โซเชียลทีวี นวัตกรรมการสื่อสารบนเฟซบุ๊กเพจทางการ ของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พรชัย ฉันต์วิเศษลักษณ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว รองศาสตราจารย์ ดร. ประจำคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

คำสำคัญ:

โซเชียลมีเดีย, เฟซบุ๊ก, สถานีโทรทัศน์ดิจิทัล, ไทยรัฐ, เวิร์คพอยท์

บทคัดย่อ

              งานวิจัยชิ้นนี้ใช้การวิจัยแบบผสมเพื่อตอบคำถามนำวิจัยว่า สถานี โทรทัศน์ดิจิทัลมีการคัดเลือกและผลิตเนื้อหาจากสถานีโทรทัศน์ไปนำเสนอบน เฟซบุ๊กเพจทางการของสถานีโทรทัศน์อย่างไร และการนำเสนอเนื้อหาบนเฟซบุ๊ก เพจทางการมีผลการตอบรับจากผู้ชมอย่างไร โดยพบว่า ทีมโซเชียลมีเดียคัดเลือก และนำเสนอเนื้อหาตามการวางตำแหน่งของสถานีโทรทัศน์ในช่วงเวลาปกติ ส่วนช่วงเลือกตั้งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับข่าวการเลือกตั้งตามความสนใจของผู้ชมและ กระแสสังคม โดยเนื้อหาที่ได้จากสถานีโทรทัศน์เป็นประเภทรายการข่าวและ บันเทิงในรูปแบบคลิปวิดีโอต้นฉบับ และนำมาตัดต่อเป็นชิ้นงานใหม่ ส่วนแหล่ง ข้อมูลอื่น เช่น เว็บไซต์ขององค์กรเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับข่าว ทั้งรูปแบบของภาพ ตัวอักษร และคลิปวิดีโอ รวมถึงเนื้อหาที่ทีมงานโซเชียลมีเดียผลิตขึ้นเอง ซึ่งไม่ ปรากฏในรายการโทรทัศน์ ส่วนผู้ใช้งานเฟซบุ๊กเพจเลือกเข้าถึงเนื้อหาในรูปแบบ การถ่ายทอดสดและคลิปวิดีโอมากที่สุด และมีปฏิสัมพันธ์ด้วยการแสดงอารมณ์ และแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาเกี่ยวกับข่าวและการเมืองมากที่สุด

References

กุลนารี เสือโรจน์ (2556), พฤติกรรมการสื่อสารของวัยรุ่นในพื้นที่สาธารณะบนเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค, งานวิจัยภายใต้งบประมาณสนับสนุนคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นุดี หนูไพโรจน์ (2557), “นวัตกรรมการจัดการการสร้างประสบการณ์การใช้หน้าจอที่สอง (Second Screen) ในองค์กรสื่อโทรทัศน์”, วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 1(1): 49-68.

สกุลศรี ศรีสารคาม (2561), “การพัฒนานวัตกรรมเชิงเนื้อหาด้วยกลยุทธ์การเล่าเรื่องข้ามสื่อสำหรับรายการโทรทัศน์”, วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 12(1): 193-225.

Jenkins, H. (2008), Convergence Culture: Where Old and New Media Collide, New York and London: NYU Press.

McLuhan, M. and McLuhan, E. (1992), Laws of Media: The New Science, Toronto:University of Toronto Press.

เจนพสิษฐ์ ปู่ประเสริฐ (2559), “รายงาน: ถอดบทเรียน BBC ปรับทัพสื่อรับยุค New Media สะท้อนอะไรต่อสื่อไทย”, สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://prachatai.com/journal/2016/07/66991.

สาวิตรี รินวงษ์ (2562), “ผ่าเทรนด์ ‘ชาวเน็ต’ ปี 62 เข็มทิศแบรนด์รุกดิจิทัล”, สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/831875.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (2562), “รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561”, สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2018.html

TaiSresuda (2560), “เคล็ดลับปั้นรายการ TV ไทยให้โลกรู้ จาก ‘ชลากรณ์’ เวิร์คพอยท์”, สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://men.sanook.com/18397/.

Thailand Zocial Awards 2019 (2562), “Play: Rolling Your Data”, สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://thailand.zocialawards.com/2019/keynotes/

TV Digital Watch (2561), “10 ข้อชี้แนวโน้มทีวีดิจิทัล VS ทีวีออนไลน์”, สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://www.tvdigitalwatch.com/tvdgt-vs-tvonline-nov-2561/.

พชร โอภาสเสรีผดุง, หัวหน้าฝ่ายการตลาดดิจิทัล, บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน), สัมภาษณ์, 27 กันยายน 2562.

วรภา หฤษฎางค์กูร, หัวหน้าส่วนงานโซเชียลมีเดีย, บริษัท Trend V3G จำกัด, สัมภาษณ์, 27 สิงหาคม 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020