เสียงสะท้อนและข้อเสนอเชิงนโยบายของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย ต่อการปฏิบัติงานด้านกิจการโทรทัศน์ของ กสทช.
คำสำคัญ:
เสียงสะท้อนและข้อเสนอเชิงนโยบาย, อุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง, กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มาจากส่วนหนึ่งของรายงานโครงการติดตามและประเมินผล การปฏิบัติงานด้านกิจการโทรทัศน์ ประจำปี 2562 ภายใต้คณะกรรมการ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และ เลขาธิการ กสทช. มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลการดำเนินงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ในด้านกิจการโทรทัศน์ประจำปี พ.ศ. 2562 จากการสนทนากลุ่มย่อย (focus group) ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ได้แก่ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล ผู้ให้บริการโทรทัศน์ในระบบเคเบิล สมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย และนักวิชาการทางด้านสื่อ โทรทัศน์จากมหาวิทยาลัย ภายใต้กรอบคำถามการศึกษา 3 ข้อ คือ (1) การ ช่วยเหลือผู้ประกอบการกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล (2) การ พัฒนาประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ และ (3) การกำกับดูแลเนื้อหา ของอุตสาหกรรมโทรทัศน์
ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการช่วยเหลือผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาค พื้นในระบบดิจิทัล และการดำเนินการตามแผนแม่บทความถี่แห่งชาติ ตลอดจน การบรรเทาผลกระทบจากอุตสาหกรรมโทรทัศน์ถดถอย พบว่า ผู้ให้บริการ โทรทัศน์ภาคพื้นในระบบดิจิทัลเห็นว่าเป็นประโยชน์ท่ีได้รับความช่วยเหลือจาก กสทช. ท้ังในกรณีสนับสนุนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าเช่าโครงข่ายโทรทัศน์ ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลร้อยละ 50 แต่ความช่วยเหลือที่เกิดขึ้นนั้นล่าช้าเกินไป จนทำให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรงจนถึงขั้นเลิกกิจการ ในส่วนการพัฒนาประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม โทรทัศน์พบว่า กสทช. ควรสนับสนุนการพัฒนารายการโทรทัศน์ให้มีคุณภาพมาก ขึ้น ขาดรายการคิดวิเคราะห์ (critical thinking) รายการแลกเปลี่ยนความคิด เห็น (hard talk) การส่งเสริมคุณภาพของเนื้อหา ควรเริ่มจากการส่งเสริมผู้ผลิต เนื้อหาอย่างครบวงจร และส่งเสริมเด็กรุ่นใหม่อย่างทันท่วงที ขณะที่การกำกับ ดูแลเนื้อหาของอุตสาหกรรมโทรทัศน์พบว่า กสทช. ควรมีความชัดเจนในการ กำกับดูแลเนื้อหาที่ล่อแหลม มาตรการในการเซ็นเซอร์ และการจัดเรตติ้งต่างๆ ซึ่งควรเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อสร้างกติกาให้กับผู้ให้บริการได้รับรู้ร่วมกัน
References
เงื่อนไขในการปรับปรุงโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลเพื่อรองรับการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz. (2562), มติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ครั้งที่ 21/2562 เมื่อวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2562.
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 2).
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560).
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562).
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล พ.ศ. 2561.
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. 2562.
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecom-munications – IMT) ย่านความถี่ 703 - 748/758 - 803 เมกะเฮิรตซ์.
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทนผู้ได้รับผลกระทบ จากการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ในกรณีผู้รับใบอนุญาตให้บริการ โครงข่ายและผู้รับใบอนุญาตให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาค พื้นดินในระบบดิจิทัล.
ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทนผู้ได้รับผลกระทบจากการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ในกรณีผู้รับใบอนุญาตให้บริการ โครงข่ายและผู้รับใบอนุญาตให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาค พื้นดินในระบบดิจิทัล
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าชดเชยอันเนื่องมาจากการคืนใบอนุญาต ให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล.
ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบ ดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. 2556.
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินในการสำรวจความนิยมช่องรายการ โทรทัศน์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมโทรทัศน์ดิจิทัล.
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินในการสำรวจความนิยมช่องรายการ โทรทัศน์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมโทรทัศน์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2).
แผนการปรับปรุงโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลเพื่อรองรับการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน700 เมกะเฮิรตซ์ (Implementation plan) (2562), มติที่ประชุมคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ครั้งที่ 21/2562 เมื่อ วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2562.
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553.
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560.
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562.
คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่ 408/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบ กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติท 4/2562 (2562), สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://www.nbtc.go.th/law/
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 4/2562 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (2562), สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://library2.parliament.go.th/giventake/ncpo.html
“ฉับไว ‘กสทช.’ ยกเลิกประกาศเรตติ้งเจ้าปัญหา หลัง ‘ช่อง7’ ยื่นฟ้องศาลปกครอง ‘ล็อกสเป็ก’”(2562), ประชาชาติธุรกิจ, สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://www.pracha-chat.net/ict/news-375493
เปิดเผยเรื่องร้องเรียน (ม.ป.ป.), Call Center 1200 สำนักงาน กสทช., สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://crm.nbtc.go.th/nbtc_complaint/
เปิดรับข้อเสนอโครงการประเภทที่ 2 ประจำปี 2562 ภายใต้กรอบวงเงิน 326,750,000 บาท จำนวน 21 โครงการ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (2562), สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://btfp.nbtc.go.th/announcement/detail/1378
“ม.44 จุดเปลี่ยน “เรตติ้ง” ทีวีไทย ในมือ MRDA” (2562), Positioning, สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://positioningmag.com/1225820
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(2555), แผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559), สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://www.nbtc.go.th/Information/MasterPlan.aspx
________. (2561ก), แผนยุทธศาสตร์ สำนักงาน กสทช. ฉบับ 2 (พ.ศ. 2561-2564), สืบค้นเมื่อ26 มกราคม 2563 จาก nbtc.go.th/getattachment/About/แผนปฏิบัติการ-สำนักงานกสทช-ประจำปี/37715/แผนยุทธศาสตร์-สำนักงาน-กสทช-ฉบับที่-2.pdf.aspx
________. (2561ข), แผนการปฏิบัติการสำนักงาน กสทช. ประจำปี พ.ศ. 2562, สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก nbtc.go.th/getattachment/ITA/แผนดำเนินการ/แผนดำเนินงาน ประจำปี/แผนการดำเนินงาน-กสทช-ประจำปี-2562.pdf.aspx
________. (2561ค), 5 ปี บนเส้นทางทีวีดิจิทัล: บทเรียนและการเปลี่ยนแปลง, สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก http://lib.nbtc.go.th/ebook_detail?cid=18736&ctype=1
________. (2562ก), คำอธิบาย มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2562, สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://www.nbtc.go.th/News/Information/37326.aspx
________. (2562ข), โครงการศึกษาและวิเคราะห์คำนวณ เพื่อจัดทำแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระดับดิจิทัล บนย่านความถี่ 470-694 เมกะเฮิรตซ์, สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก http://nbtc.go.th/getattachment/Information/Price/จ้างที่ปรึกษา/โครงการศึกษาและวิเคราะห์คำนวณ-เพื่อจัดทำแผนความถี่/โครงการศึกษาและวิเคราะห์คำนวณ-เพื่อจัดทำแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล.pdf.aspx
________. (2562ค), รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ – โครงการศึกษาสภาพตลาดและพฤติกรรมของผู้รับชมเพื่อกำหนดนโยบายกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลที่เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป, สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/621200000002.pdf
________. (2563), วิเคราะห์พฤติกรรมการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์ Q1/2020, สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/630300000002.pdf
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2562), ประกาศสำนักงานป.ป.ช. เรื่อง ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562, สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://www.nacc.go.th/categoryde-tail/20180831184638361/20191118095113132
“‘เอไอเอส’ โชว์ทดสอบ 5G ข้ามภูมิภาค ควบคุมรถยนต์ไร้คนขับ” (2562), ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563 จาก https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9620000078399
Abbes, M. (2018), “Recent Developments and Future Plans of 700 MHz Band”, GSMA,retrieved 26 January 2020 from https://www.itu.int/en/ITU-D/Regional-Presence/ArabStates/Documents/events/2018/FUHF/Presentations/GSMA-Mohamed%20Abbes%20Updated%20Slides.pdf
Ericsson 5G Report: Industry Digitalization Could Be a USD 700 Billion Market by 2030 (2019), retrieved from https://www.ericsson.com/en/news/2019/10/ericsson-5g-for-business-a-2030-market-compass
EGHAM, U.K. (2019), “Gartner Forecasts Worldwide 5G Network Infrastructure Revenue to Reach $4.2 Billion in 2020”, retrieved 26 January 2020 from https://www.gartner.com/en/newsroom/press-releases/2019-08-22-gartner-forecasts-worldwide-5g-network-infrastructure
Poorvu Center for Teaching and Learning (n.d.), CIPP Model, Yale University, retrieved 26 January 2020 from https://poorvucenter.yale.edu/CIPP
Sheng, Y. (n.d.), “What is Good Governance”, United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP), retrieved 26 January 2020 from https://www.unescap.org/sites/default/files/good-governance.pdf
Srinuan, C. and Bohlin, E. (2018), “A Country Comparative Study of Spectrum Re-farming:Implication for Thailand”, Econstor, retrieved 26 January 2020 from https://www.econstor.eu/handle/10419/190333
G Observatory Quarterly Report 7 Up to March 2020 (2020), “The European Commission”,retrieved 26 January 2020 from http://5gobservatory.eu/observatory-overview/observatory-reports/