ศาสน-บันเทิง: การสื่อสารการทำบุญตามหลัก พระพุทธศาสนาบนสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านกระบวนคิดเชิงออกแบบ

ผู้แต่ง

  • วิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์ อาจารย์ ดร. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ปุณฑริกา รวิกุล อาจารย์ ดร. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การทำบุญ, คนไทย, พุทธศาสนา, แนวคิดเชิงออกแบบ, ศาสน-บันเทิง

บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางสำหรับการผลิตสื่อ สร้างสรรค์ ที่สามารถสื่อสารเนื้อหาการทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนาสู่ พุทธศาสนิกชนชาวไทยบนสื่อสังคมออนไลน์ ผ่าน “กระบวนการคิดเชิงออกแบบ” ที่เป็นการวิจัยแบบคุณภาพและปริมาน ผู้วิจัยได้ศึกษาถึงปรากฏการณ์ของการ ทำบุญในพระพุทธศาสนาจากสื่อธรรมออนไลน์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการผลิตสื่อออนไลน์ต้นแบบ ประเภทควิซ ชื่อ “คนไทยทำบุญ” โดยประยุกต์แนวคิด “ศาสน-บันเทิง” ในการ ผลิตสื่อออนไลน์ต้นแบบ แล้วเผยแพร่บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ
                ผู้วิจัยพบว่า สื่อต้นแบบนี้สามารถดึงดูความสนใจของกลุ่มตัวอย่างได้ มากกว่า 1,400 คน และสามารถสรุปหลักเกณฑ์สำหรับการผลิตสื่อต้นแบบนี้ ใน 3 มิติ คือ มิติที่ 1 การคัดกรองเนื้อหาและการอ้างอิงแหล่งข้อมูล เนื้อหาที่ นำมาใช้ควรแสดงถึงขอบเขตและความเชื่อมโยงของการทำบุญกับเป้าหมายของ พระพุทธศาสนาอย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง และไม่คลุมเครือ ท่ีแตกต่างจากลัทธิความ เชื่ออื่นๆ และนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ มิติที่ 2 สื่อสารด้วยภาษาและช่องทางที่สอดคล้องกับพฤติกรรมในปัจจุบัน หลีกเลี่ยงการใช้สำนวนภาษาที่ต้อง แปลไทยเป็นไทย ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยใน สังคมยุคดิจิทัล ซึ่งช่วยลดช่องว่างและจุดอ่อนของสื่อดั้งเดิมในพระพุทธศาสนา และมิติที่ 3 กระตุ้นการมีส่วนร่วมด้วยกลยุทธ์การสื่อสารที่สะท้อนตัวตน สื่อสาร ด้วย “ควิซ” ประกอบภาพวาดและคำโปรยที่มีนัยเชิงท้าทาย และกระตุ้นให้ เกิดความอยากรู้ถึงผลลัพธ์ของตนเองภายหลังการร่วมปฏิสัมพันธ์กับสื่อ ส่งผล ให้ได้รับความบันเทิงและเรียนรู้ในขณะเดียวกันโดยสมัครใจ

References

กรฤทธ์ ปัญจสุนทร และคณะ (2561), “การแก้กรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท”, วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(51): 342-361.

ประเวศ อินทองปาน. (2018). “การธำรงวัฒนธรรมไทยที่มีรากฐานจากพระพุทธศาสนา”, วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 3(1).

พระครูขันติวโรภาส (ขาว ขนฺติโก) (2559), “พุทธความรู้ในสังคมออนไลน์”, วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 3(3): 102-109.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (2550), ภาวะผู้นำ, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุขภาพใจ.

พระมหาประกาศิต อาจารปาลี (แก้วทองสุข) (2561), “พุทธบัญญัติเกี่ยวกับนักบวชนอกศาสนา(The Disciplianry Rules Pertaining to Non-Vusshist Monks, Annatitthiya)”, วารสาร สันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(Sp1): 289-309.

พระมหาสิทธิพิพัฒน์ สิริปญโญ (2548), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, กรุงเทพฯ: วัดราชโอรสาราม.

รัชนีกร ตาเสน และทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์ (2562), “ความเชื่อและพฤติกรรมการทำบุญใส่บาตรและถวายภัตตาหารของชาวพุทธที่เอื้อต่อสุขภาพของพระสงฆ์: กรณีศึกษาในจังหวัดน่าน”, วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(4).

วศิน ประดิษฐ์ศิลป์ (2557), “นวัตกรรมการสื่อสารศาสนาของพระไพศาล วิสาโล ในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน”, วารสารวิชาการคุณธรรมความดี, 3(1): 35-55.

วีธะวัฒน์ ชลสวัสดิ์ (2559), แก้กรรมตามคำพระพุทธเจ้า, กรุงเทพฯ: กรีน ปัญญาณ.

เสฐียร พันธรังษี (2546), ศาสนาเปรียบเทียบ, กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

Jin, D. (2018), “The Mediatization of Buddhism in Digital Media: The Contemporary Reflection of Uisang’s Hwaom Thought”, Journal of Media and Religion, 14(4): 196-210.

Liedtka, J. and Ogilvie, T. (2011), Designing for Growth: A Design Thinking Tool Kit for Managers, Columbia: Columbia University Press.

Panupat, K. (2017), Thai Merit Making Behavior and Its Implication on Communication Plan for NPOs, unpublished MSc independent study in Marketing, Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University.

กระทรวงวัฒนธรรม (2559), “10 วิธีทำบุญให้ได้บุญ”, สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=106&filename=index

มติชนสุดสัปดาห์ (2560), “ถึงเวลา...จัดระเบียบสงฆ์ กู้วิกฤตศรัทธากลับคืน”, สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_57668

มูลนิธิสื่อธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชฺโช (2021), “หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชฺโช: ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์”, สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก https://www.dhamma.com/

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ (2563), “ความพึงพอใจในชีวิตของคนไทย ในมุมมองแต่ละ Gen”, สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2563, จาก https://tdri.or.th/2020/07/thailands-life-satisfaction-and-happiness/

Chang, C. (2018), “Visualizing Brand Personality and Personal Branding: Case Analysis on Starbucks and Nike’s Brand Value Co-Creation on Instagram”, retrieved 1 March 2021, from http://search.proquest.com/docview/1618219129?accountid=44809

Dhamma.com (2558), “หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 30 ต.ค. 2558 (ซีดี 581030A)”, สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก https://www.dhamma.com/download/cd62/.

________. (2562ก), “การปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์: หลวงพ่อปราโมทย์ 1 ม.ค. 2562 (ไฟล์ 620101 ซีดี80)”, สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก https://www.youtube.com/watch?v=hjK4bzTCUS0

________. (2562ข), “ศาสนาพุทธเป็นกรรมวาทีกับกิริยาวาที: หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม”, สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก https://www.dhamma.com/download/cd83/

Hasso Plattner Institute of Design at Standford (n.d.), “An Introduction of Design Thinking Process Guide”, retrieved 1 March 2021, from http://web.stanford.edu/~mshanks/MichaelShanks/files/509554.pdf

Strachan, J. (2018), “It’s an Approach, Not a Process”, retrieved 1 March 2021, from https://uxplanet.org/its-an-approach-not-a-process-66e348489fe1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-11-2021