การประเมินผลความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และทักษะ การสื่อสารเรื่องเพศในสังคมไทย: บทสังเคราะห์ จากความคิดเห็นของลูกหลานวัยรุ่นและผู้ปกครอง

ผู้แต่ง

  • ประไพพิศ มุทิตาเจริญ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นิธิดา แสงสิงแก้ว คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

                  บทความชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งจากผลการศึกษาวิจัยใน โครงการประเมิน ผลกระบวนการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและทักษะการ สื่อสารเรื่องเพศของผู้ปกครองกับลูกหลานวัยรุ่น ซึ่งเป็นโครงการประเมินผลการ จัดพื้นที่การเรียนรู้ต่อเนื่องให้กับผู้ปกครองในการพูดคุยกับลูกหลานวัยรุ่นเรื่อง เพศ โดยที่มาของโครงการมาจากแนวคิดการดำเนินงานเรื่อง “การคุยกับลูก เรื่องเพศของพ่อแม่” ซึ่งเป็นแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิตร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อศึกษารูปแบบของการจัดพื้นที่การเรียนรู้ให้กับพ่อแม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยพบว่า จะต้องมีการจัดการในลักษณะพื้นที่การเรียนรู้ต่อเนื่อง (continuous program) มากกว่าที่จะเป็นการฝึกอบรมเพียงครั้งเดียว (one-shot training) การ ออกแบบโครงการประเมินผลในครั้งนี้ จึงอยู่บนพื้นฐานการประเมินการอบรม ในรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในพื้นที่ “ต่อเนื่อง” โดยเปิดโอกาสให้พื้นที่ตัวอย่าง ได้แก่ (1) อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี (2) อำเภอพร้าว จังหวัด เชียงใหม่ และ (3) อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จัดพื้นที่เรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย โดยการประเมินผลมุ่งเน้นไปที่การศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และทักษะการสื่อสารเรื่องเพศของพ่อแม่กับลูกหลานวัยรุ่น โดยเฉพาะในส่วนของการประเมินผู้ปกครอง รวมทั้งการตรวจสอบทัศนคติและ ความคิดเห็นของลูกวัยรุ่นภายหลังจากที่พ่อแม่ได้นำองค์ความรู้จากการอบรม ไปทดลองใช้ 
                  บทความนี้ชี้ให้เห็นผลการประเมินในส่วนของลูกหลานวัยรุ่น ส่วนใหญ่ คิดว่าผู้ปกครองไม่ได้มีทัศนคติต่อการคุยเรื่องเพศดีขึ้น แม้ว่าจะผ่านการอบรม มาแล้ว โดยถึงแม้จะรู้สึกได้ว่ามีการเปิดประเด็นเรื่องเพศบ่อยขึ้น แต่ท่าทีใน การพูดคุยยังเป็นเชิงลบ เช่น การสอน การห้าม การดุ มากกว่าความพยายาม ที่จะสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนอย่างเสรี ในขณะที่ผู้ปกครองถึงแม้จะรู้สึกว่าตนเอง กล้าพูดเรื่องเพศมากขึ้น ทว่า ยังไม่ปรากฏคุณภาพของเนื้อหาในการพูดคุย เรื่องเพศที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยังไม่สามารถก้าวข้ามมายา คติบางชุดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศที่ฝังอยู่ในสังคมไทย ซึ่งยังเป็นอุปสรรคต่อการ สื่อสารเรื่องเพศกับวัยรุ่น บทความนี้เสนอแนะต่อผู้เกี่ยวข้องในการพิจารณาปรับ ขอบเขตเนื้อหาการอบรมพ่อแม่ ที่ควรเน้นทักษะการสื่อสารเพื่อการจัดการความ สัมพันธ์ในครอบครัวและพิจารณาทางเลือกอื่นๆ ในการเรียนรู้เรื่องเพศของวัยรุ่น ควบคู่ไปกับช่องทางการฝึกอบรมพ่อแม่ เพื่อจัดพื้นที่การเรียนรู้เรื่องเพศอย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2019