พื้นที่การแสดงออกต่อข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงใน เฟซบุ๊กแฟนเพจประเภทข่าว
คำสำคัญ:
เฟซบุ๊กแฟนเพจ, สื่อและความรุนแรง, พื้นที่สาธารณะ, พื้นที่ไซเบอร์กับความจริงเสมือนบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “พื้นที่การแสดงออกต่อข่าวเกี่ยวกับความรุนแรง ในเฟซบุ๊กแฟนเพจประเภทข่าว” ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) เพื่อศึกษาลักษณะการนำเสนอเนื้อหาความรุนแรงในเครือข่ายสังคม ออนไลน์เฟซบุ๊กแฟนเพจประเภทข่าว โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ของคลิปข่าวและข่าวประเภทข้อเขียน รวมทั้งการแสดงความคิดเห็น (comments) ที่ปรากฏในเครือข่ายสังคม จำนวน 5 แฟนเพจ ได้แก่ เดลินิวส์ อีจัน ไทยรัฐ ไบรท์ทีวี 20 และ ข่าวช่อง 8 รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคล ผู้ติดตามข่าวความรุนแรง นักวิชาการสื่อ และนักจิตวิทยา เพื่อศึกษาความคิดเห็น ต่อพฤติกรรมความรุนแรง
จากผลการวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาเครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กแฟนเพจประเภทข่าว พบว่า ในส่วนรูปแบบการนำเสนอและเนื้อหาของ สื่อที่นำคลิปข่าวหรือข่าวมานำเสนอนั้น มี 4 เรื่อง เป็นการนำเสนอที่มีทั้งการ นำภาพและเสียงจากเหตุการณ์จริงมานำเสนอทั้งหมด และมี 1 เรื่องที่เป็นการ นำไปสร้างเป็นคลิปขึ้นมาใหม่ โดยใส่เสียงบรรยาย และข้อความประกอบเพื่อ เล่าเหตุการณ์ความรุนแรง นอกจากนี้ การนำเสนอข่าวประกอบของสื่อ ไม่ว่า จะเป็นลักษณะการบรรยายของผู้ประกาศข่าว หรือการเขียนเป็นข้อความข่าว เน้นการนำเสนอรายละเอียดของเหตุการณ์เพื่อสื่อให้เห็นภาพที่ใกล้เคียง เหตุการณ์จริงมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่า สื่อมีเป้าหมายที่จะสื่อสาร “ภาพจำลอง” ที่ใกล้เคียงภาพและเสียงจริงเหตุการณ์ให้มากที่สุด และการที่สื่อนำมาเผยแพร่ บนช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ซึ่งเป็นช่องทางออนไลน์ที่เปิดให้มีการสื่อสารสองทาง และหลายทางได้ทั้งระหว่างสื่อและผู้ใช้สื่อนั้นด้วยกันเอง แสดงให้เห็นเป้าหมาย ของการที่สื่อต้องการสร้างพื้นที่สาธารณะในการแสดงออกทางความคิดเห็นของ ผู้คนในสังคม ต่อการกระทำความรุนแรงและผู้กระทำความรุนแรง ตลอดจน ผู้ที่เป็นเหยื่อของการกระทำความรุนแรงนั้นด้วย
การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ใช้สื่อหรือ “คอมเมนต์” นั้น พบว่า ความ คิดเห็นส่วนใหญ่เป็นการตำหนิการกระทำความรุนแรง อย่างไรก็ตาม มีส่วนหนึ่ง ที่เสนอแนะทางออกแก่ผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรง ประเด็นที่น่าสนใจคือ การแสดง ความคิดเห็น มักเป็นการใช้ภาษาที่รุนแรง สื่อถึงอารมณ์เชิงลบเป็นส่วนมาก ทำให้ พื้นที่สาธารณะในส่วนนี้ เป็นพื้นที่การแสดงออกทางอารมณ์เชิงลบ ซึ่งเป็นการ กระทำความรุนแรงด้วยการใช้ภาษาต่อผู้ที่อยู่ในข่าว ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำความ รุนแรง ผู้ถูกกระทำความรุนแรง และอาจรวมไปถึงผู้เกี่ยวข้อง เช่น ญาติ พี่น้อง ของผู้กระทำและถูกกระทำ
จากผลการวิจัยในส่วนของความคิดเห็นของกลุ่มผู้ติดตาม นักวิชาการ ด้านจิตวิทยา และนักวิชาการด้านสื่อและการสื่อสาร มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ต่อพื้นที่การแสดงออกต่อความรุนแรงในเฟซบุ๊กแฟนเพจประเภทข่าว สามารถ สรุปได้ว่า พื้นที่การนำเสนอข่าวของสื่อและการแสดงความเห็นของผู้ใช้สื่อหรือ ติดตามสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจประเภทข่าวนั้น เป็นพื้นที่สาธารณะอย่างหนึ่งที่สมาชิกใน สังคม ซึ่งในที่นี้คือ ผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อย่างเสรีในประเด็นปัญหาทางสังคม ซึ่งในที่นี่คือ ความรุนแรง อย่างไรก็ตาม การแสดงออกดังกล่าวเป็นลักษณะที่ประกอบด้วยอารมณ์และความรู้สึก ตลอดจน คำพูดที่รุนแรง ต่อผู้ที่อยู่ในข่าวทั้งที่เป็นผู้กระทำความรุนแรงและผู้ที่ถูกกระทำ ความรุนแรง จนทำให้เหมือนเป็นการซ้ำเติมหรือเพิ่มระดับความรุนแรงให้กับ เนื้อหาข่าวนั้น ทั้งนี้ การแสดงความเห็นเป็นไปในลักษณะการทำตามความเห็น กลุ่มหรือเกิดจากอิทธิพลกลุ่มเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดการระราน หรือการแสดงออกทางอารมณ์ที่รุนแรงต่อกันได้ ประกอบกับพื้นที่ในโลกเสมือน จริง ทำให้ง่ายต่อการแสดงออก และไม่ทราบตัวตน ต่างจากการสื่อสารแบบเห็น หน้าค่าตา ดังนั้น การแสดงออกทางอารมณ์ การใช้ภาษา และความรุนแรงทาง ความคิดจึงเกิดขึ้นได้ง่าย และเป็นการกระทำที่ตามๆ กันไป หรือการเลียนแบบ ทางการแสดงอารมณ์และความคิดนั่นเอง ดังนั้น ผู้ใช้สื่อจึงควรต้องตระหนักและ รู้เท่าทัน พร้อมใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์ ก่อนที่จะตัดสินใจแสดงออกใดๆ
References
กาญจนา แก้วเทพ (2547), สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา, กรุงเทพฯ: แบรนด์เอจ.
จิรัฏฐ์ ศุภการ (2545), การอธิบายตัวตนในชุมชนเสมือนจริง, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวิตรา ตันติมาลา (2560), “พื้นที่สาธารณะและการผลิตพื้นที่: ความหมายใหม่ของความสัมพันธ์ทางสังคม”, วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 10(1).
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2558), “เครือข่ายสังคมในสังคมเครือข่าย = Social Network in a Networked Society”, วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 8(2): 119-127.
พีระ จิระโสภณ (2548), “ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน”, ใน เอกสารสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสาโล (2556), “เครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณี เฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน”, วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(4).
ศุนิสา ทดลา (2542), รูปแบบพฤติกรรมการสื่อสารในห้องสนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (2559), ทฤษฎีการสื่อสาร, กรุงเทพฯ: ระเบียงทอง
อรอนงค์ อินทรวิจิตร และนรินทร์ กรินชัย (2542), ผู้หญิงและเด็ก: เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว,กรุงเทพฯ: ปกเกล้าการพิมพ์.
อังคณา ศิริอำพันธ์กุล (2561), “ภาวะซึมเศร้ากับพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียล”, วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10 (พิเศษ): บทนำ.
เอมิกา เหมมินทร์ (2556), “พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร”, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 9-10(16-17).
Autamachan, W. (2001), Social Media Reform Main Ideas and Lessons from Other Countries, Bangkok: Faculty of Arts, Chulalongkorn University.
Deuze, M. (2003). “The Web and its Journalism: Considering the Consequence of Different Types of Newsmedia Online”, New Media & Society Journal, 5: 203-230.
Dye, T. (1992), Understanding Public Policy, NJ: Prentice Hall.
Feshbach, S. and Singer, R. (1971), Television and Aggression, San Francisco: Jossey-Bass.
Heim, M. (1998), Virtual Realism, Oxford: Oxford University Press.
Jackson, J. (1984), Discovering the Vernacular Landscape, New Haven, CT: Yale University Press.
McConnell, B. and Huba, J. (2003), Creating Customer Evangelists: How Loyal Customers Become a Volunteer Sales force, Chicago: Dearborn Trade Publishers.
Morgan, M. (2009), “Cultivation Analysis and Media Effects”, The Sage Handbook of Media Processes and Effects, London: Sage.
Newman, N. (2009), The Rise of Social Media and Its Impact on Mainstream Journalism,Reuters Institute for the Study of Journalism, Department of Politics and International Relations, University of Oxford.
Pearntum, C. (1999), Establishment of City: City Political Community and Civil Society, Bangkok: Grassroots Development Institute.
Rieger, O. (2010), “Framing Digital Humanities: The Role of New Media in Humanities Scholarship”, First Monday, 15(10).
Skoler, M. (2009), “Why the News Media Became Irrelevant--And How Social Media Can Help”, Nieman Reports The Nieman Foundation For Journalism At Harvard University, 63(3).
ขจรจิต บุนนาค (2544), ความขัดแย้ง VS ความรุนแรง, สืบค้นจาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_11/pdf/aw21.pdf.
ข่าวช่อง 8 (2562), สามีทำร้ายภรรยา กระชากหัวลากขึ้นรถ ล่าสุดภรรยาเสียชีวิตแล้ว, สืบค้นจาก
https://www.facebook.com/669573866424208/posts/2076667282381519? sfns=mo
เดลินิวส์ (2562), หนุ่มรับเหมาน้อยใจแฟนสาว ปืนจ่อขมับยิงตัวดับคาบ้าน, สืบค้นจาก
https://www.dailynews.co.th/crime/687446
ไทยรัฐออนไลน์ (2562), แฟนหนุ่มโหด ทำร้ายร่างกาย: สาวสุดอั้น ถูกแฟนหนุ่ม ทำร้ายร่างกาย เตะ ต่อย แถมถ่มน้ำลายใส่หน้า, สืบค้นจาก https://web.facebook.com/thairath/videos/vb.146406732438/472599409936556/?type=2&theater
ไบรท์ ทีวี (2562), หนุ่มยิ้มระรื่น “บีบคอแฟน” ลงเฟซบุ๊ก ซ้ำขู่ปล่อยคลิปโป๊ประจาน, สืบค้นจาก https://www.brighttv.co.th/hot-clip/358076
ปณชัย อารีเพิ่มพร (2561), สรุปข้อมูลโซเชียลมีเดียไทยปี 2017 วัยรุ่นหนีพ่อแม่มาเล่นทวิตเตอร์
มากขึ้น เฟซบุ๊กแตะ 49 ล้านราย อันดับ 8 โลก, สืบค้นจาก https://thestandard.co/thailand-social-media-statistics-2017/
สำนักข่าวทีนิวส์ (2562), สาวไลฟ์สด ตำหนิร้านทำเล็บชื่อดัง ก่อนถูกพนักงานตบกลางร้าน, สืบค้น
จาก https://www.77jowo.com/contents/129329
อีจัน (2562), รักเเล้ว ทำไมต้องฆ่า?, สืบค้นจาก https://web.facebook.com/ejan2016/videos/
vb.634784363349240/352304042292229/?type=2&theater
Gibson, W. (1984), Neuromancer, retrieved from https://storylog.co/story/57f379c0fa1963e762872493
Wanapitak, W. (2011), Critical Theory of Jurgen Habermas: Political Public Sphere and Freedom on the Internet, retrieved from https://www.oknation.net/blog/print. php?id=728311