การเว้นระยะห่างทางเพศสถานะ: นวนิยายยาโออิของไทยในการเมืองเรื่องขนบวรรณกรรมกับการตีความ

ผู้แต่ง

  • นัทธนัย ประสานนาม รองศาสตราจารย์ ดร. ประจำภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ยาโออิ, นวนิยายโรมานซ์, นวนิยายไทย, การเมืองเพศสถานะ

บทคัดย่อ

                ยาโออิคือเรื่องโรมานซ์ที่นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างชายรักชาย ส่วนใหญ่เขียนโดยนักเขียนหญิง แต่งานสร้างสรรค์กลุ่มนี้กลับเว้นระยะห่างทาง เพศสถานะ กล่าวคือ แม้ถอยห่างจากความสัมพันธ์แบบรักต่างเพศ แต่ไม่นิยาม รักโรแมนติกแบบเพศเดียวกันผ่านอัตลักษณ์เกย์ บทความนี้ต้องการวิเคราะห์ การเมืองที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ดังกล่าวในนวนิยายยาโออิของไทย โดย พินิจขนบและการตีความยาโออิในฐานะคุณสมบัติของตัวบทและแบบแผนการ รับตัวบท กรอบของการวิเคราะห์เกิดจากการสมรสกันระหว่างยาโออิศึกษากับ นวนิยายโรมานซ์ประชานิยมศึกษา กรณีศึกษาคือนวนิยายเรื่อง ด้ายแดง ของ LazySheep ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า การเว้นระยะห่างทางเพศสถานะอยู่ใน ข้อถกเถียงเกี่ยวกับยาโออิมาโดยตลอด การเมืองในขนบวรรณกรรมยาโออิมีทั้ง ยอมรับและท้าทายบรรทัดฐานรักต่างเพศ ในขณะเดียวกัน ก็วิพากษ์บรรทัดฐาน แบบรักเพศเดียวกันผ่านตรรกะของตัวบท ในฐานะนวนิยายโรมานซ์แนวข้ามภพ ชาติของไทย ด้ายแดง ยืนยันว่า การกลับชาติมาเกิดของตัวละครเอกเป็นไปเพื่อ ได้สมรักกัน มิใช่เพื่อยืนยันอัตลักษณ์เกย์ นวนิยายยาโออิจึงผลิตซ้ำมโนทัศน์ที่ว่า ความรักบริสุทธิ์อยู่เหนือเพศสถานะหรือประเด็นทางสังคมทั้งปวง

References

ณัฐนพ พลาหาญ (2556), “วรรณศิลป์จุฬาฯ ใต้ร่มเงา ‘วายนะศิลป์’”, ปาจารยสาร, 37(1): 44-47.

ณิชชารีย์ เลิศวิชญโรจน์ (2560), หัวใจวาย, กรุงเทพฯ: Bun Books.

นัทธนัย ประสานนาม (2562), “นวนิยายยาโออิของไทย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์”, วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ, 7(2): 16-34.

สมเกียรติ คู่ทวีกุล (2548), “ภาพสะท้อนชายรักร่วมเพศในนวนิยายไทยในสามรอบทศวรรษ (พ.ศ.2513-2543): การศึกษาศักยภาพ ข้อจำกัด และทางออกของนักเขียนหญิง”, วารสาร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 27(1): 136-145.

สุภาวรัชต์ วัฒนทัพ (2556), ภาพแทนคนรักเพศเดียวกันในนิยายวายจากสื่ออินเทอร์เน็ต, วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนัญญา วารีสอาด (2553), อัตลักษณ์กับบริบททางสังคมในนิยายโรมานซ์แนวข้ามภพชาติของไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวรรณ วิชญวรรณกุล (2559), ผู้หญิงกับการสร้างนวนิยายชายรักชาย, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสาร มวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อริน พินิจวรารักษ์ (2527), การใช้เรื่องรักร่วมเพศในนวนิยายไทย พ.ศ. 2516-พ.ศ. 2525, วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

LazySheep (2562), ด้ายแดง เล่ม 1-2, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Hermit.

Akatsuka, N. (2010), “Uttering the Absurd, Revaluing the Abject: Femininity and the Disavowal of Homosexuality in Transnational Boys’ Love Manga”, in Levi, A. et al. (eds.), Boys’ Love Manga: Essays on the Sexual Ambiguity and Cross-Cultural Fandom of the Genre, Jefferson, North Carolina: McFarland & Company: 159-176.

Bolen, D. (2016), “Homonormativity”, in Goldberg, A. (ed.), The SAGE Encyclopedia of LGBTQ Studies, Thousand Oaks, California: Sage: 542-544.

Fluck, W. (2017), “Reader”, in Thomsen, M. et al. (eds.), Literature: An Introduction to Theory and Analysis, London: Bloomsbury: 157-167.

Hitoshi, I. (2015), “Representational Appropriation and the Autonomy of Desire in Yaoi/BL”,translated by K. Suganuma, in McLelland, M. et al. (eds.), Boys’ Love Manga and Beyond: History, Culture, and Community in Japan, Jackson: University Press of Mississippi: 210-232.

Jeppesen, S. (2016), “Heteronormativity”, in Goldberg, A. (ed.), The SAGE Encyclopedia of LGBTQ Studies, Thousand Oaks, California: Sage: 492-496.

Kee, T. (2010), “Rewriting Gender and Sexuality in English Language Yaoi Fanfiction”, in Levi, A. et al. (eds.), Boys’ Love Manga: Essays on the Sexual Ambiguity and Cross-Cultural Fandom of the Genre, Jefferson, North Carolina: McFarland & Company: 126-156.

Kwon, J. (2019), Straight Korean Female Fans and Their Gay Fantasies, Iowa City: University of Iowa Press.

Lam, L. (2006), “Sexual Minorities”, in Gerstner, D. (ed.), Routledge International Encyclopedia of Queer Culture, London and New York: Routledge: 519.

Laurent, E. (2014), “Sexuality and Human Rights: An Asian Perspective”, in Graupner,H. and Tahmindjis, P. (eds.), Sexuality and Human Rights: A Global Overview, New York and Oxford: Routledge: 163-226.

Martin, F. (2017), “Girls Who Love Boys’ Love: BL as Goods to Think with in Taiwan (with a Revised and Updated Coda)”, in Lavin, M. et al. (eds.), Boys’ Love, Cosplay, and Androgynous Idols: Queer Fan Cultures in Mainland China, Hong Kong, and Taiwan, Hong Kong: Hong Kong University Press: 195-219.

Mizoguchi, A. (2003), “Male-Male Romance by and for Women in Japan: A History and the Subgenres of Yaoi Fictions”, U.S.-Japan Women’s Journal, 25: 49-75.

Prasannam, N. (2019), “Yaoi Phenomenon in Thailand and the Fan/Industry Interaction”, Plaridel: A Philippine Journal of Communication, Media, and Society, 16(2): 62-89.

Ramsdell, K. (2012), Romance Fiction: A Guide to the Genre, Santa Barbara, California: Libraries Unlimited.

Regis, P. (2003), A Natural History of the Romance Novel, Philadelphia: University of Pennsylvania Press.

Suansamut, P. (2009), The Ideology of Love in Popular Thai Tragic Romance, 1997-2007, unpublished Doctoral Thesis, Thai Studies Program, Chulalongkorn University.

Welker, J. (2008), “Lilies of the Margin: Beautiful Boys and Queer Female Identities in Japan”, in Martin, F. et al. (eds.), AsiaPacifiQueer: Rethinking Genders and Sexualities, Urbana and Chicago: University of Chicago Press: 46-66.

Yang, L. and Xu, Y. (2017), “Chinese Danmei Fandom and Cultural Globalization from Below”, in Lavin, M. et al. (eds.), Boys’ Love, Cosplay, and Androgynous Idols: Queer Fan Cultures in Mainland China, Hong Kong, and Taiwan, Hong Kong: Hong Kong University Press: 3-19.

ไทยรัฐออนไลน์ (2563), “ดราม่า #nnevvy ทำสงครามโซเชียลก่อตัว จากเรื่องเล็กๆ ของ ไบร์ท วชิรวิชญ์”, สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/entertain/news/1818614

ไทยรัฐออนไลน์ (2563), “สรุปดราม่า คริส พีรวัส งานเข้า ถูกขุดเหยียดคน-เล่นมุกเหยื่อถูกข่มขืน”, สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/entertain/news/1871079

awkward55555 (2562), “จะเกิดอะไรต่อไปกับความเป็น เตนิว ตามดูประเด็นที่มีคนตั้งข้อสังเกตไว้”, สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.siamzone.com/board/view. php?sid=4345919

Prepanod Nainapat (2560), “เพศไหนๆ ก็อ่านนิยาย Y ได้: พื้นที่ของวัฒนธรรม Y และความเข้าใจผิดๆ ต่อคนอ่าน กับทีมงาน Y Book Fair”, สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563, จาก https://thematter.co/rave/sit-and-have-some-chit-chat-about-y-book-fair

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-09-2020