ผลลัพธ์การสร้างนักสื่อสารชุมชนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การประเมินผล, นักสื่อสารชุมชน, ป่าชายเลน, การสื่อสารบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการสร้างนักสื่อสาร ชุมชนท้องถิ่น ในการขับเคลื่อนแผนชุมชนพหุวัฒนธรรมในการบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบริการป่าชายเลน ตำบลหัวเขา จังหวัดสงขลา โดยการวิเคราะห์ศักยภาพทางการสื่อสารของนักสื่อสารชุมชนท้องถิ่นก่อนและ หลังกระบวนการฝึกอบรม การวิเคราะห์ความพึงพอใจของคนในชุมชนที่มีต่อ สื่อและช่องทางการสื่อสารที่นักสื่อสารชุมชนท้องถิ่นเลือกใช้ และการวิเคราะห์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของนักสื่อสารชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่ การเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนของชุมชนตำบล หัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (mixed method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และการวิจัย เชิงปริมาณ (quantitative research) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์ (interview) แบบสอบถาม (questionnaire) และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (participant observation) โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักสื่อสารชุมชนท้องถิ่นที่เป็น ตัวแทนแบบพหุวัฒนธรรม ได้แก่ ตัวแทนคณะกรรมการป่าชายเลน ผู้นำทาง ศาสนา ตัวแทนเยาวชน ตัวแทนกลุ่มสตรี และกลุ่มผู้รับสารซึ่งเป็นคนที่เปิดรับ และใช้สื่อในชุมชน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับศักยภาพทางการสื่อสารของนักสื่อสารชุมชน ท้องถิ่นก่อนเข้ารับการฝึกอบรมโดยนักวิจัยในโครงการการสร้างนักสื่อสารชุมชน ท้องถิ่นในการเผยแพร่แผนชุมชน เพื่อธำรงรักษาป่าชายเลน ตำบลหัวเขา จังหวัดสงขลา
ทุกด้าน ทั้งด้านความรู้/ความสามารถในฐานะผู้รับสาร ด้านความรู้/ความ สามารถในฐานะผู้ส่งสาร ด้านความรู้เรื่องประเภทสื่อและความสามารถในการใช้ สื่อ ด้านความรู้/ความสามารถด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านความรู้/ความสามารถ ด้านการวางแผนกิจกรรม โครงการ และด้านความรู้/ความสามารถด้านการสร้าง การมีส่วนร่วม อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ระดับศักยภาพทางการสื่อสารของ นักสื่อสารชุมชนท้องถิ่นหลังกระบวนการฝึกอบรมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก
ระดับความพึงพอใจของคนในชุมชนต่อการสื่อสารของนักสื่อสารชุมชน ท้องถิ่นทุกข้ออยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ นักสื่อสารชุมชนสามารถสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนได้ ในส่วนของความพึงพอใจต่อการใช้สื่อของนักสื่อสารชุมชน พบว่า คนในชุมชน มีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อกิจกรรมของนักสื่อสารชุมชนสำหรับการ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร รองลงมาได้แก่ สื่อบุคคลและสื่อพิธีกรรมทาง ศาสนา หอกระจายข่าว/เสียงตามสาย สื่อป้าย และสื่อใหม่ ตามลำดับ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างนักสื่อสารชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วยทุนเดิม ของบุคคล สถานภาพทางสังคม และความถี่ในการเข้ารับการอบรม
References
กรรณิการ์ อัศวดรเดชา (2550), การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา แก้วเทพ (2551), การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่อง “การสื่อสารชุมชน”, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (2543), สื่อสารชุมชน: การประมวลองค์ความรู้, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2551), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองและสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กำจร หลุยยะพงศ์ (2555), การสร้างสรรค์และผลิตสื่อชุมชนเพื่อการประชาสัมพันธ์, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เจริญเนตร แสงดวงแข และสินี กิตติชนม์วรกุล (2558), โครงการการสื่อสารคุณค่าของงานความรู้ เพื่อการพัฒนาพื้นที่: “การใช้สื่อเพื่อการพัฒนาชุมชนตำบลเกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล”, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
_________. (2559), การสร้างนักสื่อสารชุมชนท้องถิ่นในการเผยแพร่แผนชุมชน เพื่อธำรงรักษาป่าชายเลนชุมชนตำบลหัวเขา จังหวัดสงขลา, ใน ชุดโครงการ “การใช้ประโยชน์จากงาน วิจัยด้วยเครื่องมือการสื่อสาร” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ชณิตา ประดิษฐ์สถาพร และคณะ (2562), “การพัฒนาจิตสำนึกคนในท้องถิ่นต่อการอนุรักษ์ ผักพื้นบ้าน ตำบลแม่ใส จังหวัดพะเยา”, วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 11(3): 205-217.
นิษฐา หรุ่นเกษม (2561), “การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสื่อสารเพื่อใช้ประโยชน์งานวิจัย: “ส้มโอโมเดล””, วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(3): 200-213.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์ (2549), ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิไลวรรณ ประพฤติ และคณะ (2557), การศึกษาการทำแผนชุมชนพหุวัฒนธรรมในการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบริการป่าชายเลน ตำบลหัวเขา จังหวัดสงขลา, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ไพบูลย์ เติมสมเกตุ และคณะ (2560), “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชายฝั่งอ่าวไทย: กรณีศึกษาจังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี”, วารสารเกษมบัณฑิต, 18(1): 97-105.
เรวดี เพชรศิราสัณห์ และคณะ (2561), “กระบวนการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับตำบลต่อการจัดระบบดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ตำบลท่าขึ้น จังหวัดนครศรีธรรมราช”, วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(6): 483-494.
วันชัย เลิศฤทธิ์ และคณะ (2556), โครงการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท, ใน ชุดโครงการ “ความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนา สังคมและสุขภาวะ” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์ (2560), “การวิเคราะห์ผู้รับสารในยุคดิจิทัล”, วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 34(1): 168-187.
สมนึก หงส์วิเศษ และคณะ (2556), รูปแบบการจัดการทรัพยากรทางทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง จังหวัด ตราด, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.
Fiedler, F. (1967), A Theory of Leadership Effectiveness, New York: Mcgraw-Hill.
Wood, M. and Fowlie, J. (2013), “Using Community Communicators to Build Trust andUnderstanding between Local Councils and Residents in the United Kingdom”, Local Economy, 28(6): 527-538.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2562), ข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดสงขลา,สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2562 จาก https://www.dmcr.go.th/detailLib/3756
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2562), พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558, สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2562 จาก https://www.dmcr.go.th/detailAll/11145/doc/81/
แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2560-2579 (2562), สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2562 จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER15/DRAWER056/GENERAL/DATA
ศศิพรรณ บิลมาโนช (มปป.), เอกสารประกอบการสอนวิชา การวิเคราะห์ผู้รับสาร AudienceAnalysis, สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562 จาก http://www.mac.ru.ac.th/wp-content/uploads/2018/05/mcs2361.pdf