ถึงเวลามองปัญหาองค์กรข่าวด้วยกรอบแนวคิด Sociology of Journalism

ผู้แต่ง

  • ดวงแก้ว เธียรสวัสดิ์กิจ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

แหล่งข่าว, สังคมวิทยาแห่งวารสารศาสตร์, กระบวนการผลิตข่าว, ความเป็นวัตถุวิสัยในการรายงานข่าว, อคติในข่าว, บรรทัดฐานการ รายงานข่าว, องค์กรข่าว

บทคัดย่อ

                Sociology of Journalism เป็นชุดความคิดในกระบวนทัศน์ในกลุ่ม เศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy) ที่มุ่งศึกษาลักษณะขององค์กรข่าว ที่ดำเนินการอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลมาจาก กระบวนการวิจัยตามขนบสังคมวิทยา ซึ่งอาศัยการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม ด้วยการสังเกตการณ์ (observation) นักวิชาการในกลุ่มนี้จึงศึกษากระบวนการ ทำงานขององค์กรข่าวด้วยการเฝ้าสังเกตวิธีการทำงานของบรรณาธิการ การ สื่อข่าว พัฒนาการของแนวคิดที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1980-1990 และนำ ไปสู่ข้อค้นพบว่า สื่อมวลชนนั้นทำงานอยู่ภายใต้ข้อจำกัดทางการผลิต ทรัพยากร ที่มี และระบบตลาดที่มีการแข่งขันสูง การหล่อหลอมให้วิชาชีพข่าวมีบรรทัดฐาน ทางวิชาชีพ (professional norms) ที่เข้มแข็ง เช่น คุณค่าข่าว (newsworthiness) มาตรฐานความเป็นวัตถุวิสัย (objectivity) การรายงานข่าวอย่างเป็นกลาง (balance) การรู้จักแหล่งข่าว จึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้องค์กรสื่อสามารถ ผลิตข่าว ซึ่งคือ “สินค้า” ชนิดหนึ่งในมุมมองของ Sociology of Journalism ได้ อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ นอกจากนั้น บรรทัดฐานทางวิชาชีพยัง เป็นการรับประกันว่าสังคมจะยังเชื่อถือและยอมรับองค์กรข่าวอยู่ อย่างไรก็ตาม บรรทัดฐานทางวิชาชีพดังกล่าวนั้นไม่ได้มีลักษณะตายตัว แต่ดำรงอยู่ในลักษณะ หลักการกว้างๆ ท่ีเปิดโอกาสให้บุคลากรข่าวตีความและเลือกใช้งานได้ตามบริบท และสถานการณ์ ข้อสังเกตเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า องค์กรข่าวที่ดำเนินการภายใต้ 
                  ข้อจำกัดของระบบตลาดกลับไม่ตอบโจทย์อุดมการณ์ของสื่อมวลชนที่เป็นฐานันดร ที่สี่ในสังคมประชาธิปไตย เพราะกระบวนการผลิตต้องสนับสนุนให้องค์กร อยู่รอด ข้อเท็จจริงที่พบในข่าวจึงได้รับอิทธิพลจากข้อจำกัดต่างๆ ข่าวจึงเป็นพื้นท่ี ของแหล่งข่าวประเภทสถาบันที่มีอำนาจ (powerful institutions) และคนที่มี ต้นทุนทางสังคม (established news source) มากกว่าคนทั่วไป (lay people) ผู้เขียนเสนอว่า การใช้แนวคิด Sociology of Journalism เพื่อสร้างกรอบการ วิจัยจะมีประโยชน์สูงต่อการวิเคราะห์ปัญหาขององค์กรข่าวในประเทศไทยอย่าง รอบด้าน และทำให้การอภิปรายและการถกเถียงเพื่อพัฒนาองค์กรข่าวก้าวหน้า ไปกว่าเดิม ที่มักใช้กรอบแนวคิดที่มองปัญหาของสื่อมวลชนเป็นเรื่องจริยธรรม จรรยาบรรณสื่อซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล

References

ขุมทอง นพพันธ์ (2552), ผลของการวางกรอบในข่าวสิ่งแวดล้อมต่อการรับรู้ความเสี่ยง, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จริยา ชื่นใจชน (2548), การวิเคราะห์เนื้อหาข่าวสิ่งแวดล้อมในหนังสือพิมพ์ไทย, รายงานโครงการเฉพาะบุคคล วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารภาครัฐและเอกชน) มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

วิลาสินี พิพิธกุล (2537), บทบาทของหนังสือพิมพ์ในการสื่อสารเรื่องความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมกรณีมลพิษจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตภาค วิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเมธ วรรณพฤกษ์ (ม.ป.ป.), “บทบาทสื่อมวลชนต่อการเสนอข่าวสิ่งแวดล้อมกรณี ‘สารพิษแม่เมาะ-น้ำพองเน่า’”, สื่อมวลชนปริทรรศน์: 39-41.

Allan, S. (2011), News Culture, Berkshire: Open University Press.

Bagdikian, B. (2004), The New Media Monopoly, Boston: Beacon Press.

Boykoff, M. et al. (2010), ‘Charismatic Megafauna’: The Growing Power of Celebrities and Pop Culture in Climate Change Campaigns, Environment Politics and Development Working Paper Series, WP28, Working Paper, Department of Geography, King's College London.

Cox, R. (2010), Environmental Communication and the Public Sphere, London: Sage.

Dhiensawadkij, D. (2018), Reproducing the Politics of Climate Change: A Study of Thai Newspaper Reporting, Cardiff University.

Gans, H. (1980), Deciding What’s News: A Study of CBS Evening News, NBC Nightly News, Newsweek, and Time, California: Vintage Books.

Gitlin, T. (2003), The Whole World is Watching: Mass Media in the Making and Unmaking of the New Left with a New Preface, Berkeley: University of California Press.

Herman, E. and Chomsky, N. (1995), Manufacturing Consent, London: Vintage.

Maras, S. (2013), Objectivity in Journalism: Key concepts in Journalism, Cambridge: Polity.

McNair, B. (2017), “After Objectivity?: Schudson Sociology of Journalism in the Era of Post-Factuality”, Journalism Studies, 18(10).

Salathong, J. (2011), Media Coverage in the Context of Education for Sustainable Development: Climate Change in Thailand’s Newspapers, Waseda University.

Schudson, M. (1989), “The sociology of news production”, Media, Culture & Society, 11(3): 263-282.

________. (2003), The Sociology of News, New York: WW.Norton and Company.

Tuchman, G. (1976), “Telling Story”, Journal of Communication, 26.

________. (1980), Making News, New York: Free Press.

White, D. (2018), “The ‘Gatekeeper’: A Case Study in the Selection of News”, in Scammell, M. and Semetko, H. (eds.), in The Media, Journalism and Democracy, London: Routledge.

Boykoff, M. (2008), “Media and Scientific Communication: A Case of Climate Change”, Geological Society, London, Special Publications 305, retrieved 5 September 2014 from http://specpubgsl.highwire.org/content/305/1/11.short.

Boykoff, M. and Boykoff, J. (2007), “Climate Change and Journalistic Norms: A Case Study of US Mass-Media Coverage”, Geoforum, 38(6): 1190-1204, retrieved 5 September 2014 from http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0016718507000188.

hongkittavorn, K. (2013), “Thailand: A Troubled Path to a Hopeful Future”, in Williams, L. and Rich, R. (eds.), Losing Control: Freedom of the Press in Asia, ANU Press:219-238, retrieved 5 September 2014 from http://www.jstor.org/stable/j.ctt5vj71c.17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-05-2021