ทัศนคติต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะและการรับรู้บทบาทในด้านการให้ความช่วยเหลือ ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ, ทัศคติต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ, กรมพัฒนาสังคม เเละสวัสดิการ, การรับรู้บทบาทการให้ความช่วยเหลือ, พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ และการมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือ รวมถึงการเปิดรับสื่อและข่าวสารของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในการรับรู้บทบาทการให้ความช่วยเหลือของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) (2) ความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กับการเปิดรับสื่อและข่าวสารเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (3) ความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กับทัศนคติต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ (4) ความความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ กับการเปิดรับการเปิดรับสื่อและข่าวสารเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อและข่าวสารเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับการรับรู้บทบาทการให้ความช่วยเหลือของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (6) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บทบาทการให้ความช่วยเหลือของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมการให้ความช่วยเหลือในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ (7) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วิจัยฉบับนี้ เป็นวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ (survey research) ซึ่งใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 18-60 ปี จํานวน 400 คน ผลวิจัยพบว่า ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-35 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพ ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ รายได้อยู่ที่ 15,001-30,000 บาทต่อเดือน โดยประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.26 โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วยว่า ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะควรได้รับสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐาน แต่ยังมีความเข้าใจว่าผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะส่วนใหญ่มักมีปัญหาสุขภาพจิต และผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เป็นผู้ที่ถูกทอดทิ้งเนื่องจากมีปัญหากับครอบครัวตามลําดับ ในเรื่องของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง โดยจะเป็นรูปแบบของการช่วยเหลือด้วยตนเอง อาทิ การบริจาคสิ่งของ เครื่องใช้ และการบริจาคเงิน และจากผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนที่มีช่องทางในการเปิดรับสื่อและมีการเปิดรับเนื้อหาสื่อที่หลากหลาย จะมีทัศนคติต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ แต่ในเรื่องของการรับรู้บทบาทภารกิจการให้ความช่วยเหลือของกรมพัฒนาสังคมเเละสวัสดิการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมการให้ความช่วยเหลือ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ และช่องทางการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความสัมพันธ์กับการรับรู้บทบาทการให้ความช่วยเหลือของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่งจากการวิจัยมีผลในระดับปานกลาง
References
กรองแก้ว อยู่สุข (2543), พฤติกรรมองค์การ, กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัณฑ์พร กรรณสูตร (2553), การรับรู้โครงการประชาสัมพันธ์นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาล
กรณีศึกษาผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดสมุทรปราการ, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กาญจนา แก้วเทพ (2541), การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค, กรุงเทพฯ: อินฟินิตี้เพรส.
กิจฐเชต ไกรวาส (2559), “การศึกษาสถานการณ์การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการช่วยเหลือเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน”, วารสารราชพฤกษ์, 14(3).
จีรนันท์ ฮังกาสี (2551), การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาและคุณลักษณะของนักเรียนโรงเรียนศิริราษฎร์วิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ดารณี พานทอง พาลุสุข และสุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ (2542), ทฤษฎีการจูงใจ, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิตยา สุวรรณชฎ. (2520). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับพฤติกรรม.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธงชัย สันติวงษ์ (2546), พฤติกรรมบุคคลในองค์กร, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
นพ ศรีบุญนาค (2545), พฤติกรรมองค์การ, กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา (2546), การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณีตัวอย่าง, กรุงเทพฯ: 598 Print.
นวลศิริ เปาโรหิตย์ (2535), การรับรู้จิตวิทยาทั่วไป, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปรมะ สตะเวทิน (2546), หลักนิเทศศาสตร์, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรสันต์ ล้อสุวรรณ (2559), ทัศนคติของประชาชนชาวจังหวัดนครนายกที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก, สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
พิชามญชุ์ ธีระพันธ์ (2559), การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้งานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่พร้อมเพย์-PromptPay, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พีระ จิระโสภณ (2529), ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภพธร วุฒิหาร (2559), การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมต่อโครงการ
บ้านประชารัฐของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ (2542), การวิเคราะห์ผู้รับสาร, กรุงเทพฯ: ที. พี. พริ้นท์.
รำไพพรรณ บุญพงษ์ (2557), การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กของมูลนิธิอิสรชนเพื่อต่อรองอัตลักษณ์ของ “ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรเบิร์ต อี. ซิลเวอร์แมน (2547), จิตวิทยาทั่วไป, แปลโดย สุปาณี สนธิรัตน์, กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วศิน สันหกรณ์ (2557), ลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้ออะไหล่ประดับยนต์ในสินค้าประเภทหลอดไฟหน้ารถยนต์,วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิศรุต ศุภวรรณ (2557), การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานป้องกันยาเสพติดของงานตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ เขตพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิวัช จันทนาสุภาภรณ์ (2554), ทัศนคติที่มีต่อการเปิดรับสื่อออนไลน์บนเครือข่ายสังคออนไลน์: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สิทธิพันธุ์ พุทธหุน (2547), ทฤษฎีคอร์รัปชั่น, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สิทธิโชค วรานุสันติกุล (2524), จิตวิทยาการศึกษา, กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
สุรพงศ์ แสงสำลี (2544), การรับรู้ข่าวสารทัศนคติ และความพึงพอใจในการใช้บริการของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินีกับสถานีอนามัยทั่วไปในอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุวพิชญ์ เหลืองประเสริฐ (2555), การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคเหนือจังหวัดลพบุรี, รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวิรัช รัตนมณีโชติ (2536), ความรู้และทัศนคติของพยาบาลต่อการบริจาคอวัยวะ, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อนรรฆ พิทักษ์ธานิน (2559), การสำรวจข้อมูลทางประชากรเชิงลึกของคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพ.
Cohen, J. and Uphoff, N. (1980), Participations Place in Rural Development: Seeking Clarity through Specificity, New York: World Developments.
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (2563ก), “Facebook Page ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”,สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2563 จาก https://www.facebook.com/dsdwpr.
________. (2563ข), “Website ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ”, สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2563 จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/.
ไทยรัฐออนไลน์ (2563), “ส่องที่พักคนไร้บ้าน คนตกงานช่วงโควิด-19 ที่พักสะอาด อาหารอร่อย 3 มื้อ”,สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จากhttps://www.thairath.co.th/news/society/1813183.
แนวหน้า (2563), “รับ 5 พัน 14.2 ล้านคน คลังเร่งเยียวยาครบสัปดาห์นี้ พม. ช่วยกลุ่มเปราะบาง 13 ล้าน”, สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จาก https://www.naewna.com/business/494280.
ผู้จัดการออนไลน์ (2563), “อธิบดี พส. ตรวจเยี่ยมจุดคัดกรองเฉพาะกิจ คนไร้ที่พึ่งเข้าพัก 42 คน เลี่ยงโควิด-19”, สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จาก https://mgronline.com/qol/detail/9630000036460.
มติชน (2563) “พม. แจงเงิน 2,000 เป็นเงินช่วยเหลือ ไม่ใช่เยียวยาโควิด เดือดร้อนโทร 1300 ขอความช่วยเหลือได้”, สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จาก https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2160882
มูลนิธิอิสรชน (2563ก), “ช่องทางการบริจาคช่วงสถานการณ์ Covid-19. กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์”,สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จาก https://www.facebook.com/206718382729289/posts/3149761791758252/.
________. (2563ข), “ถุงเยี่ยมเพื่อน คุณก็เป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งปันได้”, สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จาก https://m.facebook.com/206718382729289/posts/2329789670422139/?d=n.
________. (2563ค), “International Homeless Day กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์”, สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จาก https://www.facebook.com/206718382729289/posts/3576639645737129/.
โสภณ พรโชคชัย (2563), “ขอเชิญร่วมงาน Homeless Day 2020 กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์”,สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563 จาก https://dede.facebook.com/dr.sopon4/posts/3223108784468352.