การสื่อสารอัตลักษณ์ของนักพนันหวยใต้ดินชนชั้นกลาง
คำสำคัญ:
การสื่อสาร, อัตลักษณ์, นักพนันหวยใต้ดิน, ชนชั้นกลางบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารอัตลักษณ์ของนักพนันหวย ใต้ดินชนชั้นกลาง โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์ ภาคสนาม การสังเกตภาคสนามแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึก ด้วยวิธีการ สัมภาษณ์แบบบอกต่อ และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็นแบบ เฉพาะเจาะจงพื้นที่ที่ผู้วิจัยมีเครือข่ายในจังหวัดนครราชสีมา
ผลการวิจัยพบว่า นักพนันหวยใต้ดิน 8 คน มีวัตถุประสงค์ของการเข้ามา อยู่ในวงจรหวยใต้ดิน คือ เล่นเพื่อลุ้น สร้างความสนุกสนาน และสร้างเครือข่าย กับผู้อื่น นักพนันหวยใต้ดินชนชั้นกลางจะเลือกเล่นพนันหวยจากคนใกล้ชิด นักพนัน หวยใต้ดินชนชั้นกลางประกอบสัมมาอาชีพที่มีหน้ามีตาในสังคมมีลีลาการใช้ ชีวิต (lifestyle) ที่ทันสมัย สำเร็จการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เป็นผู้ที่ชอบ เข้ารวมกลุ่มกับผู้คนในสังคมอย่างสม่ำเสมอ ผลกระทบทางธุรกิจที่นักพนันหวย ใต้ดินเคยประสบมาจากการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น นักพนันจึงเชื่อว่า การ หันมาเล่นพนันหวยจะช่วยบรรเทาจิตใจและสถานการณ์ช่วงนั้นได้ นอกจากนี้ นักพนันหวยใต้ดินชนชั้นกลางยังหวังพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นสะพานเชื่อมต่อขอ ให้ตนเองประสบความสำเร็จ การเสี่ยงโชคสามารถนำมาอธิบายการสื่อสารอัตลักษณ์ได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) มุมมองที่ผู้อื่นมองนักพนันหวยใต้ดิน เช่น เป็น นักธุรกิจมืออาชีพ เป็นผู้ตีเลขเด็ดได้แม่นยำ ผู้ที่ดวงดี ผู้มีบุญวาสนา (2) มุมมอง นักพนันหวยใต้ดินนำเสนอผ่านสื่อ เช่น ชอบเสี่ยงโชค รักความสนุกสนาน มีกิจการมั่นคง ใจบุญสุนทาน มีเพื่อนฝูงหลากหลายวงการ (3) มุมมองที่นักพนัน หวยใต้ดินมองตัวเอง เช่น เล่นพนันอย่างมีสติและมีชั้นเชิง การพนันเป็นแค่เกม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ดังนั้นจึงไม่ได้รับผลกระทบจากการพนัน และยอม เปิดเผยตัวตนทั้งในโลกจริงและโลกโซเชียลแต่ยังอยู่ในวงจำกัด
References
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2560), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสารศึกษา, มหาสารคาม: อินทนิล.
ธารา มีบุญ (2546), ปัจจัยที่มีต่อการเล่นการพนันหวยเถื่อนในกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวลน้อย ตรีรัตน์ และคณะ (2557), หวย: ความรู้และความหมายในมุมมองของผู้หญิง, กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร (2543), “เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยหวยใต้ดิน”, ใน หวย ซ่อง บ่อน ยาบ้า เศรษฐกิจนอกกฎหมายกับนโยบายสาธารณะในประเทศไทย, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และศูนย์การศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุณีย์ แววมณี (2542), เครือข่ายการแพร่กระจายของสื่อที่นำเสนอเรื่องราวทางเพศในกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว (2561), สื่อศาสตร์ หลักการ แนวคิด นวัตกรรม, ปทุมธานี: นาคร.
“ขอจัดหนักเปย์คุณแม่ หลังเซ็งหนัก ชวดรางวัลที่ 1 ไปเพียงตัวเดียว”, เดลินิวส์ออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563 จาก https://www.dailynews.co.th/entertainment/723848
ทีมข่าว TCIJ (2562), “7 ปี สนง.สลากกินแบ่งฯ รายได้ 5.97 แสนล้าน กำไร 1.51 หมื่นล้าน-เปิดงานวิจัยเปลี่ยนหวยเป็นเงินออม”, สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563 จาก https://www.tcijthai.com/news/2019/3/scoop/8914
ทีมข่าวท้องถิ่น (2563ก), “กองสลากฯ ยืนยัน ไม่เลื่อนวันออกหวย งวด 16 พ.ค. 2563”, ไทยรัฐออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2563 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/1832546
________. (2563), “ปิดฉาก ‘หวย 30 ล้าน’ ลุงจรูญมีสิทธิ์ใช้เงิน หลังศาลยกอุทธรณ์ครูปรีชา”, ไทยรัฐออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/central/1788133
ทีมข่าวบันเทิง (2562), “‘เบลล่า’ สายเปย์เตรียมเงินปลอบใจแม่ชวดรางวัลที่ 1 ‘เบลล่า ราณี’”,ไทยรัฐออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/central/1788133
________. (2563), “โอ้โห สุนารี ราชสีมา ดวงเฮงถูกหวยเกือบ 80 ใบ รับทรัพย์กว่า 2 แสนบาท”, ไทยรัฐออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.thairath.co.th/entertain/news/1773623
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (2563), “Social Media, Social Capital: การสะสมทุนทางสังคมบนโลกโซเชียลมีเดีย”, สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563 จาก http://arit.npru.ac.th/system/sys_filedownload/20190325084058_22fce98c3d04587cbf529a17e64e0e0b.pdf
Creative Thailand (2563), “มองไปข้างหน้า 2050: พลังจากการเติบโตของชั้นกลาง (Middle Class Growth)”, สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563 จาก https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/LOOK-ISAN-NOW-Middle-class-growth