การสื่อสารประเด็นทางการเมืองผ่านบทเพลงกลุ่มดนตรีพังก์ ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2562

ผู้แต่ง

  • พีรณัฐ กัลวิชา นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ อาจารย์ ดร. สาขาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, ประเด็นทางการเมือง, กลุ่มดนตรีพังก์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงบันดาลใจ ลักษณะการสื่อสาร และประเด็นทางการเมืองผ่านบทเพลงของกลุ่มดนตรีพังก์ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2562 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ ตัวบท (textual analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กับ นักดนตรีพังก์และผู้ประพันธ์บทเพลง โดยมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มวงดนตรีพังก์ จำนวน 5 วง ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ผลิตผลงานเพลงเผยแพร่ในช่วงเวลา พ.ศ. 2557-2562 และเคยแสดงงานดนตรีทางการเมืองหรือเคยร่วมชุมนุมทางการเมือง และศึกษาบทเพลงพังก์ จำนวน 18 เพลง โดยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของการ พรรณนาเชิงวิเคราะห์ (analytical description)
                ผลการวิจัยพบว่า แรงบันดาลใจที่ใช้ในการสื่อสารทางการเมืองผ่าน บทเพลงพังก์คือ ผลกระทบทางการเมืองในชีวิตประจำวัน นโยบายทางภาครัฐ และ แนวคิดทางการเมือง ส่วนลักษณะการสื่อสารพบว่า การเลือกคำและน้ำเสียงที่ ใช้จะแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร ได้แก่ การกล่าวโจมตีรัฐ การ ระบายความคับข้องใจทางการเมืองและการปลุกระดมทางความคิด สำหรับประเด็นทางการเมืองที่สื่อสารผ่านบทเพลงพังก์ มี 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) ปัญหาสังคม (2) ระบบการปกครอง (3) ชนชั้นทางสังคม และ (4) รัฐบาล ซึ่งวงดนตรีพังก์ในแต่ละวงจะมีประเด็นที่สื่อสารเป็นหลักแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ผลกระทบทางการเมืองและบริบททางสังคมของสมาชิกในวง

Author Biography

อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์, อาจารย์ ดร. สาขาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



References

กาญจนา แก้วเทพ (2552), การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค, กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2557), ปรัชญานิเทศศาสตร์และการสื่อสาร, นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

เชาว์วัจน์ พาณิชย์เสรีวิศิษฐ์ (2552), การสื่อสารทางการเมืองผ่านบทเพลงของยืนยง โอภากุล และวงคาราบาว ในช่วงปี พ.ศ. 2524-2552, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัย สื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.

ณัฏฐณิชา นันตา (2553), วาทกรรมเพลงเพื่อชีวิตในบริบทการเมืองไทย (พ.ศ. 2525-2550), วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัท รักษาญาติ (2555), ดนตรีกับการเมือง: อธิบายความเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยผ่านดนตรี, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม เอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

ปรานี วงษ์เทศ (2523), พื้นบ้านพื้นเมือง, กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

ภูมิ พ่วงกิ่ม (2558), ดนตรีกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองไทย พ.ศ. 2547-2557, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์.

วรพงษ์ วจะรักษ์เลิศ (2557), การสื่อสารทางการเมืองผ่านบทเพลงของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ: ศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2550-2556, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี บัณฑิต วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

ศิวกานต์ ปทุมสูติ (2553), คู่มือการอ่านคิดวิเคราะห์, สุพรรณบุรี: ศูนย์เรียนรู้ทุ่งอาศรม.

สุกรี เจริญสุข (2538), ดนตรีวิจารณ์, กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์.

Elbourne, R. (1976), A Mirror of Men? Traditional Music as a Reflection of Society, Illinois: University of Illinois Press.

Laing, D. (1985), One Chord Wonders: Power and Meaning in Punk Rock, Milton Keynes: Open University Press.

Lloyd, A. (1967), Folk song in England, London: Lawrence & Wishart.

Merriam, A. (1964), The Anthropology of Music, Illinois: Northwestern University Press.

กิเลน ประลองเชิง (2554), “มนต์การเมือง”, สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562 จาก https://www.thairath.co.th/content/141332.

คำยวง วราสิทธิชัย (2558), เอกสารเสริมวิชา มธ.104 การคิด อ่าน และเขียนอย่างมีวิจารณญาณ,

สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2562 จาก https://arts.tu.ac.th/104/new/tu104_03.pdf.

ประกิต กอบกิจวัฒนา (2561), “พังค์ ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ แต่คือเครื่องมือ-วัฒนธรรมของชนชั้น

ล่าง ต้านขนบดั้งเดิม”, สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2562 จาก https://prachatai.com/journal/2018/11/79804.

วิมลสรรค์ ไสลวงษ์ (2541), “คำหยาบ: คำที่ให้โทษทั้งแก่ผู้ส่งและผู้รับ”, สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2564 จาก

http://www.human.cmu.ac.th/~thai/sompong/thailang/badword.htm.

สันติสุข กาญจนประกร และคณะ (2561), “ประเทศกูมี LIBERATE P ชวนแร็พเพอร์ทะเลาะอีกสักรอบ”, สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562 จาก https://waymagazine.org/interview-liberate-p/.

BlockATV True54.70 (2558), “พี่ยศ ศรันย์พงศ์ สุภานนท์ (ยศเฟส) ผู้รับใช้ดนตรีอันเดอกราวด์ By เดย์ Thaitanuim@Belive It EP.35”, สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564 จาก https://youtu.be/_uKyssKXs3Q,

Channel V Thailand (2555), “โตมาด้วยกัน ก๊อป แก๊ป T-Bone”, สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564 จาก https://youtu.be/rsv0Ag_q4cc.

Ketchell, M. (2018), “Punks Are Not Dead in Indonesia, They’ve Turned to Islam”,retrieved 28 August 2019 from https://theconversation.com/punks-are-not-dead-in-indonesia-theyve-turned-to-islam-93136.

Peacock, T. (2019), “Best Political Punk Songs: 20 Essential Anti-Establishment Tirades”,retrieved 20 April 2021 from https://www.udiscovermusic.com/stories/best-political-punk-songs/.

Sookpanon, S. (2019), “The Scene: Yos [Blast Magazine]”, retrieved 20 April 2021 from https://punkrockbkk.com/behind-the-scene-yos-blast-magazine/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-08-2021