การเปิดเผยตัวตนผ่านการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดของกลุ่มชายรักชาย ในพื้นที่ทวิตเตอร์

ผู้แต่ง

  • เบญจรงค์ ถิระผลิกะ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ทวิตเตอร์, ชุมชนเสมือน, คอนเนคชัน, ชายรักชาย

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่อาศัยวิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณนาดิจิทัลในการแสวงหาความรู้ โดยมีวัตถุประสงค์สองประการ คือ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะสำคัญของสื่อทวิตเตอร์ในกลุ่มผู้ใช้สื่อที่เป็นชายรักชายสำหรับการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด และ (2) เพื่อศึกษาเนื้อหาและรูปแบบการใช้สื่อทวิตเตอร์ในกลุ่มผู้ใช้สื่อที่เป็นชายรักชายเพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด ผลการศึกษาพบว่า มี องค์ประกอบ 3 ประการด้วยกัน หรือ “3A Attributes” ที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของทวิตเตอร์ในการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดของผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มชายรักชาย ประกอบไปด้วย A1) การสร้างตัวตนในแบบของตัวเอง A2) เข้าถึงได้ง่าย และ A3) ความนิรนาม ในประเด็นเนื้อหาในการสื่อสารเพื่อการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด พบว่า การสนทนามักเริ่มต้นด้วยคำว่า “ดีคับ” ร่วมกับการส่ง “สติกเกอร์” หลังจากนั้นก็เริ่มมีการสอบถามเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ อาทิ “รุก” หรือ “รับ” ร่วมกับการส่ง “ภาพเครื่องเพศ” ให้กันและกันเพื่อประกอบการสื่อสาร และส่วนสุดท้ายคือ รูปแบบในการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดของชายรักชายผู้ใช้ทวิตเตอร์ สามารถสรุปได้เป็น  “4S model” ที่ประกอบไปด้วย (1) ขั้นสร้างตัวตน (2) ขั้นนำเสนอตัวตน (3) ขั้นเปิดเผยตัวตน ซึ่งประกอบไปด้วย 2 วัตถุประสงค์ที่ซ้อนอยู่คือ วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดทางอารมณ์ วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อการสร้างความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดทางจิตใจ และขั้นตอนสุดท้ายคือ (4) ขั้นพิจารณาถักทอหรือตัดขาดความสัมพันธ์ ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากการฝังตัวของผู้วิจัย พบว่า ทุกขั้นตอนที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มีการใช้เวลาที่ยาวนาน และสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการสื่อสารได้ตามความพึงพอใจ

References

ภาษาไทย

กฤษฎา แก้วเกลี้ยง (2558), โครงสร้างของสถาบันที่มีการจัดการแบบเบ็ดเสร็จที่นำหลักการชุมชนบำบัดมาประยุกต์ใช้กรณีศึกษาศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดลาดหลุมแก้ว, วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ และพริศรา แซ่ก้วย (2547), เพศวิถี: วันวาน วันนี้และวันพรุ่ง ที่จะไม่เหมือนเดิม, เชียงใหม่: ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2553), สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา, กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กำจร หลุยยะพงศ์ (2555), การสื่อสารกับวาทกรรมอัตลักษณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2560), “หน่วยที่ 10 ทฤษฎีการสื่อสารชุมชน”, ใน ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กิ่งรัก อิงควัต (2542), รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของกลุ่มชายรักชาย (เกย์) ในเขตกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โกสินทร์ รัตนคร (2552), การใช้สื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นช่องว่างทางการสื่อสารของการเลือกคู่ครอง, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คมฉัตร วุฒิโรจน์ (2534), ผ่าโลกเกย์, กรุงเทพฯ: บริษัท กรุงสยาม จำกัด.

จตุรวิทย์ ทองเมือง (2551), ชีวิตของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในชุมชนเสมือนจริง, วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรภัทร เริ่มศรี และคณะ (2563), “การสื่อสารผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กกับผลที่เกิดขึ้นต่อเจ้าของแฟนเพจเฟซบุ๊ก: กรณีศึกษาแฟนเพจเฟซบุ๊กที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย”, วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1): 68-79.

เจษฎาภรณ์ พจนา (2548), ผู้คุมหญิง : ชีวิตกับการใช้อำนาจในสถาบันแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไชยศิริ บุญยกุลศรีรุ่ง (2553), เพศสภาพและเพศวิถีชายรักชายในภาพยนตร์ไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณภัค เสรีรักษ์ (2557), “การก่อตัวของวิธีคิด “การร่วมเพศเพื่อการร่วมเพศ” ในสังคมไทย”, ชุมทางอินโดจีน: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปริทัศน์ หน่วยวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(4): 49-66.

ดารินทร์ สวัสดิ์เสวี (2545), การแปลงตัวตนในห้องสนทนาบนอินเทอร์เน็ต, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา (2562), ว่าด้วยเพศ: จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ และหุ่นยนต์ (On Sex), นนทบุรี: สำนักพิมพ์สมมติ.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ (2530), พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ฉบับใหม่, กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น.

นที ธีระโรจนพงษ์ (2548), แกะกล่องเกย์, กรุงเทพฯ: พลอยสีรุ้ง.

นัทธนัย ประสานนาม (2562), “นวนิยายยาโออิของไทย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์”, วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ, 7(2): 16-34.

นารีฮัน กาซอ และคณะ (2564), “การปรับตัวของหญิงรักหญิงมุสลิมในปัตตานี”, วารสารมานุษยวิทยาศาสนา, 3(1): 3-14.

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2545), นิธิ เอียวศรีวงศ์ ว่าด้วย "เพศ" ความคิด ตัวตน และอคติทางเพศ ผู้หญิง เกย์ เพศศึกษา และกามารมณ์, กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ.

นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์ (2558), “วัยรุ่นใช้สื่อออนไลน์อย่างไรในการหาคู่”, ความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558, เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 447 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558.

เนติ สุนทราวราวิทย์ (2553), การสร้างความหมายและตัวตน “เกย์” ในพื้นที่แห่งความจริงและพื้นที่ไซเบอร์, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บงกชมาศ เอกเอี่ยม (2532), เกย์: กระบวนการพัฒนาและธำรงเอกลักษณ์รักร่วมเพศ, วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เบญจรงค์ ถิระผลิกะ (2559), ปัจจัยที่สนับสนุนการสร้างสรรค์เนื้อหาเพศนอกกรอบในภาพยนตร์เรื่อง “รักแห่งสยาม” ของ มะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

________. (2560), “ชายรับชาย: ความสัมพันธ์ของชุมชนในทวิตเตอร์”, วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(2): 69-80.

________. (2562ข), “เมื่อสื่อพยายาม ‘ปรุง’ เรื่องชายรับชายให้เป็นสินค้า”, วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(2): 95-104.

________. (2563ก), “‘ก้น’: การเปลี่ยนผ่านความเป็นชายผ่านมุมมองชายรับชาย ชายที่ใช้ทวิตเตอร์ในการแสวงหาความสัมพันธ์กับชายอื่น-กรณีศึกษาในทวิตเตอร์”, วารสารสตรีนิยมไทย ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 7(1): 151-182.

________. (2563ข), “บทปริทัศน์หนังสือ ว่าด้วยเพศ: จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ และหุ่นยนต์ (On Sex)”, วารสารวิจัยสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 43(2): 221-233.

________. (2563ค), “วิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณนาดิจิทัล: วิธีการในการศึกษาพื้นที่เสมือน”, วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 8(1): 76-88.

________. (2564), “การศึกษาชาติพันธุ์วรรณนาเชิงอัตชีวประวัติของชายรักชาย กรณีศึกษาชายผู้ใช้กิจกรรมทางเพศและสารเสพติดในการสร้างมิตรภาพและเครือข่าย”, วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(2): 195-211.

ประภาพรรณ วงศาโรจน์ (2532), กระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์รักร่วมเพศในหมู่วัยรุ่น, วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปาณิสรา มงคลวาที (2550), การนำเสนอภาพกลุ่มชายรักชายในภาพยนตร์ไทยปี พ.ศ. 2550, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (2546), อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ปุรินทร์ นาคสิงห์ (2555), การประกอบสร้างตัวตนเกย์ในภาพยนตร์ไทย, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (2470), เรื่องห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท, พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาคที่ 1.

พิเชฐ สายพันธ์ (2545), เกย์: ในฉากชีวิตแห่งสีลมสถาน, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

พิมพ์วิภา มีงามดี และคณะ (2563), “การนำเสนอภาพลักษณ์ของ ‘เกย์’ และ ‘เลสเบี้ยน’ ในทวิตเตอร์”, วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 1(1): 49-55.

เพ็ญมาส กำเหนิดโทน (2528), การยอมรับของครูต่อนักเรียนเกย์: กรณีศึกษาข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 6 โรงเรียน, วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทรเวช ฟุ้งเฟื่อง (2557), การศึกษารูปแบบการบริโภคสื่อประเภทแอปพลิเคชั่นของกลุ่มผู้รับสารชายรักชาย: กรณีศึกษาแอปพลิเคชั่น “Grindr”, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาณุวัฒน์ กองราช (2554), การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย กรณีศึกษา Facebook, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหามกุฏราชวิทยาลัย (2480), วินิจฉัยบัณเฑาะก์ (ปัณฑกวัตถุ), ตติยสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย มหาวรรค ตอนที่ 1.

รณภูมิ สามัคคีคารมย์ และคณะ (2551), เพศวิถีในสื่อนิยม: บริบทเสี่ยงและเสริมต่อสุขภาวะทางเพศ, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

________. (2555), “เพศวิถีออนไลน์: โลกาภิวัตน์ของพลเมืองทางเพศของเกย์: อํานาจ และภาพตัวแทนทางเพศบนสมาร์ทโฟน”, วารสารเพศวิถีศึกษา, 2: 181-196.

วรยุทธ พายพายุห์ และพัชนี เชยจรรยา (2562), “การศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของแอปพลิเคชันหาคู่บนโทรศัพท์มือถือของกลุ่มชายรักชาย (เกย์)”, วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 6(2): 45-66.

วัชรินทร์ ภิญโญศาสตร์ (2550), การสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพและการสร้างตัวตน ในเกมออนไลน์ของวัยรุ่นไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลลภ ปิยะมโนธรรม (2532), คุยกับนักจิตวิทยา, กรุงเทพฯ: บพิทธการพิมพ์.

วิภาดา เอี่ยมแย้ม (2548), การมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืนของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เพศศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาวี จันทร์แก้ว (2560), “พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์กรณีศึกษาเฟซบุ๊กแฟนเพจดังตฤณแฟนคลับ”, Journal of Communication and Management NIDA, 2(1): 134-152.

วิลาสินี พิพิธกุล และกิตติ กันภัย (2546), เพศและการสื่อสารในสังคมไทย, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระยุทธ ปีสาลี (2557), กรุงเทพฯ ยามราตรี, กรุงเทพฯ: มติชน.

ศุภณัฐ เดชวิถี (2563), การสื่อสารเพื่อการเปิดเผยตัวตนของผู้ที่มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศในหน่วยงานราชการ: กรณีศึกษาข้าราชการกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมสุข หินวิมาน (2555), “ท่องไปในโลกการสื่อสารกับโลกาภิวัฒน์ด้วยมุมมองแบบทฤษฎีมาร์กซิสม์”, วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 6(1): 113-153.

สายพิณ ศุพุทธมงคล (2542), คุกกับคน: อำนาจและการต่อต้านขัดขืน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิรภพ แก้วมาก (2556), การสร้างตัวละครหลักและวิธีการเล่าเรื่องชายรักชายในสื่อบันเทิงไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สีตลา ชาญวิเศษ (2559), บทบาทเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการพัฒนาความสัมพันธ์แบบโรแมนติก, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตต์ วงษ์เทศ (2560), เทพอุ้มสม คืออยู่ก่อนแต่ง: วันไนต์สแตนด์ในเซ็กส์ดึกดำบรรพ์ของบรรพชนไทย, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นาตาแฮก.

สุธาวัฒน์ ดงทอง (2559), “นัดยิ้ม: สัมพันธภาพทางเพศสัมพันธ์แบบชั่วคราวของเกย์โดยใช้ทวิตเตอร์”, เอกสารสืบเนื่องจากการสัมมนาทางวิชาการสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาระดับปริญญาตรี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภางค์ จันทวานิช (2554), การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุสรณ์ ศรีแก้ว (2534), ปัญหาสังคมในภาพยนตร์ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกชัย แสงโสดา (2562), การสื่อสารต่อสู้ต่อรองความเป็นกะเทยผ่านรายการโทรทัศน์ที่มีการนำเสนอบนยูทูบในยุคดิจิทัล, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภาษาอังกฤษ

Altman, I. and Taylor, D. (1973), Social Penetration: The development of Interpersonal Relationships, New York: Holt, Rinehart & Winston.

Androutsopoulos, J. (2008). “Potentials and Limitations of Discourse-Centred Online Ethnography”, Language@internet, 5(8).

Ang, I. (1985), Watching Dallas: Soap Opera and the Melodramatic Imagination, New York: Methuen.

Apichayakul, O. (2014), Uncovering Camwomen: An Ethnographic Study of Young Thai Women Who Portray Themselves Sexually Explicitly in Online Webcam Chatrooms, unpublished PhD thesis at Loughborough University,

Barker, C. (2003), Cultural Studies: Theory and Practice, London: Sage.

Baudinette, T. (2019a), “Gay Dating Applications and the Production/Reinforcement of Queer Space in Tokyo”, Continuum, 33(1): 93-104.

________. (2019b), “Lovesick, The Series: Adapting Japanese ‘Boys Love’ to Thailand and the Creation of A New Genre of Queer Media”, South East Asia Research, 27(2): 115-132.

Ben-Ze'ev, A. (2016), “Virtual Relationships: Love and Sex in Cyberspace”, in Petrik, A. (ed.), Philosophy: Sex and Love (Vol.1), Farrington Hills: Macmillan Interdisciplinary.

Berger, S. (1978), “Prior Self-Disclosure, Sex Differences, and Actual Confiding in an Interpersonal Encounter”, Small Group Behavior, 9(4): 555-562.

Bouhoutsos, J. et al. (1983), “Sexual Intimacy between Psychotherapists and Patients”, Professional Psychology: Research and Practice, 14(2): 185-196.

Bozon, M. et al. (2015), “The History of Sexual Norms: The Hold of Age and Gender”, Women, Gender, History, 2: 7-23.

Brehm, S. et al. (1992), Intimate Relationships, New York: McGraw-Hill.

Castells, M. (2004), The Network Society: A Cross-Cultural Perspective, Cheltenham: Edward Elgar.

Coyne, R. (1995), Designing Information Technology in the Postmodern Age: From Method to Metaphor, Massachusetts: MIT Press.

De Lauretis, T. (1991), Queer Theory: Lesbian and Gay Sexualities, Bloomington: Indiana University Press.

Delanty, G. (2003), Community, London: Routledge.

Dong, J. and Blommaert, J. (2009), “Space, Scale and Accents: Constructing Migrant Identity in Beijing”, Multilungua, 28(1): 1-23.

Döring, N. (2009), “The Internet’s Impact on Sexuality: A Critical Review of 15 Years of Research”, Computers in Human Behavior, 25(5): 1089-1101.

Freud, S. (1955), “Beyond the Pleasure Principle”, in The Standard Edition of the Complete Psychological Works of Sigmund Freud, Volume XVIII (1920-1922): Beyond the Pleasure Principle, Group Psychology and Other Works: 1-64.

Freud, S. et al. (1955), The Standard Edition of the Complete Psychological Works of Sigmund Freud, London: The Hogarth Press.

Gaca, K. (2003), The Making of Fornication: Eros, Ethics, and Political Reform in Greek Philosophy and Early Christianity, California: University of California Press

Goffman, E. (1961), Asylums: Essays on the Condition of the Social Situation of Mental Patients and Other Inmates, London: Penguin.

Hall, S. (2006), Cultural Studies and Its Theoretical Legacies, London: Routledge.

Harper, G. et al. (2016), “The Internet’s Multiple Roles in Facilitating the Sexual Orientation Identity Development of Gay and Bisexual Male Adolescents”, American Journal of Men's Health, 10(5): 359-376.

Herring, S. (2004), “Slouching toward the Ordinary: Current Trends in Computer-Mediated Communication”, New Media & Society, 6(1): 26-36.

Hetland, P. and Mørch, A. (2016), “Ethnography for Investigating the Internet”, paper presented at the Seminar.net.

Hine, C. (2000), Virtual Ethnography, London: Sage.

________. (2015), Ethnography for the Internet: Embedded, Embodied and Everyday, London: Bloomsbury Publishing.

Hymes, D. (2003), Ethnography, Linguistics, Narrative Inequality: Toward an Understanding of Voice, Milton Park: Taylor & Francis.

Jackson, K. and Trochim, W. (2002), “Concept Mapping as an Alternative Approach for the Analysis of Open-Ended Survey Responses”, Organizational Research Methods, 5(4): 307-336.

Jackson, P. (1995), Dear Uncle Go: Male Homosexuality in Thailand, Chiang Mai: Bua Luang Books.

Kelly, M. (2005), The Seven Levels of Intimacy: The Art of Loving and the Joy of Being Loved, New York: Simon and Schuster.

Knack, S. and Keefer, P. (1997), “Does Social Capital Have an Economic Payoff?: A Cross-Country Unvestigation”, The Quarterly Journal of Economics, 112(4): 1251-1288.

Kozinets, R. (1998), “On Netnography: Initial Reflections on Consumer Research Investigations of Cyberculture”, NA-Advances in Consumer Research, 25: 366-371.

________. (2010), Netnography: Doing Ethnographic Research Online, London: Sage.

Landovitz, R. et al. (2013), “Epidemiology, Sexual Risk Behavior, and HIV Prevention Practices of Men Who Have Sex with Men Using GRINDR in Los Angeles, California”, Journal of Urban Health, 90(4): 729-739.

Lin, K. and Van der Putten, M. (2012), “Identities in Motion: Cyberspace and Myanmar Men Having Sex with Men”, Research on Humanities and Social Sciences, 2(4): 36-48.

Morley, D. (1986), Family Television: Cultural Power and Domestic Leisure, London: Comedia.

________. (1989), “Changing Paradigms in Audience Studies”, in Seiter, E. et al. (eds.), Remote Control: Television, Audiences, and Cultural Power, London: Sage.

Munroe, M. (2005), Waiting and Dating: A Sensible Guide to a Fulfilling Love Relationship, Shippensburg: Destiny Image Publishers.

Ni, P. (2013), Are You Too Nice? 7 Keys to Gain Appreciation & Respect (Relationship Success Series), n.p.

Parsons, J. et al. (2007), “Initiation into Methamphetamine Use for Young Gay and Bisexual Men”, Drug and Alcohol Dependence, 90(2-3): 135-144.

Regan, P. (2016), “Sexual Instinct and Sexual Desire”, The Wiley Blackwell Encyclopedia of Gender and Sexuality Studies, 1-3.

Riccio, J. (2013), All The Web's a Stage: The Dramaturgy of Young Adult Social Media Use, unpublished MA thesis at Syracuse University.

Ross, M. et al. (2005), “Characteristics of Men Who Have Sex with Men on the Internet but Identify as Heterosexual, Compared with Heterosexually Identified Men Who Have Sex with Women”, Cyberpsychology & Behavior, 8(2): 131-139.

Roy, S. (2009), “Internet Uses and Gratifications: A Survey in the Indian Context”, Computers in Human Behavior, 25(4): 878-886.

Rubin, G. (2007), Thinking Sex: Notes for a Radical Theory of the Politics of Sexuality, London: Routledge.

Stahlman, S. et al. (2015), “Characteristics of Men Who Have Sex with Men in Southern Africa Who Seek Sex Online: A Cross-Sectional Study”. Journal of Medical Internet Research, 17(5): e129.

Taylor, D. and Altman, I. (1987), Communication in interpersonal relationships, in Roloff, M. and Miller, G. (eds.), Interpersonal Processes: New Directions in Communication Research, Thousand Oaks: Sage.

Thienkrua, W. et al. (2014), “Prevalence and Correlates of Willingness to Participate in a Rectal Microbicide Trial among Men Who Have Sex with Men in Bangkok”, AIDS Care, 26(11): 1359-1369.

สื่อออนไลน์

ข่าวสด (2561), “รปภ.รับ มีกลุ่มคนมาซั่มในสวนลุมพินีจริง เผยสถานที่นิยมเอาท์ดอร์ เงียบ ปลอดคน” สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1431035

ณัฐวุฒิ ขาวคง (2562), “นัดยิ้ม : กระบวนการนัดหมายเพื่อมีเพศสัมพันธ์ผ่านแอพพลิเคชั่นเกย์”, สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก http://channel.sac.or.th › website › video › detail_news.

เที่ยงวันทันเหตุการณ์ (2561), “กทม. ล้อมคอกห้ามมีเพศสัมพันธ์ในสวนสาธารณะ”, สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก http://news.ch3thailand.com/ข่าวในประเทศ/75516/กทม-ล้อมคอกห้ามมีเพศสัมพันธ์ในสวนสาธารณะ.html

เบญจรงค์ ถิระผลิกะ (2562ก), “ภาพลักษณ์เชิงวัตถุของก้นเพศชายกามารมณ์ออนไลน์ของกลุ่มชายรับชายในทวิตเตอร์”, สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.sac.or.th/databases/sac_research/article-detail.php?articleID=98.

ภาณุ สหัสสานนท์ (2018), “Friends with benefits หรือเรียกสั้นๆ ว่า F.W.B. คือ ความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่งที่เพื่อนทำหน้าที่ร่วมหลับนอนกับเพื่อน”, สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.facebook.com/PsychologyChula/posts/1906381469476257:0

สุภาวดี ลิขิตมาศกุล (2553), “โรคเป็นสาวก่อนวัย ตอนที่ 1 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล”, สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=403.

อนุสรณ์ อุณโณ (2020), “ความสัมพันธ์ระหว่างหมอ ทหาร และเชื้อไวรัส ผ่านมุมมองของอำนาจในสังคมไทยและสถาบันเบ็ดเสร็จ”, สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565 จาก shorturl.asia/LcOYp

BBC News Thai (2562), “ทวิตเตอร์ คือ ผนังห้องน้ำในศตวรรษที่ 21 แต่มันเป็นฝาผนังที่เข้าถึงคนได้ล้านๆ คน”, retrieved 1 February 2022 from https://www.bbc.com/thai/thailand-49919169

Bruett, T. (2019), “How to Build Intimacy in Gay Relationships”, retrieved 1 February 2022 from https://is.gd/ACjKaM

Castells, M. (2011), “Communication, Power and the State in the Network Society”, retrieved 1 February 2022 from https://www.sms.cam.ac.uk/media/1189139.

GENONLINE.CO. (2561), “รวม ‘APP’ นัดยิ้ม ทางเลือกยอดนิยมของชาวสีรุ้งที่เติบโตอย่างเงียบๆในเมืองไทย”, retrieved 1 February 2022 from http://genonline.co/2018/06/29/rainbows-app/

Hatfield, H. (2006), “Virtual Sex: Threat to Real Intimacy? The Online Sexual Revolution May Be Having an Impact on Real-World Relationships”, retrieved 1 February 2022 from https://www.webmd.com/sex-relationships/features/virtual-sex-threat-to-real-intimacy

Laddapong, K. (2019), “พวกเราโดนไล่มาเล่นในนี้?: โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและอารมณ์ในแอปพลิเคชันกลุ่ม ‘เกย์หมี’--GROWLr”, retrieved 1 February 2022 from https://thammasat.academia.edu/

Options for Sexual Health (2020), “Intimacy and Relationships”, retrieved 1 February 2022 from https://www.optionsforsexualhealth.org/facts/sex/intimacy-and-relationships/

pinterest.com (2014), “New Profile Template”, retrieved 1 February 2022 from https://www.pinterest.com/pin/270286415111049098/

rainmaker (2561), “Twitter โซเชียลที่เวลาสำคัญที่สุด ทวีตตอนไหนดี ทำยังไงให้คนเห็นเยอะๆ”, retrieved 1 February 2022 from https://www.rainmaker.in.th/twitter-time-importance/

Sensitive Media Policy (2022), “Sensitive Media Policy”, retrieved 1 February 2022 from https://help.twitter.com/en/rules-and-policies/media-policy

thumbsup Media Co., L. (2019), “ในแต่ละ Social Media โพสต์เวลาไหนปังสุด (อัปเดตล่าสุดปี 2019)”, retrieved 1 February 2022 from https://www.thumbsup.in.th/2019-best-times-for-posting-on-social-media

Twitter Privacy Policy (2020), “Twitter Privacy Policy”, retrieved 1 February 2022 from https://twitter.com/en/privacy

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2023