การรับรู้การสื่อสารการตลาดของโรงแรมในพัทยาช่วงโรคระบาดโควิด-19: กรณีศึกษาโรงแรมสยามแอทสยาม ดีไซน์ โฮเท็ล พัทยา

ผู้แต่ง

  • พัฒน์ บุญฤทธิ์รุ่งโรจน์ อาจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

คำสำคัญ:

การรับรู้การสื่อสารการตลาด, โรงแรม, เมืองพัทยา, สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19

บทคัดย่อ

            งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรับรู้การสื่อสารการตลาดของโรงแรมสยามแอทสยามฯ ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้การสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้าพักในช่วงสถานการณ์
โควิด-19 จำนวน 440 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ T-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
            ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ คือ Facebook, Instagram และ Website มากที่สุด โดยเปิดรับสื่อออนไลน์ดังกล่าวผ่านทางโทรศัพท์มือถือทุกวัน และใช้เมื่ออยู่ที่บ้านเป็นหลัก “รูปภาพ” คือ สิ่งจูงใจสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการรับการตลาดออนไลน์ ซึ่งสื่อบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการเลือกที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวของกลุ่มตัวอย่างคือ “ตนเอง” (2) การรับรู้การสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ของโรงแรมสยามแอทสยามฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน ทำให้มีการรับรู้การสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กิติมา สุรสนธิ (2541), ความรู้ทางการสื่อสาร, กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จีรวรรณ ว่องเจริญวัฒนา (2557), พฤติกรรมการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีต่อการรับรู้สื่อโฆษณาภายในรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน, สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชูชัย สมิทธิไกร (2554), พฤติกรรมผู้บริโภค, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารา ทีปะปาล และธนวัฒน์ ทีปะปาล (2557), การสื่อสารการตลาด, กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

บุหงา ชัยสุวรรณ (2558), “การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคม: ภาพรวมและกรอบแนวความคิด”, วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 2(1): 173-198.

ปรมะ สตะเวทิน (2546), การสื่อสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พัชนี เชยจรรยา และคณะ (2538), แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์, กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.

วิทวัส รุ่งเรืองผล (2556), หลักการตลาด, ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุกัญญา บูรณเดชาชัย (2550), การสื่อสารมวลชน แนวคิด ทฤษฎี และสถานการณ์ในประเทศไทย,ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Duncan, T. (2005), Principles of Advertising & IMC, Boston: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973), Statistics: An Introductory Analysis, New York: Harper and Row.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2563), “COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1/2563”, รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว, 1(4): 1-65, สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564 จาก https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/4-1TourismEconomicVol4.pdf

วิจัยกรุงศรี (2564), ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมหลัง COVID-19, สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2564 จาก https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/ri-future-of-tourism-21

ภัสร์วิภานุช คุณาวนุวัฒน์, การสื่อสารการตลาดของโรงแรมสยามแอทสยาม, สัมภาษณ์ 6 พฤศจิกายน 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022