ประเทศไทยในภาพยนตร์ต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

                   บทความนี้มีที่มาจากข้อสงสัยในประเด็นที่ว่าภาพยนตร์ต่างประเทศได้นำ เสนอภาพของประเทศไทยเอาไว้อย่างไรบ้าง ซึ่งการศึกษาจะมุ่งตอบคำถามใน 3 ประเด็นหลักอันได้แก่ (1) ภาพยนตร์ต่างประเทศได้สะท้อนภาพหรือสร้าง ภาพลักษณ์ให้แก่ประเทศไทยอย่างไร (2) การนำเสนอภาพประเทศไทยในภาพยนตร์ ต่างประเทศส่งผลอย่างไรต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน แง่มุมการท่องเที่ยว และ (3) ภาพประเทศไทยในภาพยนตร์ต่างประเทศ มี ความเจือปนด้วยแนวคิดหรือมุมมองแบบใด จากคำถามแรกพบว่า ภาพยนตร์ ต่างประเทศได้นำเสนอภาพของประเทศไทยไปในทิศทางที่ออกไปในเชิงลบ เช่น การแสดงภาพของอาชญากรรม การค้าประเวณี และยาเสพติด รวมไปถึงการนำ เสนอข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี และสภาพภูมิศาสตร์ที่คลาดเคลื่อนจาก ความเป็นจริง ซึ่งนำมาสู่การตั้งคำถามที่น่าสนใจว่า ภาพยนตร์ควรนำเสนอความ เป็นจริงในระดับใด ประเด็นถัดมาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จากการศึกษาทำให้ เห็นว่า ภาพลักษณ์ของการเป็นประเทศอุตสาหกรรมทางเพศของประเทศไทยที่ ถูกสื่อสารผ่านทางสื่อมวลชนอย่างภาพยนตร์ ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความ น่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ความปลอดภัยของประเทศ ในทางกลับกัน การที่สื่อ ภาพยนตร์นำเสนอภาพของประเทศในเชิงบวกก็จะช่วยส่งเสริมรายได้ในภาค อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ดังตัวอย่างของภาพยนตร์เรื่อง Lost in Thailand ที่สร้าง ปรากฏการณ์ให้นักท่องเที่ยวชาวจีนหลั่งไหลเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยกว่า 3 ล้านคน ในประเด็นคำถามสุดท้ายนั้นจะมุ่งตรวจสอบว่า ภาพของประเทศไทยที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ต่างประเทศนั้น ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดหรืออำนาจ ในแบบใด โดยแนวคิดที่จะนำมาใช้อธิบายคือ แนวคิดตะวันออกนิยม (Orientalism) ซึ่งเป็นมุมมองที่จะช่วยในการสำรวจและทำความเข้าใจวิธีการของชาวตะวันตก ในการมองชาวตะวันออก ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ การมองประเทศไทยในฐานะของ ความเป็นอื่น ในขณะเดียวกัน ก็อาจนำมาสู่ข้อถกเถียงที่น่าสนใจว่าชาวตะวัน ออกมองชาวตะวันออกด้วยกันเองอย่างไร (จากกรณีของภาพยนตร์เรื่อง Lost in Thailand) มีความเหมือนและ/หรือความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เมื่อเปรียบ เทียบกับวิธีการมองของชาติตะวันตก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2019