เนื้อหาที่ไม่เป็นความจริงแท้ในสื่อสถาบันที่นำเสนอเนื้อหา ประเภทเรื่องจริง

ผู้แต่ง

  • รุจน์ โกมลบุตร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

สื่อสถาบัน, เนื้อหาที่ไม่เป็นความจริงแท้, ข่าวสืบสวนสอบสวน, สื่อเซนเซอร์ตัวเอง

บทคัดย่อ

          การที่สื่อสถาบันที่นำเสนอเนื้อหาประเภทเรื่องจริง ต้องนำเสนอข้อเท็จ จริงแก่สาธารณะถือเป็นบทบาทสำคัญ แต่ที่ผ่านมาพบว่า สื่อสถาบันจำนวนหนึ่ง กลับนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นความจริงแท้ ซึ่งหมายถึงเนื้อหาประเภทเรื่องจริง เช่น ข่าว สารคดี รายการสาระ การสัมภาษณ์-สนทนา ฯลฯ แต่กลับมีเนื้อหาที่เจือ ความเท็จ ไม่รอบด้าน ไม่นำเสนอเบื้องหลังของเหตุการณ์ ไม่ซื่อตรง และนำเสนอ ด้วยความมีอคติลำเอียง หรือมีผลประโยชน์แอบแฝง บทความนี้ซึ่งพัฒนามา จากการวิจัยเรื่อง การจัดการของสื่อสถาบันที่นำเสนอเนื้อหาประเภทเรื่องจริง ที่ไม่เป็นความจริงแท้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของการนำเสนอเนื้อหาที่ ไม่เป็นความจริงแท้ ศึกษาแนวทางการจัดการ และปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวทางการ จัดการของพนักงานในกองบรรณาธิการต่อการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นความจริง แท้ และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ
          จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 8 คน ที่มีประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ ไม่เป็นความจริงแท้ พบการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นความจริงแท้ทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) เนื้อหาที่มีข้อมูลเท็จจากแหล่งข่าวที่พูดเท็จ (2) เนื้อหาความเคลื่อนไหว ของดารา แต่กลับกลายเป็นว่า ศิลปินประดิษฐ์เนื้อหาขึ้นมาเพราะมีเป้าหมาย แอบแฝงอย่างอื่น (3) เนื้อหาประเภทรีวิวอาหาร แต่เป็นการรีวิวที่ถูกถอดเนื้อหาเชิงลบ (4) เนื้อหาที่แฝงการโฆษณา แต่กองบรรณาธิการไม่แจ้งประชาชนว่าเป็น พื้นที่โฆษณา และ (5) การเซนเซอร์ตัวเองของสื่อ 
          การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแนวทางจัดการ 3 แบบ ได้แก่ (1) การจัดการแบบต่อสู้ เช่น ใช้การทำข่าวสืบสวนสอบสวน เพื่อเปิดโปงการทำทุจริตของเจ้าหน้าที่ หรือนำเสนอเนื้อหาตรงไปตรงมาโดยไม่สนใจค่าจ้างจากแหล่งข่าว ปัจจัยที่ทำให้นักข่าวเลือกจัดการแบบต่อสู้ เพราะมีทัศนะที่ต้องการทำความจริงให้ปรากฏ มีทักษะการทำข่าวแบบสืบสวนสอบสวน ได้รับการสนับสนุนจากกองบรรณาธิการ ประชาชน และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ทำให้การรายงานข่าวมีความคืบหน้า (2) การจัดการแบบต่อรอง เช่น นักข่าวเตือนผู้อ่านว่า การเป็นข่าวของดาราอาจมีวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝง หรือนักข่าวไม่นำเสนอข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่เสนอให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่แปะลิงก์ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมให้ผู้อ่านไปอ่านเอง ปัจจัยที่ทำให้นักข่าวเลือกจัดการแบบต่อรอง เพราะประชาชนสนใจความเคลื่อนไหวของดารา สื่อจึงต้องรีบนำเสนอข่าวโดยไม่ตรวจสอบเพื่อรักษาเรตติ้ง หรือมีกฎหมายอาญา ม.112 ทำให้สื่อต้องเซนเซอร์ตัวเอง (3) การจัดการแบบตั้งรับ เช่น นักเขียนโดนฝ่ายขายถอดเนื้อหารีวิวอาหารที่เป็นลบ หรือกองบรรณาธิการนำเสนอโฆษณาแฝง โดยไม่แจ้งว่า เป็นพื้นที่โฆษณา ปัจจัยที่ทำให้เลือกการจัดการแบบตั้งรับ เพราะเป็นโมเดลธุรกิจที่สื่อได้ชิมอาหารฟรี แต่ห้ามวิจารณ์อาหารในเชิงลบ หรือผู้ประกอบการสื่อต้องการรายได้จากโฆษณาแฝง
          ข้อเสนอแนะคือ (1) กองบรรณาธิการต้องกำหนดนโยบายการทำข่าวที่เหมาะสม และควรแยกฝ่ายขายและกองบรรณาธิการออกจากกัน (2) สภาวิชาชีพสื่อควรสร้างการยอมรับจากสมาชิกในการควบคุมกันเอง (3) โรงเรียนนิเทศศาสตร์ควรฝึกผู้เรียนในเรื่องจรรยาบรรณ และสร้างการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อแก่ประชาชน (4) ประชาชนควรรับสื่อจากหลายๆ แหล่ง และมีวิจารณญาณในการรับสื่อ และ (5) หน่วยงานรัฐควรเปิดเผยข้อมูลสาธารณะตามที่กฎหมายกำหนด เสริมสร้างบรรยายกาศที่เป็นประชาธิปไตย และใช้อำนาจในการกำกับดูแลโฆษณาแฝงเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 

References

กรรณิกา รุ่งเจริญพงษ์ (2558), ธุรกิจข่าว, กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ขจรจิต บุนนาค (2555), “นักข่าวควรทำอย่างไรเมื่อพบกับการสร้างข่าว”, นักบริหาร, 32(2): 150-161.

จินตนา ตันสุวรรณนนท์ (2559), “สร้างการรู้เท่าทันสื่อคือการพัฒนาคุณภาพสื่อและผู้บริโภคสื่อในสังคมไทยอย่างยั่งยืน”, วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 9(2): 89-97.

เฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล และคณะ (2561), “ข่าวลวง: ปัญหาและความท้าทาย”, วารสารวิชาการ กสทช.ประจำปี 2561, 173-192.

ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา และพิรงรอง รามสูต (2557), “การคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากเนื้อหารายการที่อาจเป็นภัยในกิจการโทรทัศน์ไทยภายใต้ภาวะสื่อหลอมรวม”, วารสารนิเทศศาสตร์, 32(4): 51-76.

บุณยาพร กิตติสุนทโรภาส (2564), “ทีวีดิจิทัล ทำเลทองของโฆษณาในยุคโควิด-19”, ฉลาดซื้อ, 28(249): 9-15.พัชราภา เอื้ออมรวนิช (2561), ความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนในยุคข่าวสารไร้พรมแดน, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

________. (2562), “สื่อมวลชนกับการกำกับดูแลตนเอง”, วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(3): 150-161.

ภาคภูมิ หรรนภา (2555), การเขียนข่าวเบื้องต้น, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อินทนิล.

รุจน์ โกมลบุตร (2561), “ผลกระทบของแหล่งข่าวที่ถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์”, วารสารศาสตร์, 11(2): 200-236.

________. (2563), “บทเรียนของสื่อสถาบันในการรายงานเหตุการณ์การกู้ภัยนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอน ทีมหมูป่าอะคาเดมีติดในถ้ำวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย”, วารสารศาสตร์, 13(2): 9-47.

ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ (2551), ความสัมพันธ์ไทย-ลาวในสื่อบันเทิงไทย: ศึกษากรณีการประกอบสร้าง อัตลักษณ์ความเป็นลาว จากภาพยนตร์เรื่อง “หมากเตะโลกตะลึง”, วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สรานนท์ อินทนนท์ (2562), รู้เท่าทันข่าว (News Literacy), ปทุมธานี: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).

สุภา ศิริมานนท์ (2529), จริยธรรมของหนังสือพิมพ์, กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ.

เสกสรรณ ประเสริฐ (2562), “กระบวนการทำข่าวเชิงสืบสวน The Process of Investigative Reporting”, วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 18(2):353-368.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (2550), สื่อสารมวลชนเบื้องต้น: สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

De Burgh, H. (2000), Investigative Journalism: Context and Practice,London: Routledge.

Feldstein, M. (2006), “A Muckraking Model Investigative Reporting Cycles in American History”, The Harvard International Journal of Press/Politics, 11(2): 105-120.

พิจิตรา สึคาโมโต้ (2562), “รู้จักข่าวปลอมในสื่อออนไลน์”, สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2564 จาก https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1528136010664438&id=191774957633890

พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ (2558), “ระบบเซนเซอร์สื่อในสังคมไทย”, สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635888

Patcharee Bonkham (2560), “5 องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ”, สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564 จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/39558-5%20องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ.html

Wardle, C. (2017), “Fake News. It’s complicated”, retrieved 24 March 2021 from https://firstdraftnews.org/fake-news-complicated/.

ดา, สัมภาษณ์ 17 ธันวาคม 2564.

แตงโม, สัมภาษณ์ 16 กรกฎาคม 2564.

บี, สัมภาษณ์ 3 กรกฎาคม 2564.

ปีโป้, สัมภาษณ์ 25 กันยายน 2564.

มิ้นต์, สัมภาษณ์ 2 กรกฎาคม 2564.

มูน, สัมภาษณ์ 1 กันยายน 2564.

ส้ม, สัมภาษณ์ 4 ธันวาคม 2564.

โอบ, สัมภาษณ์ 6 สิงหาคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022