หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กกับการเล่าเรื่องการคุกคามทางเพศ

ผู้แต่ง

  • เกศราพร ทองพุ่มพฤกษา คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็ก, เด็กเล็กกับความรู้เรื่องเพศ, การคุกคามทางเพศ, การปกป้องเด็ก

บทคัดย่อ

แม้ว่าการสื่อสารเรื่องการคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศจะเป็นประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหวในสังคม แต่ปัญหานี้เป็นภัยสำคัญหนึ่งของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มเด็กเล็กที่ค่อนข้างมีความเปราะบาง การเลือกใช้สื่อและกลวิธีในการนำเสนออย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการป้องกันปัญหาและประสิทธิภาพในการสื่อสาร หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กจึงเป็นสื่อหนึ่งที่ถูกเลือกใช้ในการสื่อสารเรื่องนี้ โดยมุ่งหวังว่า จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ถึงสิทธิเหนือร่างกายตนเอง การสัมผัสที่สบายและไม่สบาย และสามารถปกป้องตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการคุกคามทางเพศ ดังนั้น บทความนี้จะมุ่งเน้นนำเสนอหนังสือ 3 ชื่อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเล่าเรื่องการคุกคามทางเพศในเด็ก ความจำเป็นในการนำเสนอ หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กกับการนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเพศ และกลวิธีการเล่าเรื่อง

          ทั้งนี้ หนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กทั้งหมดเน้นการสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์การคุกคามทางเพศ และการป้องกันตนเองผ่านตัวละครหลักที่เป็นเด็กทั้งเพศชายและเพศหญิง อีกทั้งยังเป็นสื่อที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นโลกจินตนาการที่เตรียมพร้อมเด็กเพื่อเผชิญกับโลกความจริง การเปิดรับหนังสือนิทานภาพที่มีเนื้อหาลักษณะนี้ จะช่วยให้เด็กมีทักษะในการจดจำและดึงข้อมูลมาใช้ในการป้องกันตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปฏิเสธการร้องขอการสัมผัสที่ไม่เหมาะสม ด้านกลวิธีการเล่าเรื่องนั้นพบว่า มี 7 กลวิธี ได้แก่ แก่นเรื่อง โครงเรื่อง ฉาก ตัวละคร การใช้ภาษา การนำเสนอด้วยภาพและข้อความ และการเล่าเรื่องด้วยข้อเท็จจริง โดยแก่นเรื่องทั้งหมดมุ่งเน้นการสอนถึงสิทธิในร่างกายตนเอง ที่ไม่มีใครสามารถล่วงละเมิดได้ผ่านโครงเรื่องที่ไม่ซับซ้อน ดำเนินเรื่องสู่ปัญหาอย่างรวดเร็ว และจบลงด้วยการคลี่คลายของปัญหา ด้านฉากจะเป็นการจำลองเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสถานที่ที่เด็กคุ้นเคย เช่น บ้าน โรงเรียน อีกทั้งตัวละครหลักจะเป็นคนที่มีบุคลิกลักษณะแบบวัยเด็ก เพื่อความใกล้ชิดและง่ายต่อการเชื่อมโยงตนเองเข้ากับเรื่องราว การใช้ภาษาที่เรียบง่าย ไม่ต้องตีความ นอกจากนี้ ยังมีการใช้ภาพและข้อความผสมสานกันในการเล่าเรื่อง รวมถึงการเชื่อมโยงเรื่องราวการคุกคามทางเพศที่อาจเกิดขึ้นได้จริงในสังคมเข้ากับสถานการณ์ที่เด็กคุ้นเคย การยอมรับความรู้สึกของเด็กในการเผชิญกับปัญหา และการกำหนดตัวบุคคลที่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับเด็ก

References

ภาษาไทย

เกศราพร ทองพุ่มพฤกษา (2562), ภาพตัวแทนของความเป็นเพศหญิงในหนังสือนิทานภาพสำหรับเด็ก, วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารวิทยา คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คุณแม่เอง (2563), ปิงปิงไม่ยอม, กรุงเทพฯ: พาส เอ็ดดูเคชั่น.

ซิ่งเจียฮุ่ย (2563), ผีเสื้อของตั๋วตั่ว, กรุงเทพฯ: แมงมุม คัลเจอร์.

สองขา (2564), ป๋องแป๋งไม่ยอม, กรุงเทพฯ: พาส เอ็ดดูเคชั่น.

ภาษาอังกฤษ

Huang, S. and Cui, C. (2020). “Preventing Child Sexual Abuse Using Picture Books: The Effect of Book Character and Message Framing”, Journal of Child Sexual Abuse, 29(4): 448-467.

Liang, J. and Bowcher, W. (2019), “Legitimating Sex Education through Children’s Picture Books in China”, Sex Education, 19(3): 329-345.

Macblain, S. (2014), How Children Learn, Los Angeles: Sage.

Van Orden, P. and Strong, S. (2007), Children’s Books: A Practical Guide to Selection, New York: Neal-Schuman.

สื่อออนไลน์

คุยกับลูกเรื่องเพศ (ม.ป.ป.), “ทำไมต้องคุยกับลูกเรื่องเพศ”, สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565 จาก http://www.whaf.or.th/sextalk/

ไทยรัฐออนไลน์ (2563), สถิติ 7 ปี ล่วงละเมิดทางเพศนักเรียน ครูไม่มีสิทธิก้าวพลาด, สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564 จาก https://www.thairath.co.th/scoop/1988528

บริษัทแปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด (2563), “องค์ประกอบ 9 ด้าน ด้าน EF (Executive Functions)”, สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565 จาก https://www.planforkids.com/kids_corner/ef-executive-functions-9-group

มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (2563), “‘ปวีณา’ แถลงผลการดำเนินงาน และสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิปวีณาฯ ประจำปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม-วันที่ 25 ธันวาคม 2563”, สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564 จาก https://pavenafoundation.or.th/portfolio/ปวีณา-แถลงผลการดำเนิน/

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย (ม.ป.ป.), “คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนเด็กวัยอนุบาล 3-6 ปี”, สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565 จาก http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20171010123112.pdf

สถาบันอาร์แอลจี (ม.ป.ป.), “EF คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับลูกมากกว่า EQ และ IQ”, สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565 จาก https://www.rakluke.com/child-development-all/kid-development/item/ef-eq-iq.html

Strouse, G. et al. (2018), “The Role of Book Features in Young Children's Transfer of Information from Picture Books to Real-World Contexts”, retrieved 12 December 2021 from https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyg.2018.00050/full.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023