บทเรียนของสื่อสถาบันในการรายงานเหตุการณ์การกู้ภัย นักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอน: ทีมหมูป่าอะคาเดมีติด ในถ้ำวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • รุจน์ โกมลบุตร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ข่าว, การรายงานข่าว, สื่อสถาบัน, ภัยพิบัติ, จริยธรรมสื่อ

บทคัดย่อ

                บทความเรื่อง “บทเรียนของสื่อสถาบันในการรายงานเหตุการณ์การ กู้ภัยนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอน: ทีมหมูป่าอะคาเดมีติดในถ้ำวนอุทยาน ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย” พัฒนามาจากงานวิจัยชื่อเรื่องเดียวกัน บทความนี้จะอธิบายถึงการทำหน้าที่ที่เป็นจุดเด่น การทำหน้าที่ที่ควรพัฒนา และ การทำหน้าที่ที่เป็นข้อถกเถียงของสื่อสถาบันในการรายงานเรื่องการกู้ภัยทีม นักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอน (หมูป่าฯ) จากถ้ำหลวง ซึ่งสามารถนำไปใช้ใน การพัฒนาการทำงานของสื่อในอนาคตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
                การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิดเรื่องสิทธิเด็ก สิทธิ ผู้ป่วย แนวคิดเรื่องจริยธรรมสื่อ การรายงานข่าวภัยพิบัติ และแนวคิดเรื่อง ธุรกิจสื่อด้านงานข่าว การวิจัยดังกล่าวได้สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นการใช้กลุ่ม ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 23 คน ได้แก่ ผู้สื่อข่าว บรรณาธิการ และผู้ประกอบการสื่อสถาบัน จำนวน 11 คน กรรมการสมาคม วิชาชีพสื่อ จำนวน 3 คน ทีมศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยาน ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จำนวน 3 คน ผู้ปกครองหมูป่าฯ จำนวน 2 คน และ ผู้เชี่ยวชาญด้านเยาวชน กฎหมาย และสื่อ 4 คน ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
                การศึกษาพบว่า จุดเด่นในการทำหน้าที่ของสื่อสถาบันส่วนมากคือ การ ปฏิบัติตามกฎกติกาการทำงานสนาม การตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนการรายงาน ข่าว และการนำเสนอที่ใช้กราฟิก ทำให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น และหลีกเลี่ยงการนำเสนอเนื้อหาบางอย่าง เพื่อรักษาสิทธิ์ของผู้ป่วย หรือเพื่อไม่ ให้กระทบความรู้สึกผู้ปกครองของหมูป่าฯ ส่วนการทำหน้าที่ที่ควรพัฒนาของสื่อ ซึ่งเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับสื่อทั้งหมด ได้แก่ การทำหน้าที่กับแหล่งข่าวอย่าง ไม่เหมาะสม การไม่ปฏิบัติตามกฎกติกาการทำงานสนาม การรายงานข่าวที่เน้น ความเร็วมากกว่าความถูกต้องแม่นยำ และการนำเสนอเนื้อหาที่เร้าอารมณ์
                สำหรับการทำหน้าที่ที่เป็นข้อถกเถียงของสื่อสถาบัน ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง มีความเห็นไม่ตรงกัน ได้แก่ สื่อควรเปิดเผยเอกลักษณ์ (identification) ของ หมูป่าฯ หรือไม่ อย่างไร การที่เจ้าหน้าที่รัฐจัดโซนนิงให้สื่อ และเสรีภาพของ สื่อในการทำหน้าที่ ควรจะจัดการให้สมดุลได้อย่างไร สื่อสามารถมีอารมณ์ร่วม ในการรายงานข่าวได้หรือไม่ อย่างไร และสถานีโทรทัศน์ควรล้มผังรายการเพื่อ ถ่ายทอดสดเหตุการณ์วิกฤติหรือไม่ อย่างไร
               ข้อเสนอแนะคือ (1) การส่งเสริมให้ผู้สื่อข่าวภาคสนามใช้ระบบ “เพื่อน เตือนเพื่อน” เพื่อตักเตือนกันในเรื่องกติกาการทำงาน (2) องค์กรสื่อ ควรใช้กลไก กำกับและตรวจสอบจริยธรรมของผู้สื่อข่าวในเชิงรุก และควรพัฒนาวัฒนธรรม องค์กรในการให้ความสำคัญการนำเสนอข่าวที่ถูกต้องมากกว่าความรวดเร็ว (3) สมาคมวิชาชีพสื่อควรพัฒนาบทบาทให้เป็นที่ยอมรับของสมาชิกให้มากขึ้น (4) หน่วยงานรัฐควรสรุปบทเรียนการกำกับดูแลสื่อในสถานการณ์วิกฤติ และพึง ระมัดระวังการกำหนดกติกาให้ไม่ละเมิดเสรีภาพสื่อจนเกินจำเป็น และ (5) ผู้บริโภค/ ภาคประชาสังคม ควรพัฒนากระบวนการติดตาม ตรวจสอบ และการแสดง ความเห็นต่อสื่อ ให้มีความเที่ยงตรง แม่นยำ และไม่สร้างความเกลียดชังต่อกัน เพื่อทำให้สื่อให้คุณค่ากับเสียงของประชาชนให้มากขึ้น

References

กรรณิกา รุ่งเจริญพงษ์ (2558), “ธุรกิจข่าว”, ใน สมสุข หินวิมาน และคณะ (บ.ก.), ธุรกิจสื่อสารมวลชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ (2554), “หลากหลายกระบวนทัศน์ในการศึกษาเรื่อง “เด็กกับการสื่อสาร””, ใน กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (บ.ก.), ผู้คนที่หลากหลายในการสื่อสาร: เด็ก สตรีและผู้สูงวัย, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

เกษม ศิริสัมพันธ์ (2546), “การควบคุมกันเองของสื่อมวลชน: ความเป็นไปได้ในสังคมไทย เสรีภาพจริยธรรม ความรับผิดชอบ”, หนังสือที่ระลึกครบรอบ 6 ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, กรุงเทพฯ: สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.

นันทกร อภิชาตนนท์ (2552), การจัดการสื่อสารในภาวะวิกฤติช่วงปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), วิทยานิพนธ์ปริญญา วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

น้ำทิพย์ วิภาริน (2547), การจัดการความรู้กับคลังความรู้, กรุงเทพฯ: เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

บุญดี บุญญากิจ และคณะ (2547), การจัดการความรู้…จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ, กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส.

ปรางทิพย์ ดาวเรือง (2558), เด็กคลุมโม่ง, กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

พรทิพย์ กาญจนนิตย และคณะ (2546), การจัดการความรู้, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พรธิดา วิเชียรปัญญา (2547), การจัดการความรู้: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้, กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.

พัฐสุดา วังกุลางกร (2553), กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภายใต้ภาวะวิกฤติการเมือง, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขา สื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนัสวี แสงวิเชียรกิจ (2554), การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรณีศึกษา: วิกฤติมหาอุทกภัย 2554, สารนิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตร-บัณฑิต สาขาประชาสัมพันธ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

มาลี บุญศิริพันธ์ (2555), “คู่มือการรายงานข่าววิกฤติและภัยพิบัติธรรมชาติ”, ใน มาลี บุญศิริพันธ์ และคณะ (บ.ก.), คู่มือการรายงานข่าวภัยพิบัติธรรมชาติ, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ยุทธนา แซ่เตียว (2547), การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้: สร้างองค์กรอัจฉริยะ, กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.

วิรัช ลภิรัตนกุล (2549), กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติ และการบริหารภาวะวิกฤติ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศากุน บางกระ (2556), การนำเสนอเรื่องเด็กและเยาวชนตามแนวคิดอนุสัญญาสิทธิเด็กในส่วนไลฟ์สไตล์ ของหนังสือพิมพ์รายวัน ศึกษาเฉพาะกรณีเซคชั่นจุดประกาย หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ, สารนิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรบัณฑิต สาขาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมคิด บางโม (2551), กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน, กรุงเทพฯ: เอส เค บุ๊คส์.

สุทธิวรรณ ตัญญพงศ์ปรัชญ์ (2540), การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเด็กในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวัน, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวารสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภา ศิริมานนท์ (2530), จริยธรรมของหนังสือพิมพ์, กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ.

สุภาภรณ์ อัษฎมงคล (2550), ทำข่าวอย่างไร? ไม่ให้ละเมิดสิทธิเด็ก, ม.ป.ท.

เสริมศิริ นิลดำ (2555), “ทำข่าวในสถานการณ์ภัยพิบัติอย่างไรถึงจะมีคุณค่าและไม่เร้าอารมณ์”, ในมาลี บุญศิริพันธ์ และคณะ (บ.ก.), คู่มือการรายงานข่าวภัยพิบัติธรรมชาติ, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กรมองค์การระหว่างประเทศ, กระทรวงการต่างประเทศ (ม.ป.ป.), อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก, สืบค้น เมื่อ 5 สิงหาคม 2561 จาก

https://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/crct.pdf.

กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ม.ป.ป.), อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก, สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม2561 จาก

https://www.unicef.org/thailand/tha/overview_5954.htm.

ข่าวชัดออนไลน์ (2561), สำนักข่าวชื่อดัง? ยอมรับและขอโทษ บินโดรนตาม เฮลิคอปเตอร์ หน้าถ้ำหลวง, สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2562 จาก

https://www.khaochad.com/211900?r=1&width=1280.

ไทยพีบีเอส (2561), รวมช็อตการรายงานข่าวภารกิจกู้ภัยถ้ำหลวงจากผู้สื่อข่าว Thai PBS, สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2562

จาก https://twitter.com/thaipbs/status/1017937041563189248.

ไทยรัฐออนไลน์ (2561), ภาพรวมปฏิบัติการช่วย 13 ชีวิต, สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2562

จาก https://www.thairath.co.th/clip/229958.

บีบีซี (2561), ถ้ำหลวง: เคลียร์พื้นที่หน้าถ้ำวันนี้-เปิดทางนำทีมหมูป่าออกจากถ้ำ, สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2562

จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-44755209.

ไบรท์ทีวี (2561), ชาวเน็ตสงสัย! ร่มยักษ์ที่กางให้หมูป่าคือร่มอะไร, สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2562

จาก https://www.brighttv.co.th/bright-news/241244.

ผู้จัดการออนไลน์ (2561), “ผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์” แถลงปิดภารกิจ ยก “จ่าแซม” เป็น “วีรบุรุษถ้ำหลวง” เล็งเปิดพิพิธภัณฑ์ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ชมพระเอกครั้งนี้คือ “คนทั้ง โลก”, สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2562

จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000068774.

แพทยสภา (ม.ป.ป.), คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย, สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2561

จาก https://tmc.or.th/file_download/declaration.pdf.

โพสต์ทูเดย์ (2561), เชียงรายตั้งทีมสหวิชาชีพติดตามดูแล “ทีมหมูป่า”, สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562

จาก https://www.posttoday.com/social/local/558359.

กฤติมา ประทุมชาติภักดี, สัมภาษณ์ 5 มกราคม และ 24 เมษายน 2562

โกศล สงเนียม, สัมภาษณ์ 2 เมษายน และ 8 พฤษภาคม 2562

เข็มพร วิรุณราพันธ์, สัมภาษณ์ 7 มกราคม และ 10 พฤษภาคม 2562

คณาธิป ทองรวีวงศ์, สัมภาษณ์ 20 ตุลาคม 2561, 10 พฤษภาคม, 13 พฤษภาคม และ 19 มิถุนายน 2562

จิราพร คำภาพันธ์, สัมภาษณ์ 12 มกราคม และ 3 พฤษภาคม 2562

จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง, สัมภาษณ์ 23 เมษายน และ 15 พฤษภาคม 2562

ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร, สัมภาษณ์ 4 มกราคม 2562

ดำรงเกียรติ มาลา, สัมภาษณ์ 11 มีนาคม และ 11 พฤษภาคม 2562

ดำฤทธิ์ วิริยะกุล, สัมภาษณ์ 8 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน 2562

นพรัตน์ กันทะวงค์, สัมภาษณ์วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 และ 1 พฤษภาคม 2562

นฤพล อาจหาญ, สัมภาษณ์ 14 มกราคม และ 14 พฤษภาคม 2562

เบญจพจน์ ทิพย์กมลแสง, สัมภาษณ์ 18 ธันวาคม 2561 และ 3 พฤษภาคม 2562

ปรินดา คุ้มธรรมพินิจ, สัมภาษณ์ 28 มีนาคม และ 13 พฤษภาคม 2562

ผู้ปกครองทีมหมูป่าฯ 2 คน (ปกปิดชื่อ), สัมภาษณ์ 9 พฤศจิกายน 2561

พรรษาสิริ กุหลาบ, สัมภาษณ์ 24 ตุลาคม 2561 และ 30 เมษายน 2562

พรทิพย์ โม่งใหญ่, สัมภาษณ์ 17 มกราคม และ 1 พฤษภาคม 2562

ภูดิส กิติสถาพร, สัมภาษณ์ 5 มกราคม และ 24 เมษายน 2562

วรวรรธน์ ขุนทอง, สัมภาษณ์ 4 เมษายน และ 20 มิถุนายน 2562

ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ, สัมภาษณ์ 8 พฤศจิกายน 2561 และ 11 พฤษภาคม 2562

สุภิญญา กลางณรงค์, สัมภาษณ์ 18 มีนาคม และ 9 พฤษภาคม 2562

สุริยเดว ทรีปาตี, สัมภาษณ์ 27 พฤศจิกายน 2561 และ 10 พฤษภาคม 2562

อนุพนธ์ ศักดิ์ดา, สัมภาษณ์ 23 มกราคม และ 31 พฤษภาคม 2562

อาภากร อยู่คงแก้ว, พลเรือตรี, สัมภาษณ์ 12 ธันวาคม 2561 และ 10 พฤษภาคม 2562

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-05-2020