ใน ส. ตันชัยนันท์ (บ.ก.), จิตร ภูมิศักดิ์ และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: พีเพรส.

________. (2558ข), “สถานภาพทางสังคมของสตรีไทยในสมัยปฏิรูปประเทศ”, ใน ส. ตันชัยนันท์ (บ.ก.), จิตร ภูมิศักดิ์ และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: พีเพรส.

สำนักหอจดหมายเหตุ. มร. 7 รล ม้วนที่ 31.

อานันท์ กาญจนพันธุ์ (2555), คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา, เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Assvavirulhakarn, P. (2010), The Ascendancy of Theravada Buddhism in Southeast Asia, Chiang Mai: Silkworms Book.

Koret, P. (2012), The Man Who Accused the King of Killing a Fish: The Biography of Narin Phasit of Siam 1874-1950, Chiang Mai: Silkworms Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

13-09-2019