การสื่อสารและสัมพันธบททางศิลปะ: กรณีศึกษาผลงานของถวัลย์ ดัชนี และตั้ม MAMAFAKA

ผู้แต่ง

  • เหมือนฝัน คงสมแสวง นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, สัมพันธบท, ศิลปะ, ถวัลย์, ดัชนี, MAMAFAKA

บทคัดย่อ

           งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการสื่อสารและสัมพันธบทของรูปแบบและเนื้อหาของตัวบทปลายทางที่สร้างสรรค์มาจากผลงานศิลปะของ ถวัลย์ ดัชนี ในฐานะศิลปะชั้นสูง และผลงานศิลปะของ ตั้ม MAMAFAKA ในฐานะศิลปะประชานิยม รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อสัมพันธบทดังกล่าว พร้อมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบทั้ง 2 กรณี งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์ตัวบท การเก็บข้อมูลภาคสนาม และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งหมายรวมถึงผู้ผลิตและผู้รับสาร ผ่านแนวคิดสัมพันธบทและการผลิตซ้ำ
            ผลการวิจัยพบว่า ตัวบทปลายทางแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ ตัวบทปลายทางแบบเลียนแบบ ตัวบทปลายทางแบบขยายความ/ตัดทอน และตัวบทปลายทางแบบดัดแปลง สัมพันธบทขยายจำนวนผู้รับสารให้มากขึ้น ก่อให้เกิดประชาธิปไตยทางวัฒนธรรมในระดับหนึ่ง สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อสัมพันธบท ได้แก่ ภูมิหลังของผู้ผลิต การเคารพในต้นฉบับ ลิขสิทธิ์ เป้าหมายในการผลิตซ้ำ คุณลักษณะของสื่อ และผู้รับสาร
            จากการเปรียบเทียบกรณีศึกษาพบความเหมือน คือ ผู้ผลิตมีความเคารพในตัวตนและ/หรือผลงานของศิลปิน ตัวบทปลายทางมีทั้งการนำเสนอตามตัวบทต้นทางทั้งหมดและแบบ metonymy สัมพันธบทเกิดขึ้นภายใต้ลิขสิทธิ์ เว้นแต่ตัวบทปลายทางแบบดัดแปลงบางชิ้น และมีการต่อสู้และต่อรองอยู่ทั้งในพื้นที่ของวัฒนธรรมชั้นสูงและวัฒนธรรมประชานิยม
             การศึกษาพบความแตกต่าง คือ งานศิลปะของ ถวัลย์ ดัชนี เป็นตัวบทต้นทางที่เลียนแบบได้ยาก ในการถ่ายโยงรูปแบบและเนื้อหามักมีความเคร่งครัด ตัวบทปลายทางแบบเลียนแบบมีมูลค่าสูง ขณะที่ยิ่งตัวบทปลายทางห่างไกลจากตัวบทต้นทางมากเท่าไร ยิ่งส่งผลให้ตัวตนของศิลปินลดลงมากเท่านั้น นอกจากนั้น ยังมีลักษณะเชิงพาณิชย์น้อย และเป็นตัวบทแบบปิด ขณะที่งานของ ตั้ม MAMAFAKA เป็นตัวบทต้นทางที่เลียนแบบง่าย การถ่ายโยงรูปแบบและเนื้อหาไม่มีความเคร่งครัดมากนัก ตัวบทปลายทางแบบดัดแปลงมีมูลค่าสูง ตัวบทปลายทางรักษาความเป็นตัวตนของศิลปินได้ดี ผลิตขึ้นเพื่อการพาณิชย์อย่างเปิดเผย และเป็นตัวบทแบบเปิด
             งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การผลิตซ้ำเป็นวิธีการหนึ่งในการทำให้ตัวบทศิลปะมีชีวิตยืนยาว โดยหากผู้ผลิตเข้าใจและยอมรับในสัมพันธบท จะทำให้เกิดตัวบทปลายทางได้อย่างไม่รู้จบ และสามารถสร้างมูลค่าจากตัวบทได้อย่างต่อเนื่อง สอดรับกับแนวคิดศิลปะส่องทางให้กัน ทั้งนี้ ในการผลิตซ้ำนั้นจะเห็นการต่อรองระหว่างการพยายามรักษาอำนาจของตัวบทต้นทาง และการสร้างความแท้ลวง (pseudo-authenticity) ของตัวบทปลายทางเสมอ

References

กาญจนา แก้วเทพ (2553), แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

________. (2557), ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ (2555), สื่อที่ใช่ ของใครที่ชอบ: การ์ตูน โทรทัศน์ท้องถิ่น แฟนคลับ, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2553), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

คอบลีย์, พี (2558), สืบสัญศาสตร์, แปลโดย อธิป จิตตฤกษ์, กรุงเทพฯ: มิชชั่น อินเตอร์ พริ้นท์.

จันทนี เจริญศรี (2545), โพสต์โมเดิร์นกับสังคมวิทยา, กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2560), บทแนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม (Introducing Poststructuralism), นนทบุรี: ภาพพิมพ์.

ซาร์ดาร์, แซด และเคอร์รี่, พี (2548), สู่โลกหลังสมัยใหม่, แปลโดย วรนุช จรุงรัตนาพงศ์, กรุงเทพฯ: สามลดา.

นพพร ประชากุล (2543), “สัมพันธบท (Intertextuality)”, สารคดี, 16(182): 175-177.

________. (2552), ยอกอักษร ย้อนความคิด 2, กรุงเทพฯ: อ่านและวิภาษา.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ (2549), “‘ความต่าง’ ของ ‘วิธีคิด’ ต่อวัฒนธรรมกระแสนิยม”, ใน ฐิรวุฒิ เสนาคำ (บ.ก.), เหลียวหน้าแลหลังวัฒนธรรมป๊อป, กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

บาร์ตส์, อาร์ (2547), มายาคติ, แปลโดย วรรณพิมล อังคศิริสรรพ, กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (2561), สารกับการสื่อความหมาย, กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

อรรถสิทธิ์ สิทธิดำรง และพิพัฒน์ พสุธารชาติ (2558), กลิ่นไอ การเมือง และภาพยนตร์ อ่าน “งานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำแบบจักรกล” ของ วอลเตอร์ เบนยามิน, กรุงเทพฯ: วิภาษา.

อุมาพร มะโรณีย์ (2551), สัมพันธบทของการเล่าเรื่องในสื่อการ์ตูน ละครโทรทัศน์ และนวนิยาย, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Woodfin, R. and Zarate, O. (2555), Introducing Marxism, แปลโดย ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Allen, G. (2000), Intertextuality, London: Routledge.

Benjamin, W. (1969), The Work of Art in the Age of Mechanical Reproduction Probabilities, translated by Zohn, H., New York: Schocken Books.

Jenkins, H. (1992), Textual Poachers: Television Fans & Participatory Culture, New York: Routledge.

Sharma, A. (1996), “Sounds Oriental: The (Im)possibility of Theorizing Asian Musical Cultures”, in Sharma, S. et al. (eds.), Dis-orienting Rhythms: The Politics of the New Asian Dance Music, United Kingdom: Redwood Books.

ART EYE VIEW (2557), โดนบอมบ์แล้วจ้า ปลาหมึกยักษ์ และ Mr.Hell Yeah ของ MAMAFAKA แฟนคลับแสนเสียดาย นัดระดมพลทาสีดำทับ, สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2563 จาก celebonline.in.th/lifestyle/arteyeview/17643/

Jenkins, H. (2008), The Moral Economy of Web 2.0 (Part Two), retrieved 27 April 2021 from henryjenkins.org/blog/2008/03/the_moral_economy_of_web_20_pa_1.html

Pharuephon Mukdasanit (2555), HAPPY V DAY Count Dracula V Bride of Frankenstein, สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564 จาก www.facebook.com/photo/?fbid=10150520547277101&set=a.321562482100

Thawan Duchanee (2553), “The Battle of Mara 2009”, สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564 จาก www.facebook.com/photo?fbid=111312022220676&set=a.111310898887455

ปรีชา เถาทอง, ตัวแทนนักวิชาการและนักวิชาชีพที่ใกล้ชิดกับ ถวัลย์ ดัชนี ซึ่งยังคงร่วมกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์บ้านดำเสมอ, สัมภาษณ์, 12 สิงหาคม 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022