พลวัตของสื่อทางเลือกในยุคดิจิทัลกับการเป็นสื่อสันติภาพ ในจังหวัดชายแดนใต้

ผู้แต่ง

  • นันท์วิสิทธิ์ ตั้งแสงประทีป นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • มาโนช ชุ่มเมืองปัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิไลวรรณ จงวิไลเกษม คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

สื่อทางเลือก, พลวัตของสื่อทางเลือก, พื้นที่ชายแดนใต้, สื่อสันติภาพ, สื่อดิจิทัล

บทคัดย่อ

                สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เกิดขึ้นต่อเนื่องมา เป็นระยะเวลากว่า 15 ปี ช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดองค์กรสื่อทางเลือกในพื้นที่ จังหวัดชายแดนใต้ขึ้นจำนวนมากในพื้นที่ องค์กรสื่อทางเลือกที่ถือได้ว่าเป็น ผู้นำเสนอชุดข้อมูลข่าวสารที่สื่อกระแสหลักเข้าไม่ถึง และอาจจะเป็นกลไกหนึ่ง ที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดกระบวนการสันติภาพได้ในพื้นที่
                งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการก่อตั้ง ดำรงอยู่ และพัฒนาการ รวมถึงปัจจัย ที่ส่งผลต่อองค์กรสื่อทางเลือกในจังหวัดชายแดนใต้ในการทำบทบาทหน้าที่ของ ตนเอง โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์เนื้อหาที่นำเสนอกับกลุ่มองค์กร สื่อจำนวน 5 องค์กร ได้แก่ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สำนักข่าวอามาน สำนักสื่อวาร์ตานี ปาตานีฟอรั่ม เครือข่ายผู้หญิงเฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ผลการวิจัยพบประเด็นที่น่าสนใจคือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อตั้งและการดำรง อยู่ที่สำคัญคือ ประเด็นเรื่อง “ทุน” ที่ได้ถูกหน่วยงานรัฐใช้เป็นเครื่องมือในการเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อองค์กรสื่อทางเลือกจำนวนหนึ่งในการชี้นำ และ สื่อสารในประเด็นที่หน่วยงานรัฐต้องการ และมีแนวโน้มจะขยายตัวไปยังองค์กร สื่อทางเลือกอื่นๆ เป็นการอาศัยจุดอ่อนของผู้ทำงานองค์กรสื่อทางเลือกที่แสวงหา งบประมาณในการดำเนินการ การดำเนินการในลักษณะดังกล่าวของหน่วยงาน รัฐ ถือเป็นการปฏิบัติการสารสนเทศ (information operation) ที่สะท้อนถึงการ เล็งเห็นความสำคัญและบทบาทของสื่อทางเลือกในพื้นที่ ที่ท้ายที่สุดอาจส่งผล ต่อความเป็นอิสระหรือการล่มสลายขององค์กรสื่อทางเลือกในชายแดนใต้ ขณะ เดียวกัน ยังพบว่า สื่อทางเลือกได้แสดงบทบาทการเป็นสื่อสันติภาพ แต่ยังขาด พลังเนื่องมาจากการขาดองค์ความรู้ด้านสื่อข่าวที่ไหวรู้ต่อความขัดแย้ง

References

กาญจนา แก้วเทพ (2543), สื่อสารชุมชน: การประมวลองค์ความรู้, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.)

นุวรรณ ทับเที่ยง (2550), ผลกระทบของการสื่อสารมวลชน: ทัศนคติของประชาชนในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการนำเสนอข่าวเหตุการณ์ความไม่สงบ, ปัตตานี: คณะวิทยาการ สื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา และดุษฎี เพ็ชรมงคล (2555), ข่าวที่ไม่เป็นข่าวในจังหวัดชายแดนภาคใต้: ศึกษาประเด็นข่าวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ไม่ได้รับการเสนอผ่านสื่อมวลชนระหว่าง ปี พ.ศ. 2547-2553, ปัตตานี: คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วลักษณ์กมล จ่างกมล และอมรรัตน์ ชนะการณ์ (2557), สื่อทางเลือกยุคดิจิทัลกับผลประโยชน์สาธารณะ: กรณีศึกษาการเป็นพื้นที่กลาง เพื่อสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้, กรุงเทพฯ: สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.

วิไลวรรณ จงวิไลเกษม และพัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ (2562), สื่อชายแดนใต้ในกระบวนการสันติภาพ:การลดทอนอคติและความเกลียดชังต่อพื้นที่และผู้คนในชายแดนใต้, กรุงเทพฯ: สำนักงาน การวิจัยแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม.

สกุลศรี ศรีสารคาม (2554), สื่อสังคม (Social Media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าวกรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Bailey, O. et al. (2007), Understanding Alternative Media, Berkshire: Open University Press.

Galtung, J. (2003), “Peace Journalism”, Media Asia, 30(3): 177-180.

Harlow, S. and Harp, D. (2013), “Alternative Media in a Digital Era: Comparing News and Information Use among Activists in the United States and Latin America”,Communication&Society/Comunicación y Sociedad: 25-51.

Howard, R. (2004), Conflict Sensitive Journalism IMPACS | International Media Support A Handbook by Ross Howard, n.p.

Jeppesen, S. (2015/2016), “Understanding Alternative Media Power: Mapping Content & Practice to Theory, Ideology, and Political Action”, Democratic Communiqué:54-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-09-2020