การวิเคราะห์อัตลักษณ์ความเป็นชาติ และความเป็นภูมิภาคของกลุ่มประเทศอาเซียน: ศึกษากรณีเฟซบุ๊กแฟนเพจ ASEAN Community

ผู้แต่ง

  • มนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

                  การศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์อัตลักษณ์ความเป็นชาติและความเป็นภูมิภาค ของกลุ่มประเทศอาเซียน: ศึกษากรณีเฟซบุ๊กแฟนเพจ ASEAN Community มาจากคำถามนำวิจัยที่ว่า “การประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นหนึ่งเดียวของ อาเซียนบนพื้นที่เฟซบุ๊กแฟนเพจจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร” โดยงานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งศึกษาอัตลักษณ์และกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ที่สามารถเลื่อนไหลได้ (identity as a process of production) โดยเลือกศึกษาบนพื้นที่โลกเสมือน (virtual sphere) คือ เฟซบุ๊กแฟนเพจ ASEAN Community โดยมีเครื่องหมายบ่งบอกอัตลักษณ์ (identity maker) 3 ส่วนที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดผล ดังนี้ (1) หน้าที่ของเนื้อหาที่นำ เสนอ 6 มิติ ได้แก่ การให้ข้อมูลทั่วไป การให้ข้อมูลการศึกษา การสะท้อนประเด็น สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมสัมพันธภาพ การนำเสนอข่าวสารทางธุรกิจ และการ เสริมสร้างความเข้าใจทางวัฒนธรรม (2) การไหลเลื่อนของการทำหน้าที่ของเนื้อหา ภายใต้ 4 เหตุการณ์ ได้แก่ ตัวแทนของเหตุการณ์สำคัญทั่วไป 2 เหตุการณ์ ประกอบ ด้วย เหตุการณ์กีฬาซีเกมส์ 2014 สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และเหตุการณ์ เฉลิมฉลองวันมหาสงกรานต์ และตัวแทนของเหตุการณ์ภัยพิบัติ 2 เหตุการณ์ ประกอบด้วย เหตุการณ์วาตภัยจากไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และ เหตุการณ์มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่เอ็มเอช 370 เพื่ออธิบาย (3) ความแตกต่าง ระหว่างอัตลักษณ์ที่หลากหลาย (identities) ของแต่ละประเทศ กับอัตลักษณ์แบบ เป็นหนึ่งเดียว (identity) ของภูมิภาคประชาคมอาเซียนต่อนโยบายการสร้างอัตลักษณ์ เพียงหนึ่งเดียวบนพื้นที่โลกเสมือนเฟซบุ๊กแฟนเพจ ASEAN Community 
                   จากข้อค้นพบสรุปว่า อัตลักษณ์ความเป็นภูมิภาค หรืออัตลักษณ์อาเซียน สามารถเกิดขึ้นได้จริง แต่ดำรงไปพร้อมกับอัตลักษณ์ความเป็นชาติที่ยังคงทำงานควบคู่กันไป แต่เป็นรูปแบบที่ค่อยเป็นค่อยไป และปรับเปลี่ยนตามบทบาทที่แต่ละประเทศให้น้ำหนักไว้ตรงอัตลักษณ์ใดภายใต้บริบทไหน เนื่องจากอัตลักษณ์มีความ ไหลลื่นและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทและสถานการณ์ที่สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ การใช้อัตลักษณ์ความเป็นภูมิภาคเป็นการ ลดทอนแรงเสียดทาน และลดการปะทะจากการแข่งขันระหว่างกัน จึงเป็นกลไก สำคัญในการทำงานร่วมกัน สื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กแฟนเพจได้ทำหน้าที่ลดความ สำคัญของพรมแดนทางกายภาพลง (deterritorialization) เพื่อสร้างจัดระบบ อาณาเขตทางพื้นที่ใหม่ (reterritorialization) กระบวนการดังกล่าวจึงมีผลต่อ การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่เหมาะสมกับช่วงเวลาและสถาน- การณ์นั้นๆ “อัตลักษณ์อาเซียน” จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่าชาวอาเซียน จะสามารถยอมรับความแตกต่างของกันและกัน และเข้าใจได้ว่าความแตกต่างคือ ความกลมกลืนที่เป็นอัตลักษณ์อาเซียนที่อยู่ในรูปแบบของความเป็นพหุวัฒนธรรม (multiculturalism) ที่ต้องอาศัยและขับเคลื่อนไปด้วยกัน

เผยแพร่แล้ว

07-10-2019