นาฏศิลป์: สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในเวทีประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ญาณิศา บุญประสิทธิ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

                   การวิจัยเรื่อง นาฏศิลป์: สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่วัฒนธรรม ไทยในเวทีประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแนวทางใน การใช้สื่อนาฏศิลป์เพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปสู่อาเซียน ของกระทรวงวัฒนธรรมและวิทยาลัยนาฏศิลป์จันทบุรี และเพื่อศึกษาถึงเหตุผล ที่กระทรวงวัฒนธรรมและวิทยาลัยนาฏศิลป์เลือกใช้สื่อนาฏศิลป์เพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปสู่อาเซียน ในช่วงเดือนมิถุนายน 2556 ถึง มิถุนายน 2557 โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ อันประกอบด้วยการศึกษาจาก เอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและตัวแทน หน่วยงานที่มีส่วนในการจัดเตรียมชุดการแสดงในงานที่เลือกมาเป็นกรณีศึกษา อันได้แก่ ตัวแทนจากกระทรวงวัฒนธรรมและวิทยาลัยนาฏศิลป์ จำนวน 15 คน
                   การศึกษาพบว่า การใช้นาฏศิลป์เป็นสื่อเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ วัฒนธรรมไทยในเวทีประชาคมอาเซียนนั้น จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณา เลือกสรรชุดการแสดงให้มีความหลากหลายและเหมาะสมตามวาระโอกาสของงาน โดยทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนาฏศิลป์ จากกรณีศึกษาในงานวิจัยชิ้นน้ี ทีม ผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาเลือกสรรชุดการแสดงคือ สถาบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ และวิทยาลัยนาฏศิลป์ ซึ่งกลุ่มชุดการแสดงที่ได้รับการเลือกสรรมานั้น จะต้องสามารถถ่ายทอดและประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมความเป็นไทยออกไปได้ อันเป็นการสื่อสารผ่านองค์ประกอบทางการแสดงต่างๆ อาทิ เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การแสดง ดนตรี และลีลาท่าทางการแสดง โดยในแต่ละชุดการแสดงจะมี เอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง จึงสามารถเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ วัฒนธรรมไทยในแง่มุมที่ต่างกันออกไป
                   นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้นาฏศิลป์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาเป็น เครื่องมือในการประชาสัมพันธ์นั้น มีนัยยะที่สามารถสร้างอำนาจการต่อรองในระดับ ชาติให้เกิดขึ้นได้ อันเป็นการสร้างอำนาจการต่อรองในรูปแบบของความน่าเชื่อถือ โดยนำเสนอจุดยืนที่โดดเด่น ผ่านภาพลักษณ์ของศิลปะการแสดงที่มีความวิจิตร ตระการตา องค์ประกอบการแสดงที่มีความประณีต ดังนั้นชุดการแสดงนาฏศิลป์ ที่ถูกคัดสรรมาจัดแสดงภายในงาน จะต้องมีองค์ประกอบในการแสดง อาทิ เครื่อง แต่งกาย เสียงดนตรี ที่สามารถสะท้อนถึงความวิจิตรงดงามและเอกลักษณ์ทาง วัฒนธรรม รวมทั้งสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ของชาติไทยให้มีความโดดเด่นและ น่าภาคภูมิใจ และในขณะเดียวกัน จะต้องมีการผสมผสานชุดการแสดงที่ นำเสนอความเป็นพื้นบ้าน เพื่อสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตและ วัฒนธรรมที่มีความใกล้เคียงกันระหว่างประเทศสมาชิก อันจะนำมาซึ่งความรู้สึก เป็นกันเองและช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างชาติให้เกิดขึ้นได้
                    การศึกษายังชี้ให้เห็นได้ว่า บทบาทและความสำคัญของนาฏศิลป์นั้นยังคง อยู่ แม้ว่ากาลเวลาจะล่วงเลยมาสู่ยุคสังคมออนไลน์ ด้วยเอกลักษณ์และคุณสมบัติ เฉพาะตัวของสื่อนาฏศิลป์ ที่มีส่วนสำคัญในการเป็นแรงผลักดันที่ช่วยขับเคลื่อน ความเป็นชาติให้ยังคงอยู่ในสังคมไทย ประกอบกับประเทศไทยจัดเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีรากเหง้าทางวัฒนธรรม (high context culture) และมีกระบวนการส่งผ่าน เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น บริบทเหล่านี้ยิ่งส่งผลทำให้คนในสังคมให้ คุณค่ากับวัฒนธรรม ประเพณีที่ได้รับการสืบทอดต่อๆ กันมา ซึ่งในกระบวนการ ส่งผ่านเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านชุดการแสดงนาฏศิลป์ที่พบเห็นในงานวิจัยช้ิน นี้นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 เป็นการอนุรักษ์ สืบทอดชุดการแสดงแบบดั้งเดิม รูปแบบที่ 2 เป็นการดัดแปลงรูปแบบการละเล่น พื้นบ้านและยกระดับให้มีความงดงามมีแบบแผนในการแสดงออก รูปแบบที่ 3 เป็น ชุดการแสดงที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ อันแสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมประเพณี เป็นส่ิงที่ถูกประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ หาใช่จะหยุดนิ่งแล้ว ถูกบันทึก สืบทอดต่อๆ กันมาเพียงอย่างเดียว ซึ่งกระบวนการคิดและสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่นี้ ทำขึ้นเพื่อให้นาฏศิลป์มีความสร้างสรรค์ แปลกใหม่ และน่าสนใจสำหรับผู้ดูผู้ชมใน ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ดังนั้นหากพิจารณานาฏศิลป์ในบทบาทของการเป็นสื่อเพื่อการ ประชาสัมพันธ์แล้ว สามารถนับได้ว่านาฏศิลป์เป็นสื่ออีกหนึ่งประเภทที่สามารถ ถ่ายทอดและประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศดังเช่นจากกรณีศึกษา และจากงานวิจัยยัง พบว่า นาฏศิลป์เป็นสื่อที่ต้องผ่านกระบวนการออกแบบและสร้างสรรค์ไม่ต่างจาก สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทอื่นๆ กระบวนการสร้างสรรค์และปรับปรุงชุดการแสดงนาฏศิลป์นี้จัดเป็นกระบวนการออกแบบและปรับปรุงสาร (message design) ให้ มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ในขณะที่กระบวนการคัดสรรชุดการแสดงเพื่อ นำมาจัดแสดงภายในงานนั้น เป็นการพิจารณาแง่มุมและประเด็นเนื้อหาสารท่ี ต้องการจะนำเสนอ กระบวนการเหล่านี้เป็นหนึ่งกระบวนการสำคัญในการดำเนิน งานประชาสัมพันธ์ ที่นักประชาสัมพันธ์จะต้องมีการวางแผนและให้ความสำคัญ รวมทั้งการศึกษาทำความเข้าใจในพฤติกรรมและความสนใจของกลุ่มเป้าหมายท เปลี่ยนไป เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนากระบวนการสื่อสารให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด
               

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2019