การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ลำปางและสงขลา
คำสำคัญ:
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น, การวิเคราะห์เนื้อหา, การเลือกตั้งทั่วไปบทคัดย่อ
บทความเรื่อง “การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ลำปางและสงขลา” เป็นผลมาจากการศึกษาในหัวข้อเดียวกัน มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปางและสงขลาว่า มีการนำเสนอเป็นอย่างไร การศึกษา ในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ และใช้แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ และ จริยธรรมของสื่อมวลชน
วิธีการศึกษาคือ ศึกษาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชั้นนำ 2 ชื่อฉบับในจังหวัด ลำปาง ได้แก่ แมงมุม (รายสัปดาห์ เน้นข่าวอาชญากรรม) ลานนาโพสต์ (ราย สัปดาห์ เน้นข่าวเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และอาชญากรรม) และ 1 ชื่อฉบับ ในจังหวัดสงขลา คือ ภาคใต้โฟกัส (รายสัปดาห์ เน้นขาวเศรษฐกิจ การเมือง สังคม) ออกจำหน่ายในช่วงที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง (ระหว่าง 23 มกราคม ถึง 24 มีนาคม 2562) รวม 2 เดือน ทั้งนี้จะพิจารณาข่าว บทความ และภาพข่าวที่ปรากฏในทุกหน้าว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส. ของ พรรคการเมืองต่างๆ ในปริมาณเท่าใด รูปแบบใด และหนังสือพิมพ์มีจุดยืนต่อ ผู้สมัครอย่างไร โดยมีหน่วยเป็นชิ้นและตารางนิ้ว
ผลการศึกษาพบว่า หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นทั้ง 3 ชื่อฉบับนำเสนอเนื้อหาที่ เกี่ยวข้องกับผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 188 ชิ้น ในพื้นที่ 5,786.37 ตารางนิ้ว หรือคิดเป็นร้อยละ 4.59 ของพื้นที่การนำเสนอทั้งหมด โดยหนังสือพิมพ์ ภาคใต้โฟกัส มีสัดส่วนการนำเสนอมากที่สุด (ร้อยละ 5.47 ของพื้นที่) ตามด้วย หนังสือพิมพ์ ลานนาโพสต์ (ร้อยละ 5.31) และหนังสือพิมพ์ แมงมุม (ร้อยละ 3.21)
กลุ่มตัวอย่างมีพื้นที่ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพรรคเพื่อไทยมากที่สุด (ร้อยละ 32.98) ตามด้วยพรรคการเมืองอื่นๆ (ร้อยละ 18.29) พรรคพลังประชารัฐ (ร้อยละ 15.68) พรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 16.13) พรรคภูมิใจไทย (ร้อยละ 10.16) และพรรคอนาคตใหม่ (ร้อยละ 6.76)
หนังสือพิมพ์ แมงมุม ใช้พื้นที่จำนวนมาก (ร้อยละ 82.14) ในการนำเสนอเกี่ยวกับพรรคเพื่อไทยในจุดยืนบวก ขณะที่หนังสือพิมพ์ ลานนาโพสต์ ใช้พื้นที่จำนวนมากนำเสนอเกี่ยวกับพรรคเพื่อไทยในจุดยืนบวก (ร้อยละ 33.51) และพรรคพลังประชารัฐในจุดยืนลบ (ร้อยละ 29.61) ส่วนหนังสือพิมพ์ ภาคใต้ โฟกัส นำเสนอเกี่ยวกับพรรคอื่นๆ ในจุดยืนบวก (ร้อยละ 31.88) โดยพาดพิง พรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่น้อยมาก
ข้อเสนอแนะของการศึกษาคือ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นควรนำเสนอเนื้อหา เกี่ยวกับผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคการเมืองต่างๆ ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อการแข่งขันเลือกตั้ง และประชาชนควรเปิดรับข่าวสารจาก หลากหลายแหล่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รอบด้านพอต่อการตัดสินใจที่แม่นยำ
References
กฤษณ์ ทองเลิศ (2540), สื่อมวลชนการเมืองและวัฒนธรรมองค์รวมแห่งสายสัมพันธ์ของวิถีชีวิต, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (2552), งานวิจัยสถานภาพและบทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในประเทศไทย, ม.ป.ท..
ฑิติยา เปลี่ยนเฉย (2553), “หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกับการกำหนดวาระข่าวสารด้านสิทธิพลเมือง”, วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 6(1).
ณัฐ ฉมามหัทธนา (2550), ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการทำข่าวและนำเสนอข่าวการเมืองในมุมมองของนักหนังสือพิมพ์, สารนิพนธ์วารสารศาสตรบัณฑิต สาขาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนภร เจริญธัญสกุล (2549), “การสร้างตราสินค้าทางการเมือง (Political Branding)”, วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี, 2(1).
บรรยงค์ สุวรรณผ่อง และคณะ (2552), งานวิจัยสถานภาพและบทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในประเทศไทย, รายงานการวิจัยสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.
พนม วรรณศิริ (2544), การสื่อข่าวและการเขียนข่าว, กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช และคณะ (2539), การรายงานข่าวขั้นสูง, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.
รัตนวดี นาควานิช (2558), “การประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว: จุดเริ่มต้นของคุณภาพข่าว”, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 35(1).
รุจน์ โกมลบุตร (2552), สถานการณ์ในทางวิชาชีพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง, รายงานการวิจัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
_________. (2554), การบริหารหนังสือพิมพ์ “ลานนาโพสต์”: ข้อเสนอต่อการปฏิรูปหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น, รายงานการวิจัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รุจน์ โกมลบุตร และคณะ (2562), “การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับนักการเมืองท้องถิ่นของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลำปาง”, วารสารศาสตร์, 12(1).
สิริทิพย์ ขันสุวรรณ (2555), แนวคิดและหลักวารสารศาสตร์, ปทุมธานี: ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการ เรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุภา ศิริมานนท์ (2536), นักหนังสือพิมพ์, กรุงเทพฯ: ที.พี.พริ้น จำกัด.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (2533), การสื่อสารกับสังคม, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสถียร เชยประทับ (2540), การสื่อสารกับการเมืองเน้นสังคมประชาธิปไตย, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กว่าจะมาถึงวันนี้: เรียงลำดับเหตุการณ์ของการเลื่อนเลือกตั้ง 57-62 (2562) (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562 จาก https://prachatai.com/journal/2019/03/81662
ภัทมัย อินทจักร (2563), “สื่อมวลชนบนถนนประชาธิปไตยใหม่: เป็นกลาง ชี้นำ เลือกข้าง?”, สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.isranews.org/thaireform-data-strategy/14056-2010-05-13-07-58-50.html
ลำปาง-รายงานผลการเลือกตั้ง 62: PPTVHD36 (2562), สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562 จาก https://election.pptvhd36.com/region/1/40
เลือกตั้ง 62: 81 พรรคการเมืองในสนามเลือกตั้ง เกินครึ่งเป็นพรรคตั้งใหม่ (2562), สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562 จาก https://ilaw.or.th/node/5181
สงขลา-รายงานผลการเลือกตั้ง 62: PPTVHD36 (2562), สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562 จาก https://election.pptvhd36.com/region/4/70
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ (2559), ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์, สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562 จาก http://www.presscouncil.or.th
บัณฑิต ภักดีวงศ์, บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ แมงมุม, สัมภาษณ์, 26 ตุลาคม 2562.
ภูวสิษฏ์ สุขใส, บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์ ภาคใต้โฟกัส, สัมภาษณ์, 27 ตุลาคม 2562.
วริษฐา ภักดี, ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ ลานนาโพสต์, สัมภาษณ์, 27 ตุลาคม 2562.