บทบาทสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์กับการผลิตซ้ำความเชื่อ เพื่อการเสี่ยงโชค
คำสำคัญ:
บทบาทสื่อมวลชน, การผลิตซ้ำวัฒนธรรม, ความเชื่อ, การพนัน, หนังสือพิมพ์ออนไลน์บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การผลิตซ้ำความเช่ือเรื่องโชคลางและการพนันผ่านการ นำเสนอข่าวของสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตซ้ำความเชื่อเรื่องโชคลางและการ พนันผ่านการนำเสนอข่าวของสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ และศึกษาบทบาทของ สื่อกับการดำรงรักษาความเชื่อเรื่องโชคลางและการพนันในสังคมไทย โดยใช้วิธี วิจัย (research method) 2 ส่วนคือ การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้เชี่ยวชาญที่มีหน้าที่รับผิดชอบ กำกับดูแลการทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์
ผลการวิจัยพบว่า หนังสือพิมพ์ออนไลน์มีการผลิตซ้ำประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับความเชื่อ และนำเสนอตัวเลขสำหรับการเสี่ยงโชคให้กับผู้รับสาร แบ่งออก เป็น 7 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ประเด็นอุบัติเหตุ (2) ประเด็นพืชที่มีลักษณะ ผิดปกติ (3) ประเด็นเกี่ยวกับสัตว์ (4) ประเด็นเกี่ยวกับตำนาน (5) ประเด็น ผีสางและวิญญาณ (6) การนำเสนอตัวเลขอย่างตรงไปตรงมา และ (7) ประเด็นอื่นๆ โดยทั้งหมดถูกนำเสนอภายใต้องค์ประกอบข่าวด้านความแปลกประหลาด ซึ่งมี จำนวนประเด็นข่าวเกี่ยวกับความเชื่อและการนำเสนอตัวเลขเพื่อการเสี่ยงโชค ของผู้รับสารในช่วงระยะเวลา 12 เดือน รวมทั้งหมด 576 ประเด็น โดยไทยรัฐ ออนไลน์นำเสนอ 443 ประเด็น ขณะที่ข่าวสดออนไลน์นำเสนอ 133 ประเด็น
การนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องโชคลางและนำไปสู่การบอก ตัวเลขเพื่อการเสี่ยงโชค ถือเป็นบทบาทหนึ่งของสื่อมวลชนในการผลิตซ้ำเพื่อ ธำรงรักษาทางวัฒนธรรม ภายใต้โครงสร้างทางสังคมไทยที่ยึดอยู่กับความเชื่อ โชคลาง ปาฏิหาริย์ ฯลฯ นำไปสู่วัฏจักรด้านความเชื่อและการเสี่ยงโชคโดยการ ใช้อำนาจของสื่อและผู้ใช้สื่อนั้นมีลักษณะแบบ dialectic ทำให้เกิดการกำหนด วาระข่าวสารร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับประชาชนผู้บริโภค โดยข้ามผ่าน ข้อจำกัดเรื่องประเภทของสื่อ
สื่อมวลชนได้สะสมทุนทางวัฒนธรรม และสื่ออาศัยทุนทางสังคมที่มีอยู่ ผลิตซ้ำประเด็นข่าวเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องโชคลาง และนำเสนอตัวเลขเพื่อการ เสี่ยงโชค เพื่อทำให้กลายเป็นสินค้าได้รับผลตอบแทนกลับมาในเชิงเศรษฐกิจ ทั้งยังดำรงรักษาโครงสร้างทางชนชั้นให้กับรัฐและนายทุนไปพร้อมกัน
References
กาญจนา แก้วเทพ (2557), ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2553), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ณัฐกฤต ดิฐวิรุฬห์ (2547), “การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้และผลิตซ้ำภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน”, วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 17(2): 6-16.
เดชพันธุ์ ประวิชัย (2554), “สื่อมวลชนกับบทบาทการพัฒนาในยุคสมัยใหม่”, วารสารนักบริหาร, 31(1).
ทักษยา วัชรสารทรัพย์ (2557), “กลยุทธ์การเขียนข่าวเพื่อรายงานข่าวบนหนังสือพิมพ์ออนไลน์”,วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 4(2).
ธีรนุช พูศักดิ์ศรีกิจ และศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2557), “บทบาทของความเชื่อโชคลางต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดินของผู้บริโภคชาวไทย”, วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2).
นรินทร์ นำเจริญ (2549), ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการรายงานข่าว, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง (2546), การก่อเกิด การผลิตซ้ำและการขยายตัวทุนทางสังคมในชนบทอีสาน, ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ปิแอร์ บูร์ดิเยอ (2550), เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์, แปลโดย ชนิดา เสงี่ยมไพศาลกุล,กรุงเทพฯ: คบไฟ.
พนิดา หันสวาสดิ์ (2544), ผู้หญิงในภาพยนตร์:กระบวนการผลิตซ้ำภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสังคมไทย, เชียงใหม่: ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พินิตตา สุขโกศล (2549), “หนังตะลุง อัตลักษณ์และการผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรม สื่อพื้นบ้านทางภาคใต้”, วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 1(1).
เย็นจิตร ถิ่นขาม และมณีมัย ทองอยู่ (2552), “การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมข้ามพรมแดนในการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมระหว่างหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น”, วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิต ศึกษา, 9(4).
ศรีศักร วัลลิโภดม (2560), พุทธศาสนาและความเชื่อในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจอวงศ์ (2559), “แนวทางการพัฒนาสิ่งพิมพ์ออนไลน์ในยุคดิจิทัล”, วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 21(9).
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (2551), สื่อ: บทบาทและความสำคัญต่อการเผยแพร่งานวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด.
เสริมศิริ นิลดำ (2555), คุณค่าข่าวในภาวะวิกฤติทางสังคม, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หนึ่งฤทัย ขอผลกลาง และคณะ (2545), รายงานวิจัยเรื่อง บทบาทของสื่อมวลชนไทยต่อการสร้าง และถ่ายทอดวัฒนธรรมในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ, นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยสุรนารี.
Bourdieu, B. (1984), Distinction: A Social Critique of the Judgement of Taste, New York: Routledge.
Deeming, C. (2014), “The Choice of Necessary: Class, Tastes and Lifestyles”, International Journal of Sociology and Social Policy, 34: 438-454.
Fiske, J. (2011), Introduction to Communication Studies, New York: Routledge.
Janjumpa, P. (2016), “Cultural Capital Management for Urban Development”, Songkhla Municipality, Thailand, The 4th International Conference on Magsaysay Awardees: Good Governance and Transformative Leadership in Asia, 31 May 2016.
Kata, P. (2004), The Study on Social Capital and the Role of Social Capital in Social Movement: Case Study of Healthy Civil Society in One Village in North-Eastern Region of Thailand, unpublished MA Thesis (Population and Social Research), Institute for Population and Social Research, Mahidol University.
Nederveen Pieterse, J. (2015), Globalization and Culture: Global Melange, Lanham:Rowman & Littlefield.
Warren, J. (2016), Gambling the State and Society in Thailand, C.1800-1945, New York: Routledge.
ศิริพร ยอดกมลศาสตร์ (2555), “การพนันในสังคมไทย”, สืบค้นจาก http://www.gamblingstudy-th.org